การเจาะเยื่อไครโคไทรอยด์ (อังกฤษ: cricothyrotomy, thyrocricotomy, cricothyroidotomy, inferior laryngotomy, intercricothyrotomy, coniotomy, emergency airway puncture) เป็นหัตถการทางการแพทย์อย่างหนึ่งทำโดยผ่าเปิดผิวหนังและเยื่อไครโคไทรอยด์ให้เป็นช่องเพื่อให้อากาศสามารถผ่านเข้าสู่หลอดลมได้ ส่วนใหญ่ทำในภาวะฉุกเฉินที่ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจตามทางหายใจปกติเช่นจมูกหรือปากได้ เช่น มีการอุดตันของทางเดินหายใจจากสิ่งแปลกปลอม อาการแพ้จนใบหน้าและปากบวม การบาดเจ็บของใบหน้าอย่างรุนแรง การเจาะเยื่อไครโคไทรอยด์นี้ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดทำเป็นทางเลือกสุดท้ายในการเปิดทางหายใจในกรณีที่การใส่ท่อช่วยหายใจทางปากหรือทางจมูกล้มเหลวหรือมีข้อห้าม นอกจากนี้การเจาะเยื่อไครโคไทรอยด์ยังทำได้เร็วกว่าการเจาะคอ ไม่จำเป็นต้องทำให้เสี่ยงต่อการเกิดการเคลื่อนของกระดูกสันหลังส่วนคอ และมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า อย่างไรก็ดีแม้การเจาะเยื่อไครโคไทรอยด์จะสามารถช่วยชีวิตในช่วงเวลาหน้าสิ่วหน้าขวานได้แต่จุดประสงค์ก็ยังคงเป็นไปเพื่อยื้อเวลารักษาชีวิตผู้ป่วยเอาไว้จนกว่าจะสามารถทำช่องทางหายใจที่ถาวรกว่าได้อยู่ดี
ข้อบ่งชี้
- ไม่สามารถใส่ท่อช่วยหายใจได้ (can't intubate)
- ไม่สามารถช่วยหายใจโดยไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจได้ (can't ventilate)
- มีการบาดเจ็บต่อใบหน้าหรือโพรงจมูกอย่างมาก (จนไม่สามารถใส่ท่อช่วยหายใจทางปากหรือทางจมูกได้)
- มีการบาดเจ็บต่อใบหน้าส่วนกลางอย่างมาก
- มีเหตุควรสงสัยว่ามีการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังส่วนคอจนไม่สามารถช่วยหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- แพ้รุนแรง
- มีการบาดเจ็บจากการสูดสำลักสารเคมี
|
Ectomy |
|
|
|
|
|
cns ( Decompressive craniectomy, Hemispherectomy, Anterior temporal lobectomy, Hypophysectomy, Amygdalohippocampectomy, Laminectomy, Corpectomy, Facetectomy) · pns ( Ganglionectomy, Sympathectomy/ Endoscopic thoracic sympathectomy, Neurectomy) · ear ( Stapedectomy, Mastoidectomy) · eye ( Photorefractive keratectomy, Trabeculectomy, Iridectomy, Vitrectomy) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Ungrouped |
|
|
Stomy |
Gastrointestinal |
|
Urogenital |
|
Nervous system |
|
|
Otomy |
Urogenital |
|
Nervous system |
|
Musculoskeletal |
|
Gastrointestinal |
|
Respiratory |
|
Cardiovascular |
|
Ungrouped |
|
|