Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
กลุ่มอาการตูแร็ต
กลุ่มอาการตูแร็ต | |
---|---|
ชื่ออื่น | Tourette's syndrome, Tourette's disorder, Gilles de la Tourette syndrome (GTS) |
สาขาวิชา | กุมารเวชศาสตร์, ประสาทวิทยา |
อาการ | การกระตุก |
การตั้งต้น | วัยเด็ก |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว |
สาเหตุ | พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม |
วิธีวินิจฉัย | ประวัติผู้ป่วยและอาการ |
การรักษา | การให้ความรู้, การบำบัดพฤติกรรม |
ยา | โดยปกติไม่มีการรักษา, บางครั้งอาจใช้ยาระงับอาการทางจิตและตัวรับอดรีเนอร์จิก แอลฟา-2เอ |
พยากรณ์โรค | การกระตุกจะลดลงหรือหายไปในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย |
ความชุก | ประมาณ 1% |
กลุ่มอาการตูแร็ต (อังกฤษ: Tourette syndrome) เป็นความผิดปกติด้านพัฒนาการระบบประสาทที่พบในวัยเด็ก มีลักษณะอาการกระตุกของกล้ามเนื้อหลายครั้งและการส่งเสียงโดยไม่ได้ตั้งใจอย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยก่อนเกิดการกระตุก ผู้ป่วยจะมีอาการไม่พึงประสงค์ที่เรียกว่า premonitory urge ซึ่งหยุดได้ยาก อาการทั่วไปอื่น ๆ ที่พบได้แก่กะพริบตา ไอ กระแอมและการแสดงสีหน้า
กลุ่มอาการตูแร็ตเป็นหนึ่งในความผิดปกติทางการกระตุก สาเหตุของกลุ่มอาการยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ยังไม่พบวิธีวินิจฉัยที่เฉพาะเจาะจง ดังนั้นบางครั้งจึงมีการวินิจฉัยผิดเป็นความผิดปกติทางการกระตุกอื่น ๆ โดยทั่วไปผู้ป่วยกลุ่มอาการตูแร็ตจะมีอาการกระตุกลดลงเมื่อเป็นวัยรุ่น ในรายที่ผู้ป่วยเป็นผู้ใหญ่มักพบได้น้อย แพทย์มักไม่ให้การรักษาอาการกระตุกเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการกระตุกเล็กน้อย แต่จะใช้วิธีให้ความรู้และบำบัดพฤติกรรม ผู้ป่วยกลุ่มอาการตูแร็ตอาจมีอาการของโรคซนสมาธิสั้นและโรคย้ำคิดย้ำทำร่วมด้วย
ความชุกของกลุ่มอาการตูแร็ตอยู่ที่ประมาณ 1% กลุ่มอาการตูแร็ตเป็นความผิดปกติที่ไม่ส่งผลต่อสติปัญญาและการคาดหมายคงชีพ กลุ่มอาการนี้ตั้งชื่อโดยฌ็อง-มาร์แต็ง ชาร์โก ตามชื่อฌอร์ฌ ฌีล เดอ ลา ตูแร็ต แพทย์ชาวฝรั่งเศส ผู้อธิบายโรคนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1885
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: กลุ่มอาการตูแร็ต |