กลุ่มอาการที่เกิดจากช่องออกของเส้นประสาทบริเวณทรวงอกผิดปกติ (Thoracic outlet syndrome)
|
|
ภาพข่ายประสาทแขนของแขนข้างขวา มองจากด้านหน้า |
สาขาวิชา |
ศัลยกรรมหลอดเลือด, ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก
|
อาการ |
ปวด, อ่อนแรง, กล้ามเนื้อโคนนิ้วหัวแม่มือฝ่อ, บวม, แขนซีด, ม่วงคล้ำ |
การตั้งต้น |
อายุ 20-50 ปี |
ประเภท |
ชนิดเส้นประสาท, หลอดเลือดดำ, หลอดเลือดแดง |
สาเหตุ |
การกดทับเส้นประสาท, หลอดเลือดดำ, และ/หรือ หลอดเลือดแดง ที่บริเวณช่องออกของกลุ่มเส้นประสาทและเส้นเลือดจากในช่องอกไปยังบริเวณรักแร้
|
ปัจจัยเสี่ยง |
การบาดเจ็บ, การเคลื่อนไหวซ้ำๆ, เนื้องอก, การตั้งครรภ์, กระดูกซี่โครงเกิน
|
วิธีวินิจฉัย |
การตรวจการนำสัญญาณประสาท, การถ่ายภาพรังสี
|
โรคอื่นที่คล้ายกัน |
เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ฉีกขาด, โรคของกระดูกคอ, ไฟโบรมัยอัลเจีย, โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง, กลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่แบบซับซ้อน
|
การรักษา |
กายภาพบำบัด, ยาแก้ปวด, การผ่าตัด |
ความชุก |
~1% |
กลุ่มอาการที่เกิดจากช่องออกของเส้นประสาทบริเวณทรวงอกผิดปกติ (อังกฤษ: thoracic outlet syndrome, TOS) เป็นภาวะที่ร่างกายของผู้ป่วยมีการกดทับเส้นประสาท, หลอดเลือดดำ, และ/หรือ หลอดเลือดแดง ที่บริเวณช่องออกของกลุ่มเส้นประสาทและเส้นเลือดจากในช่องอกไปยังบริเวณรักแร้ แบ่งออกเป็นสามชนิดย่อยตามอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ชนิดเส้นประสาท ชนิดหลอดเลือดดำ และชนิดหลอดเลือดแดง โดยในชนิดเส้นประสาทผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บ อ่อนแรง และอาจมีกล้ามเนื้อฝ่อที่บริเวณฐานนิ้วหัวแม่มือ ชนิดหลอดเลือดดำจะมีอาการแขนบวม เจ็บ และอาจมีสีม่วงคล้ำได้ ชนิดหลอดเลือดแดงจะมีอาการเจ็บแขน แขนซีด และแขนเย็นได้
ภาวะนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บ การเคลื่อนไหวซ้ำๆ เนื้องอก การตั้งครรภ์ หรือเป็นมาแต่กำเนิด เช่น การมีกระดูกซี่โครงเกิน เป็นต้น การตรวจที่ช่วยในการวินิจฉัยได้แก่ การตรวจการนำสัญญาณประสาท และการถ่ายภาพรังสี ภาวะอื่นที่ทำให้มีอาการใกล้เคียงกัน ได้แก่ เส้นเอ็นคลุมข้อไหล่ฉีกขาด โรคของกระดูกคอ ไฟโบรมัยอัลเจีย โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และกลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่แบบซับซ้อน เป็นต้น
การรักษาในระยะแรกเริ่มสำหรับชนิดที่ทำให้มีอาการทางเส้นประสาทได้แก่การทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออกและปรับปรุงท่าทาง อาจใช้ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น นาพรอกเซน เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดได้การผ่าตัดมักใช้กับการรักษากรณีเป็นชนิดที่ทำให้มีอาการทางหลอดเลือด หรือมีอาการทางเส้นประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือด ภาวะนี้พบได้ในประชากรทั่วไปประมาณ 1% พบในเพศชายได้บ่อยกว่าในเพศหญิง และมักพบที่อายุประมาณ 20-50 ปี ภาวะนี้ได้รับการบรรยายไว้เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1818 และถูกเรียกชื่อว่ากลุ่มอาการที่เกิดจากช่องออกของเส้นประสาทบริเวณทรวงอกผิดปกติตั้งแต่ ค.ศ. 1956
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค |
|
ทรัพยากรภายนอก |
|