Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน

ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน
Atrial septal defect
Asd-web.jpg
ภาพประกอบแสดงความบกพร่องของผนังกั้นหัวใจห้องบน
สาขาวิชา ศัลยศาสตร์หัวใจ
อาการ ไม่มีอาการ

ช่องโหว่ผนังกั้นหัวใจห้องบน (อังกฤษ: Atrial septal defect หรือ ASD) เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโดยที่เลือดจะไหลเวียนระหว่างหัวใจห้องบนทั้งสองห้อง การไหลของเลือดนี้เป็นภาวะปกติในทั้งก่อนคลอดและหลังคลอดทันทีโดยจะไหลผ่านฟอราเมนโอวาเล (foramen ovale) อย่างไรก็ตามเมื่อรูเปิดนี้ไม่ปิดตามธรรมชาติในตอนหลังคลอดจะเรียกว่า ฟอราเมนโอวาเลเปิด (patent foramen ovale หรือ PFO) ความบกพร่องนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะผนังกั้นหัวใจห้องบนโป่งพอง (ASA) แต่กำเนิด

หลังจากการปิดของ PFO โดยปกติหัวใจห้องบนจะถูกคั่นด้วยผนังกั้นที่เรียกว่า ผนังกั้นหัวใจห้องบน (interatrial septum) หากผนังกั้นนี้มีข้อบกพร่องหรือไม่มีอยู่ เลือดที่มีออกซิเจนสูงจะสามารถไหลโดยตรงจากด้านซ้ายของหัวใจมาผสมกับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำในด้านขวาของหัวใจ หรือตรงกันข้าม ขึ้นอยู่กับว่าหัวใจห้องบนซ้ายหรือขวาจะมีความดันโลหิตสูงกว่า ในกรณีที่ไม่มีความบกพร่องของหัวใจอื่น ๆ หัวใจห้องบนซ้ายจะมีความดันสูงกว่า ความบกพร่องของผนังกั้นนี้สามารถนำไปสู่ระดับออกซิเจนที่ต่ำกว่าปกติในหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง อวัยวะ และเนื้อเยื่อต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ASD อาจไม่แสดงอาการที่เห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความบกพร่องมีขนาดเล็ก นอกจากนี้ ในแง่ของความเสี่ยงต่อสุขภาพ ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดไม่ทราบสาเหตุมีแนวโน้มที่จะมี PFO มากกว่าคนทั่วไป

การไหลลัดของเลือด หรือชันต์ (shunt) ในหัวใจคือการมีเลือดไหลเวียนผ่านช่องโหว่ไม่ว่าจะจากซ้ายไปขวาหรือขวาไปซ้าย ปริมาณของการมีอยู่ของชันต์จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของการไหลเวียนโลหิตของ ASD การไหลลัดจากขวาไปซ้ายส่งผลให้เลือดดำเข้าสู่ด้านซ้ายของหัวใจ และเข้าสู่การไหลเวียนของหลอดเลือดแดงโดยไม่ผ่านการไหลเวียนของปอดเพื่อเติมออกซิเจน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการผิวหนังสีฟ้า หรือที่เรียกว่า อาการเขียวคล้ำ (cyanosis) โดยเฉพาะริมฝีปากและใต้เล็บ

 บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเว็บไซต์หรือเอกสารของ United States Department of Health and Human Services "National Heart, Lung, and Blood Institute"

  • Goldman, Lee (2011). Goldman's Cecil Medicine (24th ed.). Philadelphia: Elsevier Saunders. pp. 270, 400–401. ISBN 978-1437727883.

แหล่งข้อมูลอื่น

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก

Новое сообщение