Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
กลุ่มอาการมาร์แฟน
กลุ่มอาการมาร์แฟน | |
---|---|
ชื่ออื่น | Marfan's syndrome |
สาขาวิชา | เวชพันธุศาสตร์ |
อาการ | รูปร่างผอมสูง แขนขายาว ข้อต่อยืดได้มากกว่าปกติ |
ภาวะแทรกซ้อน | กระดูกสันหลังคด, ลิ้นหัวใจไมทรัลหย่อน, ท่อเลือดแดงโป่งพอง |
ระยะดำเนินโรค | ระยะยาว |
สาเหตุ | ทางพันธุกรรม (ออโตโซมลักษณะเด่น) |
วิธีวินิจฉัย | เกณฑ์ของเกนต์ |
ยา | เบตาบล็อกเกอร์, แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์, สารยับยั้งเอซีอี |
พยากรณ์โรค | มักมีการคาดหมายคงชีพปกติ |
ความชุก | 1 ใน 5,000–10,000 คน |
กลุ่มอาการมาร์แฟน (อังกฤษ: Marfan syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ผู้ป่วยมักมีรูปร่างผอมสูง มีแขน ขา นิ้วมือและนิ้วเท้ายาว รวมถึงมีอาการกระดูกสันหลังคดและมีข้อต่อที่ยืดได้มากกว่าปกติ อาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายของกลุ่มอาการนี้ได้แก่ลิ้นหัวใจไมทรัลหย่อนและท่อเลือดแดงโป่งพอง
กลุ่มอาการมาร์แฟนเป็นความผิดปกติของออโตโซมลักษณะเด่น โดย 75% เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ส่วน 25% เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างไฟบริลลิน ไกลโคโปรตีนที่สำคัญในการสร้างเส้นใยอีลาสติกในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การวินิจฉัยส่วนมากจะอิงจากเกณฑ์ของเกนต์ (Ghent criteria)
ยังไม่พบวิธีการรักษากลุ่มอาการมาร์แฟนให้หายขาด แต่ผู้ป่วยมีการคาดหมายคงชีพปกติหากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การรักษามักใช้ยาเบตาบล็อกเกอร์ แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์หรือสารยับยั้งเอซีอีในการป้องกันความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงการผ่าตัดลิ้นหัวใจ
ประมาณ 1 ใน 5,000 ถึง 10,000 คนจะป่วยเป็นกลุ่มอาการมาร์แฟน อัตราการพบในเพศชายและหญิงมีเท่ากัน กลุ่มอาการมาร์แฟนตั้งชื่อตามอ็องตวน มาร์ฟอง กุมารแพทย์ชาวฝรั่งเศสที่บรรยายถึงกลุ่มอาการนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1896
โรงพยาบาลในประเทศไทยที่ชำนาญในการวินิจฉัยและดูแลรักษากลุ่มอาการมาร์แฟน
สำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่
- โรงพยาบาลรามาธิบดี อายุรศาสตร์
- โรงพยาบาลศิริราช อายุรศาสตร์
- โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กองอายุรกรรม
สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 13 ปี
- คลินิกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
- คลินิกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช
- คลินิกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- คลินิกกุมารเวชศาสตร์จุฬา
- โรงพยาบาลเด็ก
นักกีฬากับมาร์แฟน
เนื่องจากผู้ที่เป็นกลุ่มอาการมาร์แฟนจะมีรูปร่างสูง ทำให้หลายคนได้ฝึกฝนเป็นนักกีฬา โดยเฉพาะบาสเก็ตบอลและวอลเลย์บอล ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างมากหากไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงที เพราะการออกกำลังกายหนักสำหรับผู้ที่เป็นกลุ่มอาการมาร์แฟนจะมีโอกาสทำให้ เลนส์ตาหลุด ข้อหลุด หัวใจเต้นเร็วมากเกิดการโป่งพองของหลอดเลือดแดงใหญ่มากจนเกิดการเซาะของเลือดในผนังหลอดเลือด
นักกีฬาที่มีชื่อเสียงและถูกวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการมาร์แฟน
- อิสยาห์ ออสติน (Isaiah Austin) นักบาสเก็ตบอลแห่งมหาวิทยาลัยเบย์เลอร์ (Baylor) ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมาร์แฟน 4 วันก่อนการดราฟต์ผู้เล่น NBA ทั้งนี้ Isaiah ตาบอดข้างขวาตั้งแต่อายุ 16 ปีเพราะเลนส์ตาหลุด แม้ไม่ได้ถูกคัดเลือกเข้า NBA แต่ทาง NBA ได้ให้เกียรติขึ้นเวทีในวันดราฟต์ผู้เล่นปี ค.ศ. 2014
แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: กลุ่มอาการมาร์แฟน |
- "กลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan Syndrome)". Pobpad.
- "กลุ่มอาการมาร์แฟน". ThaiMarfan.org.
- กลุ่มอาการมาร์แฟน ที่เว็บไซต์ Curlie
- Orphanet's disease page on Marfan syndrome
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
Craniofacial | |
---|---|
Short stature | |
Limbs | |
Overgrowth | |
Laurence-Moon-Bardet-Biedl | |
Combined/other, known locus |