Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ข้ออักเสบ
ข้ออักเสบ (Arthritis) | |
---|---|
มือที่มีข้ออักเสบ
| |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | M00-M25 |
ICD-9 | 710-719 |
DiseasesDB | 15237 |
MedlinePlus | 001243 |
eMedicine | topic list |
MeSH | D001168 |
ข้ออักเสบ (อังกฤษ: Arthritis) เป็นกลุ่มของภาวะที่เกิดการทำลายข้อต่อของร่างกาย ข้ออักเสบมีได้มากกว่าร้อยรูปแบบ โดยรูปแบบที่พบมากที่สุดคือข้อเสื่อม (osteoarthritis) ซึ่งเกิดจากการบาดเจ็บของข้อต่อ การติดเชื้อของข้อและอายุ ส่วนข้ออักเสบรูปแบบอื่นเช่นข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคข้อสะเก็ดเงิน จากภาวะภูมิต้านตนเอง ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคเกาต์ซึ่งเกิดจากการสะสมของผลึกกรดยูริกในข้อและทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังมีการสะสมของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตซึ่งเรียกว่า โรคเกาต์เทียม
ประวัติและการตรวจร่างกาย
โรคข้ออักเสบทั้งหมดจะมาด้วยอาการปวด ซึ่งรูปแบบการปวดจะแตกต่างกันตามชนิดของข้ออักเสบและตำแหน่ง ข้ออักเสบรูมาตอยด์มักมีอาการปวดตอนเช้า ในระยะแรกผู้ป่วยมักบอกว่าอาการปวดหายไปหลังจากอาบน้ำตอนเช้า ในผู้สูงอายุหรือเด็กอาจไม่ได้มาด้วยอาการปวด เพราะผู้สูงอายุมักขยับร่างกายได้น้อย ส่วนในเด็กเล็กผู้ป่วยจะปฏิเสธที่จะใช้แขนขาข้างที่เป็น
ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยช่วยบอกการวินิจฉัยโรคได้ โดยลักษณะสำคัญคือเวลาและความเร็วขณะเกิดอาการ รูปแบบของข้อที่เกี่ยวข้อง ความสมมาตร อาการปวดข้อตอนเช้า ความรู้สึกข้อตึงยึดหรือล็อกเมื่อไม่ได้ทำกิจกรรม ปัจจัยที่กระตุ้นหรือทุเลาอาการ และอาการในระบบอื่นๆ การตรวจร่างกายจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยหรืออาจบ่งถึงโรคทางกายอื่นที่ทำให้เกิดอาการที่ข้อ ภาพถ่ายรังสีมักใช้เพื่อติดตามอาการหรือประเมินความรุนแรงของโรค
การตรวจเลือดและเอกซเรย์ที่ข้อที่เป็นมักทำเพื่อให้ได้การวินิจฉัยแน่นอน การตรวจเลือดทำเมื่อสงสัยข้ออักเสบบางอย่าง อาทิ รูมาตอยด์ แฟกเตอร์, แอนตินิวเคลียร์แฟกเตอร์ (ANF) และแอนติบอดีจำเพาะอื่น
ชนิดของข้ออักเสบ
- ข้ออักเสบปฐมภูมิ
- ข้ออักเสบทุติยภูมิ
- ลูปัส อีริทีมาโตซัส
- กลุ่มอาการเอห์เลอส์-แดนลอส
- ซาร์คอยโดซิส
- จ้ำเลือดฮีน็อช-เชินไลน์
- โรคข้อสะเก็ดเงิน
- โรคข้อแบบปฏิกิริยา
- ฮีโมโครมาโตซิส
- ตับอักเสบ
- วิจิเนอร์ แกรนูโลมาโตซิส (และกลุ่มอาการหลอดเลือดอักเสบอื่น)
- โรคไลม์
- ไข้เมดิเตอร์เรเนียนที่เป็นกันในครอบครัว
- Hyperimmunoglobulinemia D with recurrent fever
- TNF receptor associated periodic syndrome
- โรคลำไส้อักเสบ (รวมทั้งโรคโครห์นและลำไส้ใหญ่อักเสบแบบมีแผล)
- โรคที่มีอาการแสดงคล้ายข้ออักเสบ
การรักษา
วิธีการรักษาแตกต่างกันออกไปตามชนิดของข้ออักเสบ ได้แก่ กายภาพบำบัด การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โรคข้ออักเสบพบได้บ่อยในผู้สูงอายุและยังพบมากใน ผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย การรักษา เช่น การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนัก การใช้อุปกรณ์พยุง ยา และอาหารเสริม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อมักทำในข้ออักเสบที่มีการสึกกร่อน
โดยทั่วไปแล้วมีการศึกษาแสดงว่าการออกกำลังกายที่ข้อต่อที่เป็นสามารถทำให้อาการปวดทุเลาอย่างมากในระยะยาว นอกจากนี้การออกกำลังกายที่ข้อที่อักเสบช่วยรักษาข้อต่อรวมทั้งสุขภาพโดยรวมของบุคคลนั้น