Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

การหลั่งนอกช่องคลอด

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
การหลั่งนอกช่องคลอด
ความรู้พื้นฐาน
ประเภทการคุมกำเนิด ทางพฤติกรรม
เริ่มใช้ครั้งแรก ตั้งแต่สมัยโบราณ
อัตราการล้มเหลว (ในปีแรกของการใช้)
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง 4%
เมื่อใช้แบบทั่วไป 22%
การใช้
การย้อนกลับ ย้อนกลับได้
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้ ขึ้นอยู่กับการควบคุมตัวเอง การพักเพื่อปัสสาวะช่วยนำอสุจิออกจากท่อปัสสาวะได้
ระยะการพบแพทย์ ไม่มี
ข้อดีข้อเสีย
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ป้องกัน
บทความนี้เกี่ยวกับวิธีการคุมกำเนิด สำหรับความหมายอื่น ดูที่ การหลั่งนอก

การหลั่งนอกช่องคลอด หรือ การหลั่งนอก (อังกฤษ: coitus interruptus, withdrawal method) เป็น วิธีการคุมกำเนิด โดยการที่ฝ่ายชายถอนอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดขณะกำลังร่วมเพศ ก่อนที่จะถึงจุดสุดยอด และก่อนหลั่งน้ำอสุจิ จากนั้นจึงหลั่งน้ำอสุจินอกช่องคลอดเพื่อหลีกเลี่ยงการผสมเชื้อ

วิธีการคุมกำเนิดนี้ถูกใช้อย่างกว้างขวางมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่าสองพันปี และยังถูกใช้อยู่ในปัจจุบัน ในปีพ.ศ. 2534 มีคู่รักประมาณ 38 ล้านคู่ที่ใช้วิธีนี้เพื่อคุมกำเนิด การหลั่งนอกช่องคลอดนั้นไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  (STIs/STDs) ได้

ประวัติ

เป็นไปได้ว่าเอกสารที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับการหลั่งนอกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ถูกบันทึกอยู่ในเรื่องของโอนาน  (Onan) ในชุดคัมภีร์โทราห์ โดยคาดว่าข้อความนี้ถูกเขียนขึ้นเป็นเวลามากกว่า 2,500 ปีแล้ว สังคมในอารยธรรมและกรีซโบราณและจักรวรรดิโรมัน นิยมมีครอบครัวขนาดเล็ก และเป็นที่รู้จักในการใช้วิธีการคุมกำเนิดหลากหลายวิธี มีหลายเอกสารอ้างอิงที่ทำให้นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าบางครั้งการหลั่งนอกถูกใช้เพื่อคุมกำเนิด อย่างไรก็ตาม สังคมเหล่านี้เห็นว่าการคุมกำเนิดเป็นความรับผิดชอบของผู้หญิง และเอกสารเกี่ยวกับการคุมกำเนิดที่ถูกบันทึกส่วนใหญ่ล้วนเป็นวิธีที่ควบคุมโดยผู้หญิง (ทั้งแบบที่อาจได้ผล เช่น วงแหวนพยุงในช่องคลอด  (pessaries) และแบบที่ไม่ได้ผล เช่น เครื่องราง)

หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในช่วงศตวรรษที่ 5 หลักปฏิบัติด้านการคุมกำเนิดไม่ได้ถูกใช้ในยุโรป ยกตัวอย่างเช่น การใช้วงแหวนพยุงในช่องคลอดไม่ได้อยู่ในบันทึกจนศตวรรษที่ 15 หากการหลั่งนอกถูกใช้ในจักรวรรดิโรมัน ความรู้เกี่ยวกับหลักปฏิบัติอาจสูญหายไปเมื่อจักรวรรดิล่มสลาย

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 จนถึงการพัฒนาของวิธีการสมัยใหม่ การหลั่งนอกเป็นวิธีทีการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมที่สุดในทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาเหนือ รวมถึงที่อื่น ๆ

ผลกระทบ

เช่นเดียวกับการคุมกำเนิดรูปแบบอื่น การหลั่งนอกจะให้ผลที่เชื่อถือได้ต่อเมื่อถูกใช้อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอเท่านั้น อัตราการล้มเหลวของวิธีแปรผันตามประชากรที่ถูกศึกษา โดยผลวิจัยพบว่าอัตราความล้มเหลวเมื่อใช้จริงอยู่ที่ 15–28% ต่อปี. เทียบกับยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งมีอัตราล้มเหลวเมื่อใช้จริงที่ 2–8% ขณะที่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (Intrauterine device หรือ IUD) มีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 0.8% ถุงยางอนามัยมีอัตราการล้มเหลวอยู่ที่10–18 อย่างไรก็ตาม นักวิจัยบางคนกล่าวว่าการหลั่งนอกอาจให้ประสิทธิผลใกล้เคียงกับการใช้ถุงยางอนามัย และเรื่องนี้ต้องการการวิจัยเพิ่มเติม

สำหรับคู่รักที่ใช้การหลั่งนอกอย่างถูกต้องทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ อัตราการล้มเหลวอยู่ที่ 4% ต่อปี ขณะที่ยาเม็ดคุมกำเนิดมีอัตราอยู่ที่ 0.3% และห่วงอนามัยคุมกำเนิดที่ 0.6% ส่วนถุงยางอนามัยอยู่ที่ 2%

แม้น้ำหล่อลื่น  (pre-ejaculate หรือ Cowper's fluid) ซึ่งออกมาจากอวัยวะเพศก่อนการหลั่งน้ำอสุจิจะถูกเสนอว่า โดยทั่วไปแล้วมีตัวอสุจิ (spermatozoa) ผสมอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิผลของวิธีการนี้ ทว่างานวิจัยเล็ก ๆ หลายงาน รายงานผลว่าไม่พบตัวอสุจิในน้ำหล่อลื่น ขณะนี้ยังไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจนเรื่องนี้ ทว่าหลายคนเชื่อว่า ต้นเหตุของการล้มเหลวจากการปฏิบัติตามวิธีอย่างถูกต้องเกิดจาก ตัวอสุจิที่ค้างอยู่จากการหลั่งน้ำครั้งก่อน ซึ่งออกมากลับน้ำหล่อลื่น ด้วยเหตุผลนี้ ฝ่ายชายจึงถูกแนะนำให้ถ่ายปัสสาวะหลังหลั่งน้ำอสุจิ เพื่อกำจัดอสุจิที่อาจติดอยู่ในท่อปัสสาวะ นอกจากนี้ยังควรล้างสิ่งที่อาจต้องนำไปใกล้ช่องคลอด เช่น มือและอวัยวะเพศ

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้เสนอว่าสิ่งนี้อาจไม่ถูกต้อง งานวิจัยในทางตรงกันข้ามซึ่งยังไม่อาจวางนัยทั่วไปได้ พบหลักฐานที่ผสมกัน รวมไปถึงบางกรณีซึ่งพบอสุจิจำนวนมาก ถูกตีพิมพ์เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 มีการกล่าวถึงข้อจำกัดของงานวิจัยก่อนหน้านี้ว่า น้ำหล่อลื่นที่ถูกตรวจสอบหลังเวลาสองนาที โดยการมองหาตัวอสุจิที่ยังเคลื่อนไหวในน้ำหล่อลื่นจำนวนไม่มากบนกล้องจุลทรรศน์หลังผ่านไปสองนาที ขณะที่ตัวอย่างส่วนใหญ่อาจแห้งแล้ว ทำให้การตรวจสอบและการวัดผล เป็นไปได้ยากมาก ดังนั้น ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 กลุ่มนักวิจัยรวมรวมอาสาสมัครชายจำนวน 27 คน และวัดตัวอย่างน้ำหล่อลื่นของพวกเขาภายในเวลาสองนาทีหลังการหลั่ง นักวิจัยพบว่าชาย 11 คนจากทั้งหมด 27 คน (41%) หลั่งน้ำหล่อลื่นซึ่งมีส่วนผสมของตัวอสุจิ และในนี้มี 10 ตัวอย่าง (37%) ซึ่งมีจำนวนอสุจิที่เคลื่อนที่ได้อยู่มากพอสำควร (ตั้งแต่ 1 ล้านถึง 35 ล้านตัว) งานวิจัยนี้จึงแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธเพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจและการติดโรค เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ งานวิจัยเผยว่าในหมู่คู่สามีภรรยาซึ่งตั้งครรภ์ภายในปีแรกที่พยายาม มีเพียง 2.5% เท่านั้นที่มีจำนวนตัวอสุจิน้อยกว่า 23 ล้านตัว ต่อการหลั่ง ทว่าข้อมูลตัวเลขหลายแห่งเผยว่า จำนวนตัวอสุจิ (รวมไปถึงรูปแบบการระบุลักษณะของตัวอสุจิอื่น ๆ)  ไม่อาจทำนายการตั้งครรภ์ของคู่รักได้อย่างแม่นยำ

หลายคนเชื่อว่าการถ่ายปัสสาวะหลังการหลั่งน้ำอสุจิสามารถล้างตัวอสุจิที่ค้างอยู่ออกจากท่อปัสวะได้ ผู้รับการทดลองในงานวิจัยที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 บางคนซึ่งได้ทำการปัสสาวะ (บางคนมากกว่าหนึ่งครั้ง) ก่อนการหลั่งน้ำหล่อลื่น ทว่ายังคงพบตัวอสุจิในตัวอย่าง ดังนั้น ผู้ชายบางคนสามารถหลั่งน้ำหล่อลื่นซึ่งมีส่วนผสมของตัวอสุจิได้ โดยไม่ได้หลั่งน้ำอสุจิมาก่อนหน้า

ข้อดี

ข้อดีของการหลั่งนอกอยู่ที่การที่คนซึ่งคัดค้าน หรือไม่อาจเข้าถึงการคุมกำเนิดแบบอื่น สามารถใช้ได้ บางคนให้ความนิยมกับวิธีนี้เนื่องจากไม่มีผลกระทบกับฮอร์โมน และยังสามารถทำให้ได้รับประสบการณ์ที่เต็มที่ และ "รู้สึก" ถึงคู่นอนได้มากกว่า อีกเหตุผลที่วิธีนี้ได้รับความนิยมได้แก่ การที่เป็นวิธีที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องการอุปกรณ์เพิ่มเติม ไม่มีผลทางกายภาพ และสามารถทำได้โดยปราศจากใบสั่งหรือคำแนะนำทางการแพทย์ และยังไม่กีดขวางการกระตุ้น

ข้อเสีย

การหลั่งนอกมีประสิทธิผลน้อยกว่า เมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดที่ย้อนกลับได้แบบทั่วไป เช่น ห่วงอนามัยคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิด และถุงยางอนามัย ดังนั้น วิธีนี้จึงอาจมีความคุ้นค่าน้อยกว่าวิธีอื่น แม้วิธีนี้จะไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้ใช้อาจมีโอกาสมีลูก หรือต้องจ่ายค่าทำแท้งแทน มีเพียงแบบจำลองซึ่งสมมุติว่าคู่รักทุกคู่ปฏิบัติตามวิธีอย่างสมบูรณ์แบบเท่านั้น ที่ชี้ว่าการใช้วิธีหลั่งนอกเพื่อคุมกำเนิด ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

การหลั่งนอกไม่ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์  (STIs/STDs) เช่น เอชไอวี ด้วยความที่น้ำหล่อลื่น อาจมีส่วนผสมของไวรัสหรือแบ็กทีเรียที่อาจเป็นตัวแพร่เชื้อ หากได้สัมผัสกับเยื่อบุผิว อย่างไรก็ตาม การลดปริมาณของการแลกเปลี่ยนสารน้ำในร่างกายระหว่างการร่วมเพศอาจลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อ เมื่อเทียบกับการหลั่งใน ด้วยความที่จำนวนเชื้อโรคมีน้อยกว่า

ความแพร่หลาย

ข้อมูลจากแบบสำรวจในช่วงก่อนปีพ.ศ. 2543 3% สตรีในวัยที่มีบุตรได้ทั่วโลกใช้วิธีการหลั่งนอกเป็นวิธีหลักในการคุมกำเนิด ความนิยมมีความแตกต่างในแต่ละพื้นที่ตั้งแต่ 1% ในทวีปแอฟริกา ไปจนถึง 16% ในแถบเอเชียตะวันตก

ในสหรัฐ งานวิจัยชี้ว่า 56% ของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ เคยมีคู่นอนที่ใช้การหลั่งนอก ในพ.ศ. 2545 มีเพียง 2.5% เท่านั้นที่ใช้การหลั่งนอกเป็นวิธีหลักในการคุมกำเนิด

ดูเพิ่ม


Новое сообщение