Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

กลัยโอบลาสโตมา

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
กลัยโอบลาสโตมา
(Glioblastoma)
ชื่ออื่น Glioblastoma multiforme, grade IV astrocytoma
Glioblastoma - MR coronal with contrast.jpg
ภาพสแกนเอ็มอาร์ไอสมองตัดแนวหน้าหลัง แสดงให้เห็นก้อนกลัยโอบลาสโตมาในผู้ป่วยชายอายุ 15 ปี คนหนึ่ง
สาขาวิชา ประสาทมะเร็งวิทยา, ประสาทศัลยศาสตร์
อาการ ปวดศีรษะ, บุคลิกเปลี่ยนแปลง, คลื่นไส้, อาการคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง
การตั้งต้น อายุประมาณ 64 ปี
สาเหตุ มักไม่ทราบสาเหตุชัดเจน
ปัจจัยเสี่ยง โรคพันธุกรรม (นิวโรไฟโบรมาโตซิส, กลุ่มอาการลี-ฟรอเมอไน), เคยได้รับการรักษาด้วยรังสี
วิธีวินิจฉัย ซีทีสแกน, เอ็มอาร์ไอ, การตัดชิ้นเนื้อ
การป้องกัน ไม่ทราบ
การรักษา ผ่าตัด, เคมีบำบัด, รักษาด้วยรังสี
ยา ทีโมโซโลไมด์, คอร์ติโคสเตียรอยด์
พยากรณ์โรค อายุคาดเฉลี่ยประมาณ 14 เดือน กรณีได้รับการรักษา, อัตรารอดชีวิต 5 ปีเท่ากับ 7%
ความชุก 3 ต่อ 100,000 ประชากร ต่อปี

กลัยโอบลาสโตมา (อังกฤษ: glioblastoma) หรือ กลัยโอบลาสโตมา มัลติฟอร์เม (อังกฤษ: glioblastoma multiforme, GBM) เป็นมะเร็งของสมองชนิดหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นมะเร็งชนิดที่ร้ายแรงที่สุดที่เกิดในสมอง อาการแรกเริ่มมักเป็นอาการแบบไม่จำเพาะ เช่น ปวดศีรษะ บุคลิกเปลี่ยนแปลง คลื่นไส้ หรืออาการคล้ายคลึงกับโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยมักมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว อาจถึงระดับที่ไม่รู้สึกตัวได้

สาเหตุของโรคยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มีปัจจัยเสี่ยงที่ได้รับการยืนยันอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น โรคทางพันธุกรรมอย่างโรคท้าวแสนปม กลุ่มอาการลี-ฟรอเมอนี และการเคยได้รับการรักษาด้วยการฉายแสง แต่ผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็ยังเป็นเพียงส่วนน้อย โรคนี้พบเป็นร้อยละ 15 ของเนื้องอกในสมองทั้งหมด อาจตั้งต้นจากเซลล์สมองปกติ หรือเปลี่ยนแปลงมาจากแอสโตรซัยโตมาเกรดต่ำก็ได้ การวินิจฉัยโดยส่วนใหญ่ทำได้โดยการรวบรวมข้อมูลจากการทำซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ และการตัดชิ้นเนื้อตรวจ

โรคนี้ยังไม่พบวิธีป้องกัน การรักษาส่วนใหญ่ทำได้โดยใช้ยาเคมีบำบัดและการฉายรังสีเพื่อลดขนาดก้อนแล้วจึงผ่าตัด โดยมักใช้ทีโมโซโลไมด์เป็นยาตัวหนึ่งในชุดยาเคมีบำบัด อาจสามารถลดขนาดของก้อนและลดอาการบวมของเนื้อสมองรอบก้อนได้ด้วยยาสเตียรอยด์ขนาดสูง การผ่าตัดเอาเนื้องอกและเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆ ออกเป็นวงกว้างจะสัมพันธ์กับการมีรอดชีวิตที่ยาวนานขึ้น

แม้จะได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ที่สุดแล้วมะเร็งชนิดนี้ก็มักจะกลับมาเป็นได้อีก ระยะเวลารอดชีวิตหลังวินิจฉัยโดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 12-15 เดือน โดยมีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อย (น้อยกว่า 3-7%) ที่มีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปี หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยมักจะมีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3 เดือน ถือเป็นมะเร็งที่พบในเนื้อสมองได้บ่อยที่สุด และเป็นเนื้องอกสมองที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองรองลงมาจากเนื้องอกของเยื่อหุ้มสมองหรือเมนินจิโอมา ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยโรคนี้ด้วยสัดส่วน 3 ใน 100,000 คน ส่วนใหญ่มักพบที่อายุ 64 ปีขึ้นไป และพบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง ปัจจุบันกำลังมีการศึกษาวิจัยว่าจะสามารถใช้การบำบัดด้วยวิทยาภูมิคุ้มกันในการรักษาโรคนี้ได้หรือไม่

การรักษา

การรักษาด้วยการฉายรังสี

หลังจากการผ่าตัดแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายรังสีร่วมไปกับการให้ยา temozolomide

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение