Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การจำแนกประเภทกระดูกหักแผลเปิดของกัสติโล
Подписчиков: 0, рейтинг: 0
การจำแนกประเภทกระดูกหักแผลเปิดของกัสติโล (Gustilo open fracture classification) เป็นระบบการจำแนกประเภทของกระดูกหักแผลเปิดที่เป็นที่นิยมใช้ที่สุด สร้างโดย Ramon Gustilo และ Anderson จากนั้นจึงพัฒนาต่อยอดโดย Gustilo, Mendoza และ Williams
ระบบจำแนกประเภทนี้อาศัยพลังงานที่กระทำต่อบาดแผล ความรุนแรงของการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่ออ่อน และความรุนแรงของการปนเปื้อน มาใช้ตัดสินความรุนแรงของกระดูกหัก ชนิดของกระดูกหักแผลเปิดที่มีตัวเลขเพิ่มขึ้นจาก 1 ไปจนถึง 3C แสดงถึงความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น และรวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ อีกด้วย
ชนิด (Type) | นิยาม |
---|---|
I | กระดูกหักแผลเปิด บาดแผลสะอาด ความยาวน้อยกว่า 1 เซนติเมตร |
II | กระดูกหักแผลเปิด บาดแผลความยาวมากกว่า 1 เซนติเมตร ไม่มีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อนเป็นบริเวณกว้าง ไม่เป็นรอยคว้าน (avulsion) ไม่เป็นเนื้อเปิด (flap) |
III | กระดูกหักแผลเปิด มีการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเนื้อเยื่ออ่อนเป็นบริเวณกว้าง หรือมีชิ้นส่วนกระดูกหลุดหาย รวมถึงกระดูกหักแผลเปิดที่เกิดจากอุบัติเหตุในไร่นา มีการบาดเจ็บของหลอดเลือดที่จำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซม หรือกระดูกหักแผลเปิดเกิดมานานกว่า 8 ชั่วโมง ก่อนได้รับการรักษา |
IIIA | กระดูกหักชนิดที่ III ซึ่งมีเยื่อหุ้มกระดูกคลุมกระดูกได้ทั้งหมด แม้จะมีการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเนื้อเยื่ออ่อนเป็นบริเวณกว้าง |
IIIB | กระดูกหักชนิดที่ III ซึ่งมีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อนเป็นบริเวณกว้าง มีการสูญหายของเยื่อหุ้มกระดูก มักมีการปนเปื้อนอย่างมาก ส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการรักษาหาเนื้อเยื่ออื่นมาเสริมที่แผล (เช่น free หรือ rotational flap) |
IIIC | กระดูกหักชนิดที่ III ซึ่งมีการบาดเจ็บของหลอดเลือดแดงซึ่งจำเป็นต้องได้รับการซ่อมแซม ทั้งนี้ไม่ขึ้นกับลักษณะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน |