Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การสมานแผล
บาดแผลถลอกที่ฝ่ามือ | ||||
จำนวนวันโดยประมาณหลังเกิดบาดแผล | ||||
0 | 2 | 17 | 30 |
การสมานแผล (อังกฤษ: wound healing, wound repair) เป็นกระบวนการซับซ้อนซึ่งผิวหนังหรืออวัยวะอื่นทำการซ่อมแซมตัวเองหลังจากได้รับบาดเจ็บ ในผิวหนังปกติ ชั้น epidermis และ dermis อยู่ในสมดุลสถิตตลอดเวลาเพื่อสร้างเกราะกำบังป้องกันร่างกายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เมื่อเกราะป้องกันนี้ถูกทำลายจะมีกระบวนการทางสรีรวิทยาปกติเพื่อทำการรักษาบาดแผลเกิดขึ้นทันที ตัวแบบคลาสสิกของการสมานแผลแบ่งออกเป็นสามหรือสี่ระยะซึ่งค่อนข้างซ้อนทับกัน ระยะที่ (1) คือระยะการหยุดของเลือด (hemostasis) ซึ่งนักวิชาการบางท่านไม่นับเป็นระยะ (2) การอักเสบ (inflammatory) (3) การเจริญ (proliferative) และ (4) การปรับรูปร่าง (remodeling) เมื่อเกิดมีการบาดเจ็บของผิวหนังจะมีเหตุการณ์ทางชีวเคมีอันซับซ้อนเกิดขึ้นเป็นขั้นตอนที่สอดรับกันอย่างดีเพื่อรักษาบาดแผล ภายในไม่กี่นาทีหลังได้รับบาดเจ็บเกล็ดเลือดจะมารวมตัวกันที่บริเวณบาดแผลเพื่อสร้างเป็น fibrin clot โดย clot นี้จะทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้เลือดไหล
ในระยะการอักเสบ แบคทีเรียและเศษเซลล์จะถูกจับกินและกำจัดทิ้ง มี factor หลายอย่างถูกปล่อยออกมาทำให้มีการย้ายที่และการแบ่งตัวของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระยะการเจริญ
ในระยะเจริญมีลักษณะเฉพาะคือการสร้างหลอดเลือดใหม่ (angiogenesis) การวางตัวของคอลลาเจน (collagen deposition) การสร้างเนื้อเยื่อแกรนูเลชัน (granulation tissue formation) การสร้างเนื้อเยื่อบุผิว (epithelialization) และการหดรั้งตัวของบาดแผล (wound contraction) ในการสร้างหลอดเลือดใหม่จะมีการสร้างหลอดเลือดขึ้นมาใหม่จากเซลล์เยื่อบุผิวหลอดเลือด ใน fibroplasia และ granulation tissue formation นั้นเซลล์ไฟโบรบลาสต์จะเจริญและสร้าง extracellular matrix ขึ้นมาใหม่โดยการหลั่ง collagen และ fibronectin ในขณะเดียวกันเยื่อบุผิวจะมีการสร้างเยื่อบุผิวขึ้นใหม่โดยเซลล์เยื่อบุผิวจะเจริญและ "คืบคลาน" มาอยู่เหนือก้นแผล เป็นการปกป้องเนื้อเยื่อที่กำลังสร้างขึ้นใหม่
ในการหดรั้งของบาดแผล บาดแผลจะมีขนาดเล็กลงเป็นผลจาก myofibroblast ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวที่ขอบแผลและหดตัวเองลงด้วยกระบวนการคล้ายคลึงกับการหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ เมื่อบทบาทของเซลล์เหล่านี้ยุติลงจะเกิดกระบวนการ apoptosis เพื่อทำลายตัวเอง
ในขั้นตอนการเจริญเต็มที่และปรับรูปร่างของบาดแผล collagen จะมีการปรับรูปร่างและจัดเรียงตำแหน่งใหม่ตามแนวแรงตึง เซลล์ที่หมดหน้าที่จะทำลายตัวเองด้วยกระบวนการ apoptosis
อย่างไรก็ดี กระบวนการเหล่านี้ซับซ้อนและเปราะบางอย่างมาก มีโอกาสถูกขัดจังหวะทำให้เกิดการล้มเหลวของการสมานแผลกลายเป็นบาดแผลที่ไม่หายเรื้อรังได้ ปัจจัยที่อาจมีส่วน เช่น เบาหวาน โรคหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง อายุมาก และการติดเชื้อ เป็นต้น
แหล่งข้อมูลอื่น
- Ingber D. How wounds heal and tumors form เก็บถาวร 2006-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Children's Hospital Boston research department.
- Mustoe T. 2005. Dermal ulcer healing: Advances in understanding. Presented at meeting: Tissue repair and ulcer/wound healing: molecular mechanisms,therapeutic targets and future directions. Paris, France, March 17-18, 2005. Accessed December 31, 2006.
- Revis D.R. and Seagel M.B. 2006. Skin, Grafts. Emedicine.com. Accessed December 31, 2006.
- Stillman R.M. 2006. Wound Care. Emedicine.com. Accessed December 31, 2006.
- Wilhelmi B.J. 2006. Wound Healing, widened and hypertrophic scars. Emedicine.com. Accessed December 31, 2006.
- Journal of Burns and Wounds [1] เก็บถาวร 2018-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Fibrogenesis & Tissue Repair, an online open access journal about chronic wound healing and fibrogenesis.
หลักพยาธิวิทยา |
โรค - การติดเชื้อ - การขาดเลือดเฉพาะที่ - การอักเสบ - การสมานแผล - เนื้องอก - โลหิตพลศาสตร์
การตายของเซลล์: การตายเฉพาะส่วน (Liquefactive necrosis, Coagulative necrosis, Caseous necrosis) - อะพอพโทซิส - Pyknosis - Karyorrhexis - Karyolysis การปรับตัวของเซลล์: การฝ่อ - การโตเกิน - การเจริญเกิน - การเจริญผิดปกติ - Metaplasia (Squamous, Glandular) การสะสมของสาร: สารสี (Hemosiderin, Lipochrome/Lipofuscin, เมลานิน) - Steatosis |
---|---|
พยาธิกายวิภาค | |
พยาธิวิทยาคลินิก |