Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
การอักเสบ
การอักเสบ (อังกฤษ: Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลาย ๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่น ๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง
หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด
การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่าง ๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอักเสบ
สาเหตุ
- แผลไหม้ (Burns)
- การระคายเคืองจากสารเคมี (Irritation)
- โรคความเย็นกัด (Frostbite)
- สารพิษ (Toxins)
- การติดเชื้อจากจุลชีพก่อโรค (Infection by pathogens)
- การตายเฉพาะส่วน (Necrosis)
- การบาดเจ็บทางกายภาพ การช้ำ หรือบาดแผล (Physical injury, blunt or penetrating)
- การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันแบบภาวะภูมิไวเกิน (hypersensitivity)
- รังสีแตกตัว (Ionizing radiation)
- สิ่งแปลกปลอม (Foreign bodies) เช่น เศษดิน
ชนิดของการอักเสบ
ตารางเปรียบเทียบการอักเสบฉับพลันและเรื้อรัง
เฉียบพลัน | เรื้อรัง | |
---|---|---|
สิ่งที่เป็นสาเหตุ | จุลชีพก่อโรค เนื้อเยื่อที่รับบาดเจ็บ | การอักเสบแบบเฉียบพลันที่ยังไม่หาย เนื่องจากกำจัดเชื้อจุลชีพไม่ได้ ยังมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ หรือปฏิกิริยาภูมิต้านตัวเอง |
เซลล์หลักที่เกี่ยวข้อง | นิวโตรฟิล, เซลล์โมโนนิวเคลียร์ (โมโนไซต์, แมโครฟาจ) | เซลล์โมโนนิวเคลียร์ (โมโนไซต์, แมโครฟาจ, ลิมโฟไซต์, พลาสมาเซลล์) , ไฟโบรบลาสต์ |
สารตัวกลางหลัก | วาโซแอคทีฟเอมีน, ไอโคซานอยด์ | อินเตอร์เฟียรอน-แกมมา และไซโตไคน์อื่น ๆ, โกรท แฟคเตอร์, อนุพันธ์ออกซิเจนที่ว่องไว, เอนไซม์ไฮโดรไลติก |
ระยะเริ่มมีอาการ | ทันที | ช้านาน |
ระยะเวลา | ไม่กี่วัน | นานหลายเดือนหรือเป็นปี |
ผลหลังการอักเสบ | หายเป็นปกติ, เกิดฝี, ดำเนินเป็นการอักเสบชนิดเรื้อรัง | การทำลายเนื้อเยื่อ, ภาวะเกิดพังผืด |
ดูเพิ่ม
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: การอักเสบ |
หลักพยาธิวิทยา |
โรค - การติดเชื้อ - การขาดเลือดเฉพาะที่ - การอักเสบ - การสมานแผล - เนื้องอก - โลหิตพลศาสตร์
การตายของเซลล์: การตายเฉพาะส่วน (Liquefactive necrosis, Coagulative necrosis, Caseous necrosis) - อะพอพโทซิส - Pyknosis - Karyorrhexis - Karyolysis การปรับตัวของเซลล์: การฝ่อ - การโตเกิน - การเจริญเกิน - การเจริญผิดปกติ - Metaplasia (Squamous, Glandular) การสะสมของสาร: สารสี (Hemosiderin, Lipochrome/Lipofuscin, เมลานิน) - Steatosis |
---|---|
พยาธิกายวิภาค | |
พยาธิวิทยาคลินิก |