Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การทดสอบลานสายตา
Другие языки:

การทดสอบลานสายตา

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
การทดสอบลานสายตา
(Visual field test)
การวินิจฉัยทางการแพทย์
ICD-9-CM 95.05
MeSH D010499
เม็ดไลน์พลัส 003879
LOINC 28629-4

การทดสอบลานสายตา หรือ การตรวจลานสายตา (อังกฤษ: visual field test) เป็นการตรวจตาที่สามารถตรวจจับความผิดปกติของการเห็นตรงกลาง (central) และการเห็นรอบนอก (peripheral) ของลานสายตา ซึ่งอาจเกิดเพราะโรคหลายอย่างรวมทั้งต้อหิน, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคต่อมใต้สมอง, เนื้องอกในสมอง หรือปัญหาทางประสาทอื่น ๆ สามารถตรวจได้ในห้องตรวจโดยให้คนไข้ตรึงตา/มองนิ่ง ๆ ที่จุดใดจุดหนึ่งแล้วแสดงวัตถุรอบ ๆ ภายในลานสายตาของคนไข้ หรืออาจใช้เครื่องมือแบบง่าย ๆ เช่นจอ (tangent screen test) หรือใช้แผ่นตาราง (Amsler grid) อุปกรณ์เพื่อการนี้โดยเฉพาะเรียกว่าเครื่องวัดลานสายตา/เพริมีเตอร์ (perimeter)

ผู้ตรวจสามารถทดสอบได้โดยวิธีหลายอย่าง คือทำเอง ใช้เครื่องช่วย หรือให้เครื่องทำทั้งหมด การใช้เครื่องทำทั้งหมดช่วยแพทย์วินิจฉัยเพราะสามารถพิมพ์ผลแสดงลานสายตาของคนไข้ได้อย่างละเอียด

ชื่อภาษาอังกฤษอื่น ๆ ของการทดสอบนี้รวมทั้ง tangent screen exam, automated perimetry exam, Goldmann visual field exam และ Humphrey field exam

Confrontation visual field exam

เทคนิกที่ใช้ตรวจรวมทั้ง Confrontation visual field exam (Donders' test) คือ ผู้ตรวจจะบอกให้คนไข้ปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองผู้ตรวจ ถ้าทำอย่างสมบูรณ์แบบ เมื่อคนไข้ปิดตาข้างขวา ผู้ตรวจก็จะปิดตาข้างซ้าย โดยนัยตรงข้ามก็เช่นกัน ผู้ตรวจจะยกมือออกจากลานสายตาของคนไข้แล้วนำมันกลับเข้ามาอีก ปกติแล้ว ผู้ตรวจจะกระดิกนิ้วมือช้า ๆ หรือใช้เข็มปักหมวก (hat pin) สำหรับการนี้ โดยคนไข้จะส่งสัญญาณเมื่อเห็นมืออีก เป็นการทดสอบเบื้องต้นที่ทำได้ง่าย ๆ

การวัดลานสายตา (perimetry)

การวัดลานสายตา (อังกฤษ: perimetry, campimetry) เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ทดสอบลานสายตา เป็นการวัดความไวแสงในระดับต่าง ๆ ของลานสายตาอย่างเป็นระบบ โดยคนไข้จะส่งสัญญาณเมื่อเห็นเป้าหมายที่ใช้ทดสอบปรากฏบนพื้นหลังจอโดยเฉพาะ ๆ แล้วทำภาพและให้ค่าจุดต่าง ๆ ในลานสายตา โดยเฉพาะส่วนรอบนอกสุด ภาษาอังกฤษเรียกชื่อว่า perimetry เพราะเป็นการวัด perimeter (เส้นขอบ) ของลานสายตา

เครื่องวัดลานสายตาอัตโนมัติมีใช้อย่างกว้างขวาง การประยุกต์ใช้รวมทั้งใช้ตรวจวินิจฉัยโรค เป็นส่วนของการสอบเข้างาน ใช้ประเมินสมรรถภาพทางตา ใช้ตรวจคัดโรคภายในสถาบันการศึกษาหรือภายในชุมชน เป็นส่วนของการตรวจคัดทหาร และเพื่อระบุความพิการ

รูปแบบเครื่องวัด

เครื่อวัดลานสายตาโกลด์แมนน์ (Goldmann Perimeter)
Tangent screen
เป็นเครื่องวัดที่ง่ายสุด เพราะใช้เพียงแค่จอตั้งคือ tangent screen ตรวจโดยแสดงหมุดปักขนาดต่าง ๆ ที่ติดกับไม้ดำ ซึ่งอาจเลื่อนไปมาได้ และจะทำกับฉากหลังเป็นสีดำ หมุดปักที่เป็นตัวกระตุ้นอาจเป็นสีขาวหรือเป็นสีอื่น ๆ
เครื่องวัดลานสายตาโกลด์แมนน์ (Goldmann Perimeter)
เครื่องวัดลานสายตาโกลด์แมนน์เป็นเหมือนหม้อทรงกลมที่ตั้งอยู่หน้าคนไข้ตามระยะที่กำหนด ผู้ตรวจจะแสดงแสงที่ใช้ตรวจในขนาดและความสว่างต่าง ๆ แสงอาจเลื่อนเข้ามาตรงกลางจากขอบนอก (kinetic perimetry) หรืออาจจะอยู่กับที่ (static perimetry) วิธีนี้สามารถตรวจการเห็นรอบนอกอย่างสมบูรณ์ และได้ใช้มาหลายปีเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงทางสายตาของคนไข้โรคต้อหิน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันแพทย์มักใช้เครื่องวัดแบบอัตโนมัติ
การวัดลานสายตาอัตโนมัติ (Automated perimetry)
การวัดลานสายตาอัตโนมัติใช้แสงกระตุ้นที่เครื่องเป็นตัวเคลื่อนที่ คนไข้ระบุว่าเห็นแสงโดยกดปุ่ม การใช้พื้นหลังเป็นสีขาวและแสงกระตุ้นที่เพิ่มความสว่างเป็นขั้น ๆ เรียกว่า การวัดลานสายตาแบบ "white-on-white" เป็นวิธีการวัดที่ใช้มากที่สุดทางคลินิก และในงานทดลองที่ต้องวัดการเสียลานสายตา แต่ความไวของการวัดเช่นนี้ค่อนข้างต่ำ และการกระจายของค่าวัด (variability) ก็ค่อนข้างสูง ดังนั้น อาจต้องเสียเซลล์รับแสงถึง 25-50% กว่าเครื่องจะตรวจจับความเปลี่ยนแปลงได้ วิธีนี้ปกติใช้เพื่อตรวจจับจุดบอดในระยะต้น ๆ คนไข้จะนั่งหน้าโดมเว้าเล็ก ๆ ที่ประกอบกับเครื่องโดยมีเป้าสายตาอยู่ตรงกลาง คนไข้จะวางคางบนที่วาง ปิดตาข้างที่ไม่ได้ตรวจ มีปุ่มสำหรับกด เจ้าหน้าที่จะให้คนไข้นั่งข้างหน้าโดมและมองที่เป้าหมายตรงกลาง คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวส่องแสงไปยังจุดต่าง ๆ ภายในโดม ซึ่งคนไข้ควรกดปุ่มเมื่อเห็นแสง คอมพิวเตอร์จึงสามารถสร้างแผนที่และระบุลานสายตาของคนไข้
Microperimeter
เครื่องนี้ใช้ประเมินการทำงานของจุดภาพชัด (macular) ภายในตาด้วยคอมพิวเตอร์

วิธีแสดงแสงกระตุ้น

การวัดลานสายตาแบบสถิต (static perimetry)

static perimetry ตรวจสอบตำแหน่งต่าง ๆ ของลานสายตาทีละตำแหน่ง ๆ แรกสุด จะแสดงแสงสลัว ๆ ที่ตำแหน่งหนึ่ง ๆ ถ้าคนไข้ไม่เห็น ก็จะทำให้สว่างขึ้น ๆ จนกว่าจะเห็น ระดับแสงสว่างต่ำสุดที่เห็นได้เรียกว่าเป็นความไวขีดเริ่มเปลี่ยน ("threshold" sensitivity) ที่ตำแหน่งนั้น ๆ แล้วก็ทำที่ตำแหน่งอื่น ๆ อีก จนกระทั่งได้ทดสอบลานสายตาทั้งหมด

วิธีการนี้มักทำด้วยเครื่องมืออัตโนมัติ ใช้เพื่อตรวจคัดกรองโรคแบบเร็ว และติดตามอาการบางอย่างของโรค เช่น ดวงมืดในลานเห็น (scotoma) การเสียการเห็นรอบนอก (peripheral vision) และการเสียสายตาที่จับได้ยากกว่านั้นอื่น ๆ การวัดลานสายตาสำคัญในการตรวจคัดกรอง (screening) การวินิจฉัย และการเฝ้าติดตามโรคทางตา โรคจอตา โรคประสาทตา และโรคสมอง

การวัดลานสายตาแบบจลน์ (kinetic perimetry)

kinetic perimetry ใช้แสงสว่างที่ผู้ตรวจ (ไม่ใช่เครื่อง) เลื่อนแสงกระตุ้น เช่น goldmann kinetic perimetry (การวัดลานสายตาด้วยเครื่องโกลด์แมนน์แบบจลน์) แรกสุด จะทดสอบด้วยแสงจุดเดียวที่มีขนาดและสว่างเท่ากัน แสงจะเคลื่อนไปยังตรงกลางสายตาจากขอบจนกระทั่งคนไข้เห็น ซึ่งจะทำซ้ำจากรอบ ๆ ที่ตำแหน่งต่าง ๆ ถ้าทำจำนวนครั้งพอ ก็จะเห็นเขตการเห็นสำหรับตัวกระตุ้นนั้น ๆ เจ้าหน้าที่จะตรวจซ้ำอีกแต่ใช้แสงแบบอื่น ๆ หรือสว่างกว่าแสงที่ทดสอบแบบแรก

เพราะเหตุนี้ การวัดลานสายตาแบบจลน์จึงสามารถทดสอบขอบเขตความไวแสงของลานสายตา ซึ่งอาจเป็นทางเลือกการตรวจที่ดีสำหรับคนไข้ที่มีปัญหากับเครื่องวัดลานสายตาอัตโนมัติเพราะมีปัญหาการมองตรงที่ ๆ เดียว หรือมีปัญหาทางประชาน/สติปัญญาอื่น ๆ

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение