Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
กรดปาลมิติก
กรดปาลมิติก | |
---|---|
Hexadecanoic acid | |
ชื่ออื่น | Palmitic acid C16:0 (Lipid numbers) |
เลขทะเบียน | |
เลขทะเบียน CAS | [57-10-3][CAS] |
PubChem | 985 |
SMILES |
|
InChI |
|
ChemSpider ID | 960 |
คุณสมบัติ | |
สูตรโมเลกุล | C16H32O2 |
มวลโมเลกุล | 256.42 g mol−1 |
ลักษณะทางกายภาพ | ผลึกสีขาว |
ความหนาแน่น | 0.852 g/cm3 (25 °C) 0.8527 g/cm3 (62 °C) |
จุดหลอมเหลว |
62.9 °C, 336 K, 145 °F |
จุดเดือด |
351-352 °C, 272 K, -251 °F |
ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ | 0.46 mg/L (0 °C) 0.719 mg/L (20 °C) 0.826 mg/L (30 °C) 0.99 mg/L (45 °C) 1.18 mg/L (60 °C) |
ความสามารถละลายได้ | ละลายในเอมิลแอซิเตต, แอลกอฮอล์, CCl4,C6H6 ละลายได้ดีมากใน CHCl3 |
ความสามารถละลายได้ ใน เอทานอล | 2 g/100 mL (0 °C) 2.8 g/100 mL (10 °C) 9.2 g/100 mL (20 °C) 31.9 g/100 mL (40 °C) |
ความสามารถละลายได้ ใน เมทิลแอซิเตต | 7.81 g/100 g |
ความสามารถละลายได้ ใน เอทิลแอซิเตต | 10.7 g/100 g |
ความดันไอ | 0.051 mPa (25 °C) 1.08 kPa (200 °C) 28.06 kPa (300 °C) |
pKa | 4.75 |
-198.6·10−6 cm3/mol | |
ดัชนีหักเหแสง (nD) | 1.43 (70 °C) |
ความหนืด | 7.8 cP (70 °C) |
อุณหเคมี | |
Std enthalpy of formation ΔfH |
-892 kJ/mol |
เอนทัลปีมาตรฐานของการเผาไหม้ (ΔcH
|
10030.6 kJ/mol |
Standard molar entropy S |
452.37 J/mol·K |
ความจุความร้อนจำเพาะ | 463.36 J/mol·K |
ความอันตราย | |
GHS pictograms | |
NFPA 704 | |
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa | |
สถานีย่อย:เคมี |
กรดปาล์มิติก (อังกฤษ: palmitic acid) หรือ กรดเฮกซะเดคาโนอิก (hexadecanoic acid) เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีสูตรเคมีคือ C16H32O2 ค้นพบครั้งแรกโดยเอดมอนด์ เฟรมี นักเคมีชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1840 หลังเขาทำการทดลองกับน้ำมันปาล์ม นอกจากนี้กรดปาล์มิติกยังพบในผลิตภัณฑ์นม, เนื้อสัตว์, เนยโกโก้, น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันดอกทานตะวัน
กรดปาล์มิติกเป็นกรดไขมันที่ถูกผลิตขึ้นเป็นลำดับแรกในการสังเคราะห์กรดไขมันในไซโทพลาซึม การสังเคราะห์ดังกล่าวจะเปลี่ยนอะซิติลโคเอนไซม์ เอในคาร์โบไฮเดรตไปเป็นกรดไขมันผ่านเอนไซม์แฟตตีเอซิดซินเทส ผลคือทำให้กรดปาล์มิติกเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญในร่างกายสิ่งมีชีวิต งานวิจัยหนึ่งพบว่ากรดปาล์มิติกมีปริมาณประมาณ 21-30% (โมลาร์) ในเนื้อเยื่อไขมันของร่างกายมนุษย์
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพสหรัฐพัฒนาเกลืออะลูมิเนียมของกรดแนฟทีนิกและกรดปาล์มิติกเป็นระเบิดนาปาล์ม กรดปาล์มิติกในรูปโซเดียมปาล์มิเตตใช้เป็นส่วนประกอบของสบู่, เครื่องสำอาง, สารกันติด (release agent) และวัตถุเจือปนอาหาร อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกรายงานว่าการบริโภคกรดปาล์มิติกเสี่ยงต่อการเป็นโรคระบบหัวใจหลอดเลือด โดยอิงจากการศึกษาหลายชิ้นที่พบว่ากรดปาล์มิติกอาจมีส่วนในการเพิ่มระดับไลโพโปรตีนหนาแน่นต่ำ (LDL) ในเลือด
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: กรดปาล์มิติก |