Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
(Intramuscular injection)
การแทรกแซง
Bracing for a short, sharp jab.jpg
บุคลากรทางการแพทย์กำลังเตรียมฉีดวัคซีนให้เด็กด้วยวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ICD-10-PCS 3E023
ICD-9-CM 99.1
MeSH D007273

การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (อังกฤษ: intramuscular, IM) เป็นวิธีบริหารยาด้วยการฉีดวิธีหนึ่ง ใช้ให้ยาหรือสารอื่นเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ผ่านการกิน มีข้อแตกต่างจากวิธีอื่นคือคือยาจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบไหลเวียนได้เร็วกว่าการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังหรือการฉีดเข้าชั้นผิวหนังเนื่องจากกล้ามเนื้อมีหลอดเลือดจำนวนมาก และไม่ได้รับผลจากกระบวนการสร้างและสลายด่านหน้าเหมือนที่เกิดกับการกิน

ตำแหน่งที่นิยมฉีดคือที่กล้ามเนื้อหัวไหล่ (เดลตอยด์) และกล้ามเนื้อก้น (กลูเตียล) ในทารกนิยมฉีดที่กล้ามเนื้อหน้าขาส่วนด้านข้าง (vastus lateralis) ก่อนฉีดจะต้องทำความสะอาดผิวหนังบริวเณที่จะฉีด และแนะนำให้ลงเข็มอย่างรวดเร็วคล้ายการปาลูกดอกเพื่อลดความเจ็บปวด ปริมาณของยาที่เหมาะกับการฉีดมักอยู่ที่ไม่เกิน 2-5 มิลลิลิตร ขึ้นกับตำแหน่งที่ฉีด ตำแหน่งที่จะเลือกฉีดควรจะปราศจากอาการแสดงของการติดเชื้อหรือภาวะกล้ามเนื้อฝ่อลีบ และอาจไม่ควรเลือกบริหารยาด้วยวิธีฉีดเข้ากล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหรือผู้ที่มีปัญหาในการแข็งตัวของเลือด

หลังฉีดผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บปวด บวมแดง หรืออักเสบบริเวณที่ฉีดได้บ้าง อาการเหล่านี้มักเป็นไม่รุนแรงและคงอยู่เพียง 2-3 วัน ภาวะแทรกซ้อนที่พบน้อย เช่น การเกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทหรือหลอดเลือดบริเวณที่ฉีด ทำให้มีอาการปวดรุนแรงหรืออ่อนแรงตามมาได้ นอกจากนี้แล้วหากไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องอาจทำให้เกิดการติดเชื้อเฉพาะที่ เกิดเป็นฝีหนอง และเนื้อตายเน่าได้ ในอดีตเคยมีการแนะนำให้ผู้ฉีดดึงกระบอกฉีดยาหลังปักเข็มเพื่อตรวจให้แน่ใจว่าไม่ได้ปักเข็มเข้าไปในหลอดเลือด ปัจจุบันคำแนะนำอย่างเป็นทางการของบางประเทศไม่แนะนำให้ทำขั้นตอนนี้แล้ว


Новое сообщение