Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

การโคลน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ดอกไม้ทะเลชนิด Anthopleura elegantissima กำลังโคลน

การโคลน (อังกฤษ: cloning) ในทางชีววิทยา หมายถึง กระบวนการผลิตประชากรที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันซึ่งเกิดขึ้นในธรรมชาติเมื่อสิ่งมีชีวิต เช่น แบคทีเรีย แมลงหรือพืชสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ การโคลนในทางเทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการสร้างสำเนาส่วนดีเอ็นเอ (การโคลนโมเลกุล), เซลล์ (การโคลนเซลล์) หรือสิ่งมีชีวิต คำว่า "การโคลน" ยังหมายถึงการผลิตสำเนาของผลิตภัณฑ์ เช่น สื่อดิจิตอลหรือซอฟต์แวร์ ขึ้นเป็นจำนวนมาก

คำว่า "โคลน" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า κλών (klōn, “กิ่ง”) โดยหมายถึง ขั้นตอนซึ่งพืชต้นใหม่สามารถถูกสร้างขึ้นจากกิ่งได้ โดยสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการโคลนตัวแรกของโลกก็คือ "แกะ" ชื่อว่าดอลลี่

ประวัติการโคลน

ความจริงแล้วการโคลนนิ่ง (Cloning)นั้น มนุษย์สามารถที่จะทำได้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ซึ่งเป็นการโคลนนิ่ง (Cloning) ที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีที่สลับซับซ้อนอะไรมากมาย นั่นคือ การโคลนนิ่ง(Cloning)ที่ทำกับพืชนั่นเอง หรือคือ การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัยเพศของพืช ที่เรียกกันว่า “การเพาะชำพืช” ซึ่งเรื่องการโคลนนิ่ง(Cloning) ของสัตว์และมนุษย์ก็เป็นเรื่องของการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเช่นกัน โดยต่อมาการโคลนนิ่งพืช ก็ได้มีการพัฒนาโดยนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย อย่างเช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช นั่นเอง

ส่วนด้านการโคลนนิ่งสัตว์นั้น ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2423 (ค.ศ.1880) โดยการทดลองค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการโคลนนิ่ง (Cloning)ได้เกิดขึ้นมาเป็นลำดับ ซึ่งอาจมีการทิ้งช่วงไปบ้าง โดยการเริ่มต้นการทำโคลนนิ่งสัตว์ได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 50 ประมาณปีพ.ศ. 2495 (ค.ศ.1952) โดยนักชีววิทยาชาวอเมริกัน 2 คน คือ โรเบิร์ต บริกกส์ (Robert W. Briggs) และ โทมัส คิง (Thomas J. King) แห่งสถาบันการวิจัยมะเร็งในฟิลาเดลเฟีย ทั้ง 2 ได้ร่วมทำการทดลองเกี่ยวกับการโคลนนิ่งสัตว์กับกบและได้เป็นกลุ่มคนที่ได้เริ่มทำการโคลนนิ่ง(Cloning)ด้วยวิธีการถ่ายฝากนิวเคลียส (Nuclear Transfer) โดยอาศัย เทคนิคที่พัฒนามาโดย Sperman ซึ่งได้กลายเป็นวิธีการที่ทำการโคลนนิ่ง(Cloning) ที่ใช้กันทั่วไปในช่วงเวลานั้น แต่เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ในปีพ.ศ. 2540 (ค.ศ.1997) Wilmut และคณะ ได้ทำการโคลนนิ่ง(Cloning)แกะชื่อ ดอลลี่ (Dolly) ด้วยนิวเคลียส(Nucleus)จากเซลล์เต้านมของแกะซึ่งเป็นเซลล์ร่างกาย(Somatic Cell)ได้ประสบความสำเร็จ ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญทำให้การโคลนนิ่ง(Cloning)เกิดความเจริญก้าวหน้า

ประวัติการโคลนนิ่งในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้น มีความรู้และทำสิ่งที่เป็นพื้นฐานการโคลนนิ่ง(Cloning)อยู่แล้ว อย่าง การถ่ายฝากตัวอ่อน การผสมเทียม การผลิตตัวอ่อนในหลอดแก้ว แต่นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยยังมีประสบการณ์ทางด้านการโคลนนิ่ง(Cloning)อยู่น้อยกว่าต่างประเทศมาก ทำให้การวิจัยการโคลนนิ่ง(Cloning)ในประเทศไทยพัฒนาไปได้ช้า

แต่ถึงอย่างนั้น ประเทศไทยก็สามารถทำการโคลนนิ่ง(Cloning)ได้สำเร็จคนแรกโดย ศาสตราจารย์มณีวรรณ กมลพัฒนะ ได้นำเซลล์ใบหูของ โคแบรงกัสเพศเมียมาเป็นเซลล์ต้นแบบ ทำให้เกิดลูกโคโคลนนิ่งตัวแรกของประเทศไทย มีชื่อว่า “อิง” เป็นลูกโคสีดำ เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งถือเป็นลูกโคโคลนนิ่งตัวแรกของประเทศไทยและเอเชียอาคเนย์ รายที่ 3 ของเอเชีย และรายที่ 6 ของโลก โดยได้ทำการโคลนนิ่ง(Cloning)ต่อจาก ญี่ปุ่น อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน และเกาหลี


Новое сообщение