Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

กลุ่มอาการเรย์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
กลุ่มอาการเรย์
(Reye syndrome)
ชื่ออื่น Reye's syndrome
Reye's syndrome liver-histology.jpg
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แสดงให้เห็นเซลล์ตับของผู้ป่วยเด็กที่เสียชีวิตจากกลุ่มอาการเรย์ เซลล์ตับในภาพมีไขมันสะสมในเซลล์จึงพบติดสีจาง
การออกเสียง
สาขาวิชา กุมารเวชศาสตร์
อาการ อาเจียน บุคลิกเปลี่ยนแปลง สับสน ชัก หมดสติ
ภาวะแทรกซ้อน สภาพผักเรื้อรัง, โคม่า
สาเหตุ ไม่ทราบสาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยง การใช้ยาแอสไพรินในเด็ก, การติดเชื้อไวรัส
การรักษา Supportive care
ยา Mannitol
พยากรณ์โรค 1/3rd long term disability
ความชุก Less than one in a million children a year
การเสียชีวิต ~30% chance of death

กลุ่มอาการเรย์ (อังกฤษ: Reye syndrome) เป็นโรคสมองที่ดำเนินโรครวดเร็วโรคหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียน บุคลิกเปลี่ยนแปลง สับสน ชัก หมดสติได้ มักพบกับภาวะเป็นพิษต่อตับแต่ไม่ค่อยพบภาวะดีซ่าน อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 20-40% และในกลุ่มที่ไม่เสียชีวิตนั้นหนึ่งในสามจะมีภาวะสมองเสียหายรุนแรงได้

สาเหตุของภาวะนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่พบว่าเกิดขึ้นไม่นานหลังผู้ป่วยหายจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส ผู้ป่วยโรคนี้ 90% พบว่ามีประวัติเป็นผู้ป่วยเด็กที่ใช้ยาแอสไพริน ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือโรคในกลุ่มความผิดปกติแต่กำเนิดของกระบวนการสร้างและสลาย การตรวจเลือดอาจพบมีระดับแอมโมเนียในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดต่ำ ผลตรวจระยะเวลาโปรทรอมบินนานกว่าปกติ และมักมีตับโตร่วมด้วย

การป้องกันทำได้โดยการงดใช้แอสไพรินในผู้ป่วยเด็ก หลังจากมีคำแนะนำให้งดใช้แอสไพรินในผู้ป่วยเด็กพบว่าจำนวนผู้ป่วยกลุ่มอาการเรย์ลดลงกว่า 90% การวินิจฉัยให้ได้ในระยะแรกเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีผลการรักษาดีขึ้น การรักษามุ่งเน้นไปที่การรักษาประคับประคอง (supportive treatment) กรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะสมองบวมการให้แมนนิทอลอาจช่วยลดภาวะสมองบวมได้

ผู้ที่บรรยายภาวะนี้ไว้เป็นครั้งแรกคือดักลาส เรย์ โดยได้บรรยายภาวะนี้ไว้เมื่อ ค.ศ. 1963 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเด็ก ปัจจุบันมีผู้ป่วยกลุ่มอาการเรย์ประมาณ 1 คนต่อเด็ก 1 ล้านคนต่อปี จากการค้นพบโรคนี้ทำให้คำแนะนำเดิมที่แนะนำให้ใช้แอสไพรินเป็นยาลดไข้ในเด็กถูกถอนออกไป คงเหลือที่ใช้แอสไพรินเฉพาะในโรคคาวาซากิเท่านั้น

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение