Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 34
ดำรงตำแหน่ง
20 มกราคม ค.ศ. 1953 – 20 มกราคม ค.ศ. 1961
(8 ปี 0 วัน)
รองประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน
ก่อนหน้า แฮร์รี เอส. ทรูแมน
ถัดไป จอห์น เอฟ. เคนเนดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด 14 ตุลาคม ค.ศ. 1890(1890-10-14)
เมืองเดนิสัน, รัฐเท็กซัส
เสียชีวิต 28 มีนาคม ค.ศ. 1969(1969-03-28) (78 ปี)
วอชิงตัน ดี.ซี.
พรรค พรรครีพับลิกัน
คู่สมรส มามี เดาด์ ไอเซนฮาวร์
ลายมือชื่อ Dwight Eisenhower Signature.svg

จอมพล ดไวต์ เดวิด ไอก์ ไอเซนฮาวร์ (อังกฤษ: Dwight David "Ike" Eisenhower; 14 ตุลาคม ค.ศ. 1890 − 28 มีนาคม ค.ศ. 1969) เป็นชาวอเมริกันที่ดำรงตำแหน่งพลเอกแห่งกองทัพและรัฐบุรุษที่ทำหน้าที่เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ คนที่ 34 ตั้งแต่ค.ศ. 1953 ถึง 1961 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้เป็นนายพลระดับห้าดาวในกองทัพสหรัฐและทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกำลังรบนอกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรในทวีปยุโรป เขาได้รับผิดชอบในการวางแผนและควบคุมดูแลในการบุกครองแอฟริกาเหนือในปฏิบัติการคบเพลิง ใน ค.ศ. 1942-43 และประสบความสำเร็จในการบุกครองฝรั่งเศสและเยอรมนีใน ค.ศ. 1944−45 จากแนวรบด้านตะวันตก

การเกิดของเดวิด ดไวต์ ไอเซนฮาวร์ที่เมืองเดนิสัน รัฐเท็กซัส เขาได้ถูกรับเลี้ยงดูในรัฐแคนซัสในครอบครัวขนาดใหญ่ของเชื้อสายชาวดัตช์จากเพนซิลเวเนียส่วนใหญ่ ครอบครัวของเขามีพื้นฐานทางศาสนาที่เคร่งครัด แม่ของเขาตั้งแต่เกิดมานับถือนิกายลูเธอรัน เมื่อได้สมรสที่ River Brethren และต่อมาได้กลายเป็นพยานพระยะโฮวา อย่างไรก็ตาม, ไอเซนฮาวร์นั้นไม่ได้ถูกจัดให้อยู่ในศาสนานิกายใดๆ จนกระทั่ง ค.ศ. 1952 เขาได้อ้างถึงการย้ายถิ่นฐานอย่างต่อเนืองในช่วงการงานอาชีพทางทหารของเขาเป็นเหตุผลเดียว เขาได้จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกเวสต์พอยต์ใน ค.ศ. 1915 และต่อมาก็ได้สมรสกับนางมามี เดาด์ ซึ่งได้มีลูกชายสองคน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้ปฏิเสธคำขอให้ไปทำหน้าที่ในสมรภูมิทวีปยุโรปและแทนที่จะสั่งการหน่วยที่ได้รับการฝึกฝนให้เป็นพลขับรถถัง หลังสงคราม เขาได้ทำหน้าที่ภายใต้นายพลต่างๆและได้รับการเลื่อนยศเป็นพลจัตวาใน ค.ศ. 1941 ภายหลังจากที่สหรัฐได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง ไอเซนฮาวร์ได้ควบคุมในการบุกครองที่ประสบความสำเร็จที่แอฟริกาเหนือและเกาะซิซิลี ก่อนที่จะควบคุมดูแลการบุกครองฝรั่งเศสและเยอรมนี ภายหลังสงคราม ไอเซนฮาวร์ได้ทำหน้าที่เป็นเสนาธิการกองทัพบกและรับบทบาทเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ใน ค.ศ. 1951-52 เขาได้ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งองค์กรนาโตคนแรก

ใน ค.ศ. 1952 ไอเซนฮาวร์ได้เข้าการแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในฐานะที่เป็นคนของพรรครีพันลิกันเพื่อสกัดกั้นนโยบายต่างประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดของวุฒิสมาชิก Robert A. Taft ที่ต่อต้านองค์กรนาโตและต้องการที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวพันกับต่างประเทศ เขาได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและชัยชนะที่สำคัญในการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1956 ตั้งสองครั้งที่เอาชนะ Adlai Stevenson II เขาได้กลายเป็นคนของพรรครีพันลิกันคนแรกที่สามารถเอาชนะมาได้นับตั้งแต่เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ใน ค.ศ. 1928 เป้าหมายหลักของไอเซนฮาวร์ในสำนักงาน อันได้แก่ การแผ่ขยายอิทธิพล​ของสหภาพโซเวียต และลดการขาดดุลรัฐบาลกลาง ใน ค.ศ. 1953 เขาได้ข่มขู่ว่าจะใช้อาวุธนิวเคลียร์จนกว่าจีนจะยินยอมในข้อตกลงสันติภาพในสงครามเกาหลี ซึ่งจีนเห็นด้วยและการสงบศึกนั้นที่ยังคงมีผลอยู่ นโยบายการมองใหม่ของเขาในการยับยั้งนิวเคลียร์ซึ่งได้จัดลำดับความสำคัญของอาวุธนิวเคลียร์ที่ราคาไม่แพงในขณะที่ได้ตัดงบประมาณจากกองพลของกองทัพบกที่มีราคาแพง เขายังคงถือนโยบายของแฮร์รี เอส. ทรูแมนจากการรับรองว่า สาธารณรัฐจีนในฐานะที่เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศจีนและเขาได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาของ Formosa Resolution การปกครองของเขาได้ให้ความช่วยเหลือที่สำคัญในการช่วยให้ฝรั่งเศสต่อสู้กับคอมมิวนิสต์เวียดนามในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง หลังจากที่ฝรั่งเศสได้ถอนตัวออกไป เขาได้ให้การสนับสนุนทางการเงินที่เข้มแข็งให้กับรัฐใหม่ของเวียดนามใต้ เขาได้สนับสนุนการก่อรัฐประหารของทหารท้องถิ่นที่ต่อต้านกับรัฐบาลในอิหร่านและกัวเตมาลา ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ ใน ค.ศ. 1956 ไอเซนฮาวร์ได้กล่าวประณามอิสราเอล อังกฤษ และฝรั่งเศสที่ได้บุกครองอียิปต์ และเขาได้บังคับให้พวกเขาถอนตัว นอกจากนี้เขายังได้กล่าวประณามการบุกครองของโซเวียตในช่วงการปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรเลย ในช่วงวิกฤตการณ์ซีเรีย เขาได้อนุมัติแผนของซีไอเอ-เอ็มไอ6 เพื่อดำเนินเหตุการณ์ชายแดนปลอมที่เป็นข้ออ้างสำหรับการบุกครองโดยประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันตกที่สนับสนุนของซีเรีย ภายหลังจากสหภาพโซเวียตได้เปิดตัว สปุตนิก ใน ค.ศ.1957 ไอเซนฮาวร์ได้อนุมัติให้จัดตั้งองค์กรนาซา ซึ่งนำไปสู่การแข่งขันอวกาศ เขาได้ส่งทหาร 15,000 นายในช่วงวิกฤตการณ์เลบานอน ค.ศ. 1958 เมื่อใกล้ถึงสิ้นสุดของวาระ ความพยายามของเขาในการจัดตั้งการประชุมสุดยอดกับสหภาพโซเวียตที่พังทลายลง เมื่อเครื่องบินสายลับของสหรัฐถูกยิงตกเหนือน่านฟ้ารัสเซีย เขาได้อนุมัติในการบุกครองอ่าวหมู ซึ่งได้ทิ้งให้แก่ผู้รับช่วงต่อจากเขา จอห์น เอฟ. เคนเนดี เพื่อดำเนินต่อไป

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ และภริยา กับ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กำลังพูดคุยกัน ในปีพ.ศ. 2503

ในด้านภายในประเทศ, ไอเซนฮาวร์เป็นนักอนุรักษนิยมค่อนข้างปานกลางที่ยังคงสานต่อหน่วยงานโครงการสัญญาใหม่ และขยายความมั่นคงทางสังคม เขาได้แอบต่อต้าน Joseph McCarthy และมีส่วนทำให้การสิ้นสุดของ McCarthyism โดยอ้างสิทธิ์การบริหารประเทศอย่างเปิดเผย ไอเซนฮาวร์ได้ลงนามกฎหมายสิทธิพลเมือง ค.ศ. 1957 และส่งกองกำลังทหารของกองทัพเพื่อบังคับคำสั่งศาลรัฐบาลกลางที่รวมตัวกันที่โรงเรียนใน Little Rock, Arkansas โครงการขนาดใหญ่ของเขาคือ ระบบทางหลวงระหว่างรัฐ เขาได้ให้ความสำคัญในการจัดตั้งการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่เข้มแข็งผ่านด้วยกฎหมายการศึกษาด้านการป้องกันประเทศ ข้อตกลงสองข้อของไอเซนฮาวร์ได้แสดงให้เห็นถึงความมั่นคั่งทางเศรษฐกิจที่แพร่หลายซึ่งยกเว้นเพียงแค่ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย ใน ค.ศ. 1958 ในคำกล่าวสุนทรพจน์การอำลาต่อประเทศของเขา ไอเซนฮาวร์ได้แสดงถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับอันตรายของการใช้งบประมาณทางทหารจำนวนมาก การใช้งบประมาณดุลการค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่ง และสัญญาของรัฐบาลที่ต่อโรงงานการผลิตทางทหารของภาคเอกชน เขาได้รับการโหวตให้เป็นชายที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดถึงสิบสองครั้งของ Gallup และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั้งภายในและนอกสำนักงาน การประเมินผลทางประวัติศาสตร์ของตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาทำให้เขาอยู่เหนือชั้นของประธานาธิบดหรัฐ

ดไวต์ ดี ไอเซนฮาวร์ได้ถึงแก่อสัญกรรมด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ค.ศ. 1969 รวมอายุได้ 78 ปี

เครื่องอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

พ.ศ. 2503 - Order of the Royal House of Chakri (Thailand) ribbon.svg เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

- OrderVictoryRibbon.svg เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งชัย

- ARG Order of the Liberator San Martin - Grand Cross BAR.png เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย ชั้นมหากางเขน

- AUT Honour for Services to the Republic of Austria - 2nd Class BAR.png เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทองพร้อมสายสะพาย

- Grand Crest Ordre de Leopold.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์เลออปอล ชั้นที่ 1

- BRA Order of the Southern Cross - Grand Cross BAR.png เครื่องอิสริยาภรณ์ดาวกางเขนใต้ ชั้นประถมาภรณ์

- CHL Order of Merit of Chile - Grand Cross BAR.png เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรม ชั้นประถมาภรณ์

- Order of the Elephant Ribbon bar.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา

- Legion Honneur GC ribbon.svg เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นกร็อง-ครัว

- JPN Daikun'i kikkasho BAR.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ

- NLD Order of the Dutch Lion - Grand Cross BAR.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตเนเธอร์แลนด์ ชั้นประถมาภรณ์

- St Olavs Orden storkors stripe.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นประถมาภรณ์

- PHL Order of Sikatuna - Grand Cross BAR.png เครื่องอิสริยาภรณ์ซิกาตูนา ชั้นชั้นสายสร้อย

- Order of the Bath UK ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์บาธ ชั้นประถมาภรณ์

- Order of Suvorov ribbon.png เครื่องอิสริยาภรณ์ซูโวรอฟ ชั้นที่ 1

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ถัดไป
แฮร์รี เอส. ทรูแมน 2leftarrow.png Seal of the President of the United States.svg
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คนที่ 34
(20 มกราคม พ.ศ. 2496 - 20 มกราคม พ.ศ. 2504)
2rightarrow.png จอห์น เอฟ. เคนเนดี
จอร์จ มาร์แชล 2leftarrow.png บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1944)
2rightarrow.png แฮร์รี เอส. ทรูแมน
ชาร์ลส์ เดอ โกลล์ 2leftarrow.png บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1959)
2rightarrow.png นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน

Новое сообщение