Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
กิ้งก่ามอนิเตอร์
กิ้งก่ามอนิเตอร์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีน ถึง ปัจจุบัน | |
---|---|
Lace monitor (Varanus varius) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน |
อันดับ: | กิ้งก่าและงู |
วงศ์: | เหี้ย |
สกุล: |
Varanus Merrem, 1820 |
ชนิดต้นแบบ | |
Varanus varius Shaw, 1790 | |
สกุลย่อย | |
| |
รวมการกระจายของกิ้งก่ามอนิเตอร์ทั้งหมด |
กิ้งก่ามอนิเตอร์ (อังกฤษ: Monitor lizard) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับกิ้งก่าและงู (Squamata) สกุลหนึ่ง ในวงศ์เหี้ย (Varanidae) ในวงศ์ย่อย Varaninae โดยใช้ชื่อสกุลว่า Varanus (/วา-รา-นัส/) ซึ่งคำ ๆ นี้มีที่มาจากภาษาอาหรับคำว่า "วารัล" (ورل) ซึ่งแปลงเป็นภาษาอังกฤษได้หมายถึง "เหี้ย" หรือ "ตะกวด"
จัดเป็นเพียงสกุลเดียวในวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสกุลอื่น ๆ ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยกำเนิดมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่อย่างโมซาซอร์และงู มีลักษณะโดยรวมคือ กระดูกพอเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน มีกระดูกอยู่ในถุงอัณฑะ และมีตาที่สาม
มีขนาดความยาวแตกต่างหลากหลายกันไป ตั้งแต่มีความยาวเพียง 12 เซนติเมตร คือ ตะกวดหางสั้น (V. brevicauda) ที่พบในพื้นที่ทะเลทรายของประเทศออสเตรเลีย และใหญ่ที่สุด คือ มังกรโคโมโด (V. komodoensis) ที่พบได้เฉพาะหมู่เกาะโคโมโด ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ที่มีความยาวได้ถึง 3.1 เมตร และจัดเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดของวงศ์นี้และอันดับกิ้งก่าและงู โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เมกะลาเนีย (V. priscus) ที่มีความยาวถึง 6 เมตร แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ปัจจุบันพบได้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ออสเตรเลีย
มีส่วนหัวเรียวยาว คอยาว ลำตัวยาวและหางเรียวยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนพื้นดิน แต่มีบางชนิดมีพฤติกรรมที่อาศัยอยู่บนต้นไม้มากกว่า หลายชนิดดำรงชีวิตแบบสะเทินน้ำสะเทินบกและมีหางแบนข้างมากสำหรับใช้ในการว่ายน้ำ ส่วนมากเป็นสัตว์หากินในเวลากลางวัน เป็นสัตว์กินเนื้อที่ล่าเหยื่อด้วยฟันที่ยาวโค้งแหลมคมและมีขากรรไกรแข็งแรง กินอาหารได้หลากหลายทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงซากสัตว์ด้วย โดยในทางชีววิทยาจัดเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเนื่องเป็นผู้สิ่งปฏิกูล กำจัดซากสิ่งแวดล้อม กิ้งก่ามอนิเตอร์ทุกชนิดสืบพันธุ์ด้วยการวางไข่
พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ทั้งซับสะฮารา, จีน, เอเชีย และคาบสมุทรอินโดออสเตรเลียนไปจนถึงออสเตรเลีย
การจำแนก
ปัจจุบันจำแนกออกได้ประมาณ 78 ชนิด โดยแบ่งออกเป็นหลายสกุลย่อยรวมถึงหลายชนิดย่อย โดยในประเทศไทยพบ 4 ชนิด
- † หมายถึงชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
สกุลย่อย Empagusia:
-
V. bengalensis, ตะกวด หรือ แลน (เป็นชนิดที่พบในประเทศไทย)
- V. b. bengalensis, ตะกวดเหนือ
- V. b. nebulosus หรือ E. nebulosus, ตะกวดใต้ หรือ ตะกวดลายเมฆ
- V. dumerilii, ตุ๊ดตู่ (เป็นชนิดที่พบในประเทศไทย)
- V. flavescens, ตะกวดเหลือง หรือ แลนดอน (เป็นชนิดที่พบในภูมิภาคเอเชียใต้ และเคยมีรายงานพบในประเทศไทยด้วย)
- V. rudicollis, เห่าช้าง
สกุลย่อย Euprepiosaurus:
- V. beccarii, ตะกวดต้นไม้สีดำ
- V. boehmei, ตะกวดต้นไม้จุดสีทอง
- V. bogerti, ตะกวดต้นไม้โบเกิร์ต
- V. caerulivirens, ตะกวดเทอร์ควอยส์
- V. cerambonensis, ตะกวดเซรัม
- V. doreanus, ตะกวดหางสีน้ำเงิน
- V. finschi, ตะกวดฟินช์
- V. indicus, ตะกวดป่าชายเลน
- V. jobiensis
- V. juxtindicus
- V. keithhornei
- V. kordensis
- V. macraei, ตะกวดต้นไม้จุดสีน้ำเงิน
- V. melinus, ตะกวดควินซ์
- V. lirungensis, ตะกวดป่าชายเลนทาเลอด์
- V. obor, ตะกวดซาโก
- V. prasinus, ตะกวดต้นไม้สีมรกต
- V. rainerguentheri ตะกวดกันเธอร์ไรเนอร์
- V. reisingeri, ตะกวดต้นไม้ไรซิงเกอร์
- V. telenesetes, ตะกวดต้นไม้รัสเซลล์
- V. yuwonoi, ตะกวดต้นไม้สามสี
- V. zugorum, ตะกวดต้นไม้สีเงิน
สกุลย่อย Odatria:
-
V. acanthurus, ตะกวดหางสัน
- V. a. acanthurus
- V. a. brachyurus
- V. a. insulanicus, ตะกวดหางสันเกาะ
- V. auffenbergi, ตะกวดนกยูง
- V. baritji, ตะกวดแคระขาว
- V. brevicauda, ตะกวดหางสั้น หรือ ตะกวดแคระ
- V. bushi, ตะกวดบุช
- V. caudolineatus, ตะกวดหางแถบ
- V. eremius, ตะกวดทะเลทรายแคระ
- V. gilleni, ตะกวดแคระมูลกา
- V. glauerti, ตะกวดหินคิมเบอร์ลีย์
- V. glebopalma, ตะกวดสนธยา
- V. hamersleyensis
- V. kingorum
- V. mitchelli
- V. pilbarensis
- V. primordius
- V. scalaris
- V. semiremex
- V. similis, ตะกวดต้นไม้จุด
- V. sparnus
-
V. storri
- V. s. storri
- V. s. ocreatus
- V. timorensis, ตะกวดติมอร์
-
V. tristis, ตะกวดหัวดำ
- V. t. orientalis
สกุลย่อย Papusaurus:
- V. salvadorii, ตะกวดจระเข้
สกุลย่อย Philippinosaurus:
- V. bitatawa, ตะกวดบิตาตาวา
- V. mabitang
- V. olivaceus, ตะกวดสีเทา
สกุลย่อย Polydaedalus:
-
V. albigularis, ตะกวดคอขาว
- V. a. albigularis
- V. a. angolensis
- V. a. microstictus
- V. exanthematicus
- V. niloticus, ตะกวดแม่น้ำไนล์
- V. ornatus, ตะกวดออเนต
- V. yemenensis, ตะกวดเยเมน
สกุลย่อย Psammosaurus:
- †V. darevskii (สูญพันธุ์)
-
V. griseus, ตะกวดทะเลทราย
- V. g. griseus
- V. g. caspius
- V. g. koniecznyi
- V. nesterovi
สกุลย่อย Soterosaurus:
- V. cumingi, เหี้ยหัวเหลือง
- V. samarensis
- V. marmoratus, เหี้ยฟิลิปปินส์
- V. nuchalis, เหี้ยหัวขาว หรือ เหี้ยเกล็ดใหญ่
- V. palawanensis เหี้ยปาลาวัน
- V. rasmusseni
-
V. salvator, เหี้ย (เป็นชนิดที่พบในประเทศไทย และเป็นชนิดที่พบได้หลากหลายที่สุด)
- V. s. salvator, เหี้ยศรีลังกา
- V. s. andamanensis, เหี้ยอันดามัน
- V. s. bivittatus, เหี้ยชวา หรือ เหี้ยสองแถบ
- V. s. macromaculatus, เหี้ยดำ หรือ มังกรดำ
- V. s. ziegleri, เหี้ยซิกเลอร์
- V. togianus
- V. dalubhasa
- V. bangonorum, เหี้ยมินโดโร
สกุลย่อย †Varaneades:
สกุลย่อย Varanus:
- V. giganteus, พาเรนทิน
- V. gouldii, ตะกวดทราย
- V. komodoensis, มังกรโคโมโด
- V. mertensi
-
V. panoptes
- V. p. panoptes
- V. p. horni
- V. p. rubidus, ตะกวดจุดเหลือง
- †V. priscus, เมกะลาเนีย (สูญพันธุ์)
- V. rosenbergi, ตะกวดโรเซนเบิร์ก
- V. spenceri, ตะกวดสเปนเซอร์
- V. varius
ชนิดที่ยังไม่ได้จัดลำดับ:
- V. spinulosus, ตะกวดหางหนามเกาะโซโลมอน
แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Varanus |
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Varanus ที่วิกิสปีชีส์