Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ความรุนแรงต่อสตรี

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
แผนที่โลกแสดงการฆาตกรรมสตรีต่อประชากร 100,000 คน ในปี 2562

ความรุนแรงต่อสตรี เป็นลักษณะโดยรวมที่เป็นการกระทำรุนแรงเป็นหลักหรือมุ่งเจาะจงเฉพาะกับผู้หญิง บางครั้งได้รับการพิจารณาว่าเป็นอาชญากรรมที่มาจากความเกลียด ชนิดของความรุนแรงนี้มีเป้าหมายเฉพาะเพศภาวะของเหยื่อเป็นแรงจูงใจหลัก โดยชนิดของความรุนแรงได้อิงจากเพศ ซึ่งหมายความถึงการกระทำความรุนแรงมีความมุ่งมั่นต่อผู้หญิงอย่างชัดแจ้งเพราะพวกเขาเป็นผู้หญิง ปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ได้ระบุว่า:

"ความรุนแรงต่อสตรี คือการสำแดงของอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันในประวัติศาสตร์ ต่อความสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิง" และ "ความรุนแรงต่อสตรี เป็นหนึ่งในกลไกทางสังคมที่ร้ายแรง โดยที่ฝ่ายหญิงจะถูกบังคับให้ตกอยู่ในสถานะรองเมื่อเทียบกับฝ่ายชาย"

คำนิยาม

นานาประเทศทั่วโลกมีการใช้เครื่องมือเพื่อวัด และตรวจสอบความรุนแรงต่อสตรี โดยเป็นไปเพื่อการขจัดความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงในครอบครัว ในบันทึกข้อเสนอแนะฉบับที่ 5 (2002) และเอกสารเกี่ยวกับความรุนแรงต่อสตรี ของสภายุโรป ได้กล่าวถึงความรุนแรงต่อสตรีว่า รวมถึงแต่ไม่ได้จำกัดเพียงเฉพาะข้อต่อไปนี้

ก. ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครอบครัวหรือในบ้าน ซึ่งรวมถึง การล่วงละเมิดทางร่างกายและจิตใจ การล่วงละเมิดทางอารมณ์และการทำร้ายจิตใจ การข่มขืนและทารุณกรรมทางเพศ การร่วมประเวณีกับญาติสนิท การข่มขืนระหว่างคู่สมรส การอยู่อาศัยด้วยกันโดยมิได้สมรส อาชญากรรมที่กระทำในนามเกียรติยศ การทำร้ายแก่อวัยวะเพศหญิง และการปฏิบัติตามประเพณีที่เป็นอันตรายต่อสตรี เช่น การคลุมถุงชน
ข. ความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในสังคม รวมถึงการข่มขืน การล่วงละเมิดทางเพศ การล่วงละเมิดทางเพศและการข่มขู่ในที่ทำงาน ในสถาบันหรือที่อื่น ๆ การค้าสตรีเพื่อจุดประสงค์ในการแสวงหาประโยชน์ทางเพศและทางเศรษฐกิจ และ การท่องเที่ยวทางเพศ
ค. การกระทำความผิดและการอภัยโทษโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
ง. การละเมิดสิทธิมนุษยชนของสตรีในสถานการณ์ความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจับตัวประกัน การบังคับให้พลัดถิ่น การข่มขืนอย่างเป็นระบบ การเป็นทาสทางเพศ การบังคับตั้งครรภ์ และการค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางเพศและทางเศรษฐกิจ
การเปรียบเทียบคำจำกัดความในตราสารสิทธิมนุษยชน
เอกสาร โดย วันที่ บทนิยาม
คำแนะนำทั่วไปที่ 19 คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี (CEDAW Committee) 2535 'คำจำกัดความในการแบ่งแยกนั้นรวมถึงความรุนแรงที่มากจากเพศสภาพ กล่าวคือ ความรุนแรงที่มุ่งเป้าไปยังผู้หญิงเพียงเพราะว่าเธอเป็นผู้หญิง'
ปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี สหประชาชาติ 20 ธันวาคม 2536 '...คำว่า "ความรุนแรงต่อสตรี" หมายถึงการกระทำใด ๆ ที่มีต้นเหตุจากเพศสภาพ ซึ่งนำไปสู่อันตรายต่อร่างกาย ทางเพศ หรือจิตใจ หรือความทุกข์ทรมานของสตรี'.
Belém do Pará Convention องค์การนานารัฐอเมริกา 9 มิถุนายน 2537 '...ความรุนแรงต่อสตรีควรได้รับความเข้าใจว่าเป็นการกระทำใด ๆ บนพื้นฐานแห่งเพศ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตหรือทำให้เกิดอันตรายทางร่างกาย ทางเพศ ทางจิตใจ หรือความทุกข์ทรมานต่อสตรี ไม่ว่าจะในที่สาธารณะหรือในพื้นที่ส่วนตัว'
พิธีสารมาปูตู สหภาพแอฟริกา 11 กรกฎาคม 2546 '"ความรุนแรงต่อสตรี" หมายถึง การกระทำในทุกรูปแบบต่อสตรี ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทางเพศ จิตใจ และเศรษฐกิจ รวมถึงการขู่ในการกระทำดังกล่าว หรือดำเนินการตามอำเภอใจเพื่อลิดรอนเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตในยามสงบและในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางอาวุธหรือสงคราม...'
อนุสัญญาอิสตันบูล สภายุโรป 11 พฤษภาคม 2554 '..."ความรุนแรงต่อสตรี" เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบการเลือกปฏิบัติต่อสตรี และหมายถึงการกระทำความรุนแรงทางเพศทั้งหมดที่ส่งผลหรือมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ทางเพศ จิตใจ หรือเศรษฐกิจ หรือความทุกข์ทรมานต่อสตรี รวมทั้ง การคุกคามของการกระทำดังกล่าว การบังคับขู่เข็ญหรือการลิดรอนเสรีภาพตามอำเภอใจไม่ว่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะหรือในชีวิตส่วนตัว'

ดูเพิ่ม

หนังสืออ่านเพิ่ม

  • Durham, Meenakshi G. (February 2013). "Vicious assault shakes Texas town: the politics of gender violence in The New York Times' coverage of a schoolgirl's gang rape". Journalism Studies. Taylor & Francis Online. 14 (1): 1–12. doi:10.1080/1461670X.2012.657907. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  • Bellemare, Marc F. New Working Paper: Explaining the Persistence of Female Genital Cutting in The Gambia June 17, 2013.
  • Gerry Mackie, Female Genital Cutting: A harmless Practice? เก็บถาวร 2013-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Medical Anthropology Quarterly. 135-158p.
  • Jacqui True, "The Political Economy of Violence against Women". USA. 2012. ISBN 978-0-19-975591-2
  • James, S.M. (1998), "Shades of Othering: Reflections on Female Circumcision/Genital Mutilation," Signs 23(4): 1031-1048.
  • Jones, H., N. Diop, I. Askew, and I. Kabore (1999), "Female Genital Cutting Practices in Burkina Faso and Mali and Their Negative Health Outcomes," Studies in Family Planning 30(3): 219-230.
  • Jones, W.K., J. Smith, B. Kieke, Jr., and L. Wilcox (1997), "Female Genital Mutilation/Female Circumcision: Who Is at Risk in the US?,” Public Health Reports (1974—), 112(5): 368-377.
  • Kwame Anthony Appiah, Convincing Other Cultures to Change. September 21, 2010, Big Think.
  • Liz Kelly, Inside Outsiders: Mainstreaming violence against women into human rights discourse and practice. International Feminist Journal of Politics. 4–5 December 2005, 451-495.
  • Lori L. Heise, Jacqueline Pitanguy and Adrienne Germain, "Violence against Women (World Bank, 1994):The Hidden Health Burden". World Bank Discussion Paper No. 255. The World Bank Washington, D.C.
  • Nora Almosaed (2004), Violence against women: a cross-cultural perspective. Published online: 23 Jan, 2007. Journal of Muslim Minority Affairs.
  • Shell-Duncan, B., and Y. Hernlund (2006), "Are there ‘Stages of Change’ in the Practice of Female Genital Cutting? Qualitative Research Findings from Senegal and the Gambia," African Journal of Reproductive Health 10(2): 56-71.
  • Skaine, R. (2005), Female Genital Mutilation: Legal, Cultural and Medical Issues, Jefferson, NC: McFarland & Company, Inc.
  • Wagner, N. (2013), "Why Female Genital Cutting Persist?," Working Paper, University of Rotterdam.
  • Wakabi W. (2007), "Africa Battles to Make Female Genital Mutilation History," The Lancet 369(9567):1069-70.
  • Williams, L., and T. Sobieszczyk (1997) "Attitudes Surrounding the Continuation of Female Circumcision in the Sudan: Passing the Tradition to the Next Generation," Journal of Marriage and the Family 59(4):966-981.

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение