Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การวัดความอิ่มตัวออกซิเจนจากชีพจร
Pulse oximetry | |
---|---|
การวินิจฉัยทางการแพทย์ | |
การวัดความอิ่มตัวออกซิเจนด้วยเครื่องวัดปลายนิ้ว
| |
เป้าหมาย | Monitoring a person's oxygen saturation |
การวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากชีพจร (อังกฤษ: pulse oximetry) เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถวัดความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบิน (oxygen saturation) แบบไม่รุกล้ำร่างกาย การอ่านค่าความอิ่มตัวออกซิเจนจากส่วนปลาย (SpO2) มักให้ความแม่นย่ำอยู่ที่ประมาณ 2% เมื่อเทียบกับการอ่านค่าความอิ่มตัวออกซิเจนของฮีโมโกลบินจากการตรวจเลือดแดง (SaO2) ซึ่งถือเป็นการวัดแบบมาตรฐาน การวัดทั้งสองวิธีนี้มีความสอดคล้องกันมากเพียงพอที่จะใช้การวัด SpO2 ด้วยเครื่องวัดแบบใช้ชีพจร เป็นการตัดสินใจให้หรือไม่ให้การรักษาทางการแพทย์ได้
การวัดความอิ่มตัวออกซิเจนจากชีพจรที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดคือการวัดแบบส่องผ่าน (transmissive) โดยตัววัดจะถูกวางบนร่างกายส่วนที่บางพอให้แสงส่องผ่านได้ เช่น ปลายนิ้ว ติ่งหู หรือฝ่ามือฝ่าเท้าของทารก อุปกรณ์วัดจะมีด้านหนึ่งที่ส่งแสงสองความยาวคลื่นออกมาเพื่อให้แสงนี้ทะลุผ่านร่างกายไปยับตัวรับแสงที่อยู่อีกด้าน ซึ่งจะวัดการดูดกลืนช่วงแสงที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเต้นของชีพจร สามารถคำนวณแยกส่วนที่เป็นการดูดกลืนช่วงแสงที่มาจากเลือดแดง และแยกเอาส่วนที่เป็นการดูดกลืนของเลือดดำ กระดูก ผิวหนัง เนื้อเยื่อต่างๆ ได้ และส่วนใหญ่จะแยกการดูดกลืนช่วงแสงของสีทาเล็บได้ด้วย
การวัดอีกแบบคือการวัดแบบสะท้อน (reflectance) ซึ่งมีที่ใช้จำกัดกว่า วิธีนี้ไม่จำเป็นต้องวัดที่ร่างกายส่วนที่บางพอให้แสงส่องผ่าน จึงสามารถใช้กับเท้า หน้าผาก หน้าอก ได้ อย่างไรก็ดีวิธีนี้ยังมีข้อจำกัดอยู่ที่หากร่างกายส่วนที่จะวัดมีเลือดดำคั่งหรือมีหลอดเลือดดำขยายอาจเกิดชีพจรในเลือดดำมากพอที่จะรบกวนการวัดค่าได้