Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การติดเชื้อ
การติดเชื้อ (อังกฤษ: Infection) หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ มีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease)
การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูมิ
ดูเพิ่ม
- Vaccine Research Center เก็บถาวร 2007-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Information concerning vaccine research clinical trials for Emerging and re-Emerging Infectious Diseases.
- aboutinfections.com
หลักพยาธิวิทยา |
โรค - การติดเชื้อ - การขาดเลือดเฉพาะที่ - การอักเสบ - การสมานแผล - เนื้องอก - โลหิตพลศาสตร์
การตายของเซลล์: การตายเฉพาะส่วน (Liquefactive necrosis, Coagulative necrosis, Caseous necrosis) - อะพอพโทซิส - Pyknosis - Karyorrhexis - Karyolysis การปรับตัวของเซลล์: การฝ่อ - การโตเกิน - การเจริญเกิน - การเจริญผิดปกติ - Metaplasia (Squamous, Glandular) การสะสมของสาร: สารสี (Hemosiderin, Lipochrome/Lipofuscin, เมลานิน) - Steatosis |
---|---|
พยาธิกายวิภาค | |
พยาธิวิทยาคลินิก |