Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

กรดมาลิก

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
กรดมาลิก
Skeletal structure
Ball-and-stick model
Sample of racemic malic acid.jpg
ชื่ออื่น Hydroxybutanedioic acid
2-Hydroxysuccinic acid
L-Malic acid
D-Malic acid
(–)-Malic acid
(+)-Malic acid
(S)-Hydroxybutanedioic acid
(R)-Hydroxybutanedioic acid
เลขทะเบียน
เลขทะเบียน CAS [617-48-1][CAS]
PubChem 525
EC number 230-022-8
KEGG C00149
ChEBI 6650
SMILES
 
InChI
 
ChemSpider ID 510
คุณสมบัติ
สูตรโมเลกุล C4H6O5
มวลโมเลกุล 134.09 g mol−1
ความหนาแน่น 1.609 g cm−3
จุดหลอมเหลว

130 °C, 403 K, 266 °F

ความสามารถละลายได้ ใน น้ำ 558 g/L (ที่ 20 °C)
pKa pKa1 = 3.40, pKa2 = 5.20
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
แอนไอออนที่เกี่ยวข้อง
กรดคาร์บอกซิลิกที่เกี่ยวข้อง
กรดซักซินิก
กรดทาร์ทาริก
กรดฟูมาริก
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง n-บิวทานอล
บิวทีรัลดีไฮด์
โครโตนัลดีไฮด์
โซเดียมมาเลต
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
สถานีย่อย:เคมี

กรดมาลิก (อังกฤษ: malic acid) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ C4H6O5 เป็นกรดไดคาร์บอกซิลิกที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดผลิตได้ กรดมาลิกมีสองแบบคือแบบ L และแบบ D มีเฉพาะแบบ L ที่พบในธรรมชาติ เกลือและเอสเทอร์ของกรดมาลิกเรียกว่า มาเลต มาเลตมีความสำคัญในปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอน C4 เป็นแหล่งคาร์บอนไดออกไซด์ในวัฏจักรแคลวินและแอนไอออนของมาเลตเป็นสารมัธยันตร์ในวัฏจักรกรดซิตริก

คาร์ล วิลเฮล์ม เชเลอ นักเคมีชาวเยอรมัน/สวีเดนสกัดกรดมาลิกจากน้ำแอปเปิลเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1785 สองปีต่อมา อ็องตวน ลาวัวซีเย นักเคมีชาวฝรั่งเศสตั้งชื่อสารนี้ว่า acide malique ตามคำในภาษาละติน mālum ที่แปลว่าแอปเปิล กรดมาลิกทำให้แอปเปิลเขียวมีรสเปรี้ยวและให้รสชาติอย่างเด่นชัดในรูบาร์บ นอกจากนี้ยังพบในองุ่น ทำให้ไวน์มีรสเปรี้ยว อย่างไรก็ตาม กรดมาลิกในองุ่นจะลดลงเมื่อผลองุ่นสุก เมื่อใช้ในอาหารกรดมาลิกจะมีเลขอีเท่ากับ E296 ผสมในลูกอมให้รสเปรี้ยวจัด กรดมาลิกได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหารในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์


แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение