Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

งานศึกษาตามขวาง

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

ในงานวิจัยทางการแพทย์และสังคมศาสตร์ งานศึกษาตามขวาง หรือ งานศึกษาแบบตัดขวาง หรือ งานวิเคราะห์ตามขวาง (อังกฤษ: cross-sectional study, cross-sectional analysis, transversal study, prevalence study) เป็นการศึกษาแบบสังเกตประเภทหนึ่งที่วิเคราะห์ข้อมูลของประชากร หรือของกลุ่มตัวแทนประชากร ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง (คือวิเคราะห์ cross-sectional data)

ในสาขาเศรษฐศาสตร์ งานประเภทนี้มักจะใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติแบบ cross-sectional regression เพื่อตรวจสอบตัวแปรอิสระ (independent variable) หนึ่งตัวหรือมากกว่านั้น ว่าเป็นเหตุของตัวแปรตาม (dependent variable) คือผลหรือไม่ และเหตุนั้นมีอิทธิพลต่อผลขนาดไหน ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากการวิเคราะห์แบบ time series analysis ซึ่งติดตามดูความเป็นไปของข้อมูลรวม (aggregate data) อย่างน้อยหนึ่งตัว เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ในงานวิจัยทางการแพทย์ งานประเภทนี้ต่างจากงานศึกษามีกลุ่มควบคุม (case-control studies) โดยที่งานประเภทนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาข้อมูลที่เป็นประเด็นศึกษา ของประชากรทั้งกลุ่ม เทียบกับงานศึกษามีกลุ่มควบคุม ที่มักจะศึกษากลุ่มบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแต่ชนกลุ่มน้อยในประชากรทั้งหมด

งานประเภทนี้เป็นงานเชิงพรรณนา (descriptive) ไม่ใช่งานตามยาว (longitudinal) ไม่ใช่งานเชิงทดลอง (experimental) เป็นงานที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับ odds ratio, ความเสี่ยงสัมบูรณ์ (absolute risk), และความเสี่ยงสัมพัทธ์ (relative risk) จากความชุกของโรค (prevalence) เป็นงานที่สามารถให้ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับกลุ่มประชากร เช่น ความชุกของโรค หรือแม้แต่ให้หลักฐานเบื้องต้น ในการอนุมานความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล เป็นงานที่ต่างจากงานศึกษาตามยาว (longitudinal studies) เพราะงานตามยาวตรวจสอบข้อมูลจากลุ่มประชากรมากกว่าครั้งเดียว เป็นระยะ ๆ เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение