Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน
โรค | การแพร่เชื้อ | R0 |
---|---|---|
หัด | ละอองลอย | 12–18 |
อีสุกอีใส | ละอองลอย | 10-12 |
คางทูม | หยดน้ำทางลมหายใจ | 10-12 |
โปลิโอ | ทางอุจจาระ-ปาก | 5-7 |
หัดเยอรมัน | หยดน้ำทางลมหายใจ | 5–7 |
ไอกรน | หยดน้ำทางลมหายใจ | 5.5 |
ฝีดาษ | หยดน้ำทางลมหายใจ | 3.5–6 |
โควิด-19 | หยดน้ำทางลมหายใจ | 1.4–5.7 |
เอชไอวี/เอดส์ | น้ำของร่างกาย | 2–5 |
ซาร์ส | หยดน้ำทางลมหายใจ | 2–5 |
หวัด | หยดน้ำทางลมหายใจ | 2–3 |
คอตีบ | น้ำลาย | 1.7–4.3 |
ไข้หวัดใหญ่ (สายพันธ์ที่ระบาดทั่วปี 1918) |
หยดน้ำทางลมหายใจ | 1.4–2.8 |
อีโบลา (การระบาดในปี 2014) |
น้ำของร่างกาย | 1.5–1.9 |
ไข้หวัดใหญ่ (การระบาดในปี 2009) |
หยดน้ำทางลมหายใจ | 1.4–1.6 |
ไข้หวัดใหญ่ (ตามฤดูกาล) |
หยดน้ำทางลมหายใจ | 0.9–2.1 |
เมอร์ส | หยดน้ำทางลมหายใจ | 0.3–0.8 |
ในวิทยาการระบาด ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน หรือ เลขสืบพันธุ์พื้นฐาน (อังกฤษ: basic reproduction number, basic reproductive ratio) หรือค่า R0 (อ่านว่า อาร์น็อต หรืออาร์ซีโร่ หรืออาร์ศูนย์) สามารถพิจารณาได้ว่า เป็นจำนวนกรณีการติดเชื้อของผู้ป่วยรายใหม่ที่คาดหมายซึ่งติดมาจากผู้ป่วยรายเดียวโดยสมมุติว่าคนในกลุ่มประชากรติดเชื้อได้ทุกคน นิยามนี้หมายเอาสถานการณ์ที่ไม่มีคนอื่นติดเชื้อหรือมีภูมิคุ้มกัน ไม่ว่าจะโดยธรรมชาติหรือโดยอาศัยวัคซีน มีนิยามบางนิยาม เช่น ของกระทรวงสาธารณสุขออสเตรเลีย ที่เพิ่มข้อสมมุติว่าไม่มีการแทรกแซงที่จงใจเพื่อชลอหรือยุติการแพร่เชื้อ ค่านี้ไม่ควรสับสนกับ effective reproduction number ซึ่งมีสัญลักษณ์ R และหาค่าโดยใช้สถานการณ์จริง ๆ/ปัจจุบันของกลุ่มประชากร ไม่ใช่สถานการณ์ที่ไม่มีการติดเชื้อ โดยนิยามแล้ว R0 ไม่อาจเปลี่ยนได้โดยโปรแกรมการให้วัคซีน ให้สังเกตว่า R0 ไม่มีหน่วย และไม่ใช่อัตราที่มีหน่วยเกี่ยวกับระยะเวลา
R0 ไม่ใช่ค่าคงตัวทางชีวภาพของจุลชีพก่อโรค เพราะมันได้รับผลจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภาวะสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของกลุ่มประชากร อนึ่ง ค่า R0 มักประเมินจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ จึงขึ้นอยู่กับแบบจำลองและค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่ใช้ ดังนั้น ค่าที่พบในวรรณกรรมจึงเหมาะกับบริบทนั้น ๆ จึงแนะนำไม่ให้ใช้ค่าล้าสมัยหรือเปรียบเทียบค่าที่ได้จากแบบจำลองต่าง ๆ กัน ค่า R0 โดยตนเองไม่สามารถใช้ประเมินว่า การแพร่เชื้อจะเกิดเร็วขนาดไหนในกลุ่มประชากรนั้น ๆ
การใช้ค่า R0 ที่เด่นสุดก็คือเพื่อช่วยประเมินว่า โรคติดเชื้อที่กำลังระบาดจะสามารถแพร่กระจายไปได้มากแค่ไหนในประชากรที่ยังไม่มีการติดเชื้อ และประเมินว่า สัดส่วนประชากรแค่ไหนต้องได้รับวัคซีนเพื่อกำจัดโรค ในแบบจำลองการติดเชื้อที่ใช้อย่างสามัญ เมื่อ R0 > 1 เชื้อจะสามารถระบาดไปในกลุ่มประชากร แต่จะยุติเมื่อ R0 < 1 ทั่วไปแล้ว ค่า R0 ยิ่งสูงเท่าไร ก็ควบคุมการระบาดยากขึ้นเท่านั้น ในแบบจำลองง่าย ๆ สัดส่วนกลุ่มประชากรที่ต้องมีภูมิคุ้มกัน (คือไม่เสี่ยงติดเชื้อ) เพื่อป้องกันการระบาดอย่างต่อเนื่องจะต้องมากกว่า 1 − 1/R0 โดยนัยตรงกันข้าม สัดส่วนประชากรที่ยังคงเสี่ยงติดเชื้อซึ่งก่อโรคประจำก็คือ 1/R0
ค่านี้ได้รับผลจากปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งระยะการแพร่เชื้อ (infectivity) ของคนไข้, สมรรถภาพให้ติดโรคของสิ่งมีชีวิต และจำนวนคนที่สามารถติดโรคในกลุ่มประชากรที่คนไข้พบเจอ
ค่าระดับการติดเชื้อยังผล (Effective reproduction number)
ในสถานการณ์จริง กลุ่มประชากรต่าง ๆ จะมีอัตราส่วนคนที่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคหนึ่ง ๆ ไม่เหมือนกัน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อประเมินสถานการณ์เช่นนี้ จึงมี ค่าระดับการติดเชื้อยังผล (Effective reproduction number) โดยใช้ตัวแปรเป็น หรือ และมีนิยามเป็นจำนวนคนเฉลี่ยที่บุคคลผู้ติดโรคคนเดียวทำให้คนอื่น ๆ ติดโรค ณ เวลา t ในกลุ่มประชากรที่เสี่ยงติดโรคเป็นบางส่วน (คือบางคนจะมีภูมิค้มกัน) ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยคูณค่า กับเศษส่วน S ที่กลุ่มประชากรนั้น ๆ เสี่ยงติดโรค ถ้าเศษส่วนประชากรที่มีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น (คือค่า S ลดลง) จนกระทั่งค่า เหลือน้อยกว่า 1 กลุ่มประชากรนั้นจัดว่ามี "ภูมิคุ้มกันหมู่" แล้ว และจำนวนการติดโรคในกลุ่มประชากรนั้นจะค่อย ๆ ลดลดจงเหลือศูนย์
แหล่งข้อมูลอื่น
- Heesterbeek, J.A.P. (2002). "A brief history of R0 and a recipe for its calculation". Acta Biotheoretica. 50 (3): 189–204. doi:10.1023/A:1016599411804. PMID 12211331.
- Heffernan, J.M.; Smith, R.J.; Wahl, L.M. (October 2005). "Perspectives on the basic reproductive ratio". Journal of the Royal Society Interface. 2 (4): 281–293. doi:10.1098/rsif.2005.0042. PMC 1578275. PMID 16849186.
- Jones, James Holland (2007-05-01). "Notes on R0" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2018-11-06.
- Van Den Driessche, P.; Watmough, James (2008). "Further Notes on the Basic Reproduction Number". Mathematical Epidemiology. Lecture Notes in Mathematics. Vol. 1945. pp. 159–178. doi:10.1007/978-3-540-78911-6_6. ISBN 978-3-540-78910-9.
ทั่วไป | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ไวรัสอินฟลูเอนซา | |||||||||
ชนิดย่อยของ ไวรัสอินฟลูเอนซา เอ |
|||||||||
H1N1 |
|
||||||||
H5N1 |
|
||||||||
การรักษา |
|
||||||||
การระบาดและการระบาดทั่ว ของไข้หวัดใหญ่ |
|
||||||||
ไม่ใช่ในมนุษย์ |
|
||||||||
ที่เกี่ยวข้อง | |||||||||
|
หลักคิดในการศึกษาโรคติดเชื้อ
| |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Transmission |
|
||||||||||
Medication | |||||||||||
Emerging infections | |||||||||||
Other |