Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอุยกูร์
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชวอุยกูร์ | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของข้อพิพาทซินเจียง | |
ผู้ถูกคุมขังในค่ายกักกันซินเจียง ภาพถ่ายเมื่อเมษายน 2017
| |
ซินเจียง (สีแดง) ในแผนที่ประเทศจีน
| |
สถานที่ | ซินเจียง ประเทศจีน |
วันที่ | 2014–ปัจจุบัน |
เป้าหมาย | ชาวอุยกูร์, คาซัก, คีร์กีซ, และมุสลิมเติร์กอื่น ๆ |
ประเภท | กักกัน, บังคับแท้ง, บังคับทำหมัย, คุมกำเนิด, บังคับใช้แรงงาน, ทรมาน, ล้างสมอง, มีรายงานอ้างข่มขืน (รวมถึง ข่มขืนหมู่) |
ผู้เสียหาย | ราว ≥1 ล้านคนที่ถูกคุมตัว |
รัฐบาลจีน | |
เหตุจูงใจ |
ต้านก่อการร้าย (ทางการ) ทำให้เป็นจีน, กลัวอิสลาม, และกดขี่ผู้เห็นต่างทางการเมือง |
รัฐบาลจีนได้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชาวอุยกูร์และชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนาในซินเจียงเรื่อยมาถึงปัจจุบัน ที่ซึ่งมีลักษณะหลายประการที่เข้าข่ายว่าเป็นการฆาล้างเผ่าพันธุ์ นับตั้งแต่ปี 2014 รัฐบาลจีนที่นำโดยสี จิ้นผิงแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ได้ดำเนินนโยบายที่กักกันประชากรชาวมุสลิมเชื้อสายเติร์กราวหนึ่งล้านคนเข้าไปยังค่ายกักกันซินเจียงโดยปราศจากขั้นตอนทางกฎหมาย การกักกันนี้ถือเป็นการกักกันชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และศาสนาที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง นักวิชาการประเมินว่านับตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา มีมัสยิดอย่างน้อย 16,000 แห่ง ที่ถูกทำลายหรือทำให้เสียหาย และมีเด็กอีกหลายแสนคนที่ถูกยังคับให้ต้องแยกจากผู้ปกครองและส่งไปยังโรงเรียนประจำ
นโยบายรัฐยังมีการจับกุมตามอำเภอใจเข้าในศูนย์กักกันชาวอุยกูร์ของรัฐ,การบังคับใช้แรงงาน, การกดขี่การปฏิบัติตามศาสนาอิสลาม,การล้างสมองทางการเมือง, การดูแลและสภาพเป็นอยู่ที่เลวร้าย,การบังคับทำหมัน, การบังคับคุมกำเนิด และ การบังคับแท้ง สถิติทางการของรัฐบาลจีนรายงานว่าในปี 2015 ถึง 2018 อัตราการเกิดในภูมิภาคโฮตัน และ คัชการ์ ซึ่งมีประชากรเป็นชาวอุยกูร์เป็นส่วนใหญ่ ลดต่ำลงกว่า 60% ในขณะที่อัตราเกิดเฉลี่ยของประเทศจีนเติบโตขึ้น 9.69% ในช่วงเดียวกัน รัฐบาลจีนรับรู้ว่าอัตราเกิดในซินเจียงลดลงกว่าหนึ่งในสามในปี 2018 แต่ปฏิเสธรายงานที่ระบุว่ามีการบังคับทำหมันและฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และในปี 2019 อัตราเกิดในซินเจียงลดลงอีก 24% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยชาติลดลงเพียง 4.2%
มีการบรรยายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่าเป็นทั้งการบังคับให้กลืนกลายทางวัฒนธรรม, การฆ่าล้างชาติพันธุ์ และ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทางวัฒนธรรม ไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่ซึ่งมีผู้เสนอว่าการกระทำของรัฐบาลจีนตรงกับมาตราสองของการประชุมเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งห้ามมิให้มี "การกระทำที่มีเป้าหมายทำลาย ทั้งหมดหรือบางส่วน" ของ "กลุ่มทางเชื้อชาติหรือศาสนา" ซึ่งรวมถึง "การก่อให้เกิดอันตรายทั้งทางกายหรือทางใจอย่างร้ายแรงแก่สมาชิกในกลุ่ม" และ "นโยบายที่มีเป้าหมายป้องกันการเกิดในกลุ่ม"
บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลห้องสมุดเกี่ยวกับ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอุยกูร์ |
- Abdulhakim Idris: Menace. China's Colonization of the Islamic World & Uyghur Genocide, 329 pp., Center for Uyghur Studies, Washington, DC, 2020, ISBN 978-1-7365414-1-8
- Clarke, Michael (9 April 2008). "China's "War on Terror" in Xinjiang: Human Security and the Causes of Violent Uighur Separatism". Terrorism and Political Violence. Informa UK Limited. 20 (2): 271–301. doi:10.1080/09546550801920865. ISSN 0954-6553. S2CID 144284074.
- Clarke, Michael E. (2011). Xinjiang and China's Rise in Central Asia - A History (1st ed.). London: Taylor & Francis. doi:10.4324/9780203831113. ISBN 978-1-1368-2706-8.
- Dwyer, Arienne M. (2005). The Xinjiang Conflict: Uyghur Identity, Language Policy and Political Discourse (PDF). Washington, D.C.: East-West Center Washington. hdl:10125/3504. ISBN 1-932728-29-5. ISSN 1547-1330. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-12-18. สืบค้นเมื่อ 2022-09-02.
- Starr, S. Frederick, บ.ก. (2004). Xinjiang: China's Muslim Borderland. Studies of Central Asia and the Caucasus. Armonk, NY: M.E. Sharpe. ISBN 978-0-7656-1318-9.
- Hayes, Anna; Clarke, Michael (2015). Inside Xinjiang: Space, Place and Power in China's Muslim Far Northwest (1st ed.). London: Routledge. doi:10.4324/9781315770475. ISBN 9781315770475.