Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ตัวนำโรค
ในวิชาวิทยาการระบาด ตัวนำโรค (อังกฤษ: vector) เป็นตัวการใด ๆ ที่นำและแพร่จุลชีพก่อโรคไปยังสิ่งมีชีวิตอีกตัวหนึ่ง ตัวนำโรคส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิต เช่น ปรสิตมัธยันตร์หรือจุลินทรีย์ แต่บ้างเป็นตัวกลางการติดเชื้อที่ไม่มีชีวิต เช่น อนุภาคฝุ่น
สัตว์ขาปล้อง
สัตว์ขาปล้องเป็นตัวนำจุลชีพกลุ่มสำคัญ ได้แก่ ยุง แมลงวัน แมลงวันทราย เหา หมัด เห็บและไรซึ่งแพร่เชื้อจุลชีพจำนวนมาก สัตว์ขาปล้องหลายชนิดดังกล่าวเป็นสัตว์ดื่มเลือดในบางระยะหรือทุกระยะของชีวิต เมื่อแมลงเหล่านี้ดูดเลือด จุลชีพจะเข้าสู่กระแสเลือดของตัวถูกเบียน ทั้งนี้ การเข้าสู่กระแสเลือดเกิดขึ้นได้หลายทาง
ยุงก้นปล่องซึ่งเป็นพาหะมาลาเรีย โรคเท้าช้าง และไวรัสที่ติดต่อทางสัตว์ขาปล้องหลายชนิด (ไวรัสอาร์โบ) แทรกส่วนปากที่ละเอียดอ่อนเข้าไปใต้ผิวหนังและดื่มเลือดของตัวถูกเบียน ปรสิตที่มากับยุงปกติพบในต่อมน้ำลาย (ซึ่งยุงใช้เพื่อระงับความรู้สึกของตัวถูกเบียน) ฉะนั้น ปรสิตจึงมีการแพร่เข้าสู่กระแสเลือดของตัวถูกเบียนโดยตรง สัตว์ที่อาศัยอยู่ในหนองบึงอย่างแมลงวันทราย และแมลงวันดำ ตัวนำโรคที่ก่อโรคติดเชื้อลิชมาเนีย (leishmaniasis) และโรคพยาธิตาบอด (onchocerciasis) ตามลำดับ จะเคี้ยวบ่อในผิวหนังของตัวถูกเบียน ก่อให้เกิดบ่อเลือดขนาดเล็กซึ่งจะใช้ดูดกิน ปรสิตสกุล Leishmania จะติดต่อตัวถูกเบียนผ่านทางน้ำลายของแมลงวันทราย ส่วน Onchocerca จะออกมาเองจากหัวของแมลงเข้าสู่แอ่งเลือด
แมลงไทรอะทอมินี (Triatomine) เป็นตัวส่งผ่าน้เชื้อ Trypanosoma cruzi ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคชากาส แมลงไทรอะทอมินีขับถ่ายระหว่างกินอาหารและมูลของมันมีปรสิตซึ่งจะเกลี่ยเข้าสู่แผลเปิดเมื่อตัวถูกเบียนถูหรือเกาเพราะรอยกัดของแมลงเจ็บและระคายเคือง
พืชและเห็ดรา
พืชและเห็ดราบางชนิดเป็นตัวนำโรคหลายชนิด ตัวอย่าเช่น โรคเส้นใยขยายใหญ่ (big-vein disease) ของกะหล่ำปลีเชื่อว่าเกิดจากเห็ดรา Olpidium brassicae มาช้านาน จนสุดท้ายพบว่าเกิดจากไวรัส ต่อมา ปรากฏว่าไวรัสนั้นแพร่เชื้อโดยซูสปอร์ (zoospore) ของเชื้อราและยังมีชีวิตอยู่ได้ในสปอร์ที่ยังพักอยู่ นับแต่นั้น เห็ดราอื่นอีกหลายชนิดในไฟลัม Chytridiomycota ก็พบว่าเป็นตัวนำโรคไวรัสพืชหลายชนิดเช่นเดียวกัน
ศัตรูพืชหลายชนิดที่สร้างความเสียหายแก่พืชผลสำคัญอาศัยพืชอื่น ซึ่งมักเป็นวัชพืช เพื่อเป็นที่อาศัยและเป็นตัวพา ตัวอย่างเช่น Berberis และสกุลที่เกี่ยวข้องเป็นตัวถูกเบียนทางเลือดในวัฏจักรการติดเชื้อเมล็ดในกรณีของ Puccinia graminis
เมื่อพืชปรสิตอย่าง Cuscuta และ Cassytha พันรอบต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง พบว่าสามารถถ่ายทอดโรคไฟโตพลาสมาและไวรัสระหว่างพืชได้
องค์การอนามัยโลกกับโรคที่มากับตัวนำโรค
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการควบคุมและป้องกันโรคที่มากับตัวนำโรคกำลังเน้นย้ำ "การจัดการตัวนำโรคแบบบูรณาการ (IVM)" ซึ่งเป็นแนวทางซึ่งมองความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพกับสิ่งแวดล้อม โดยให้เกิดประโยชน์ทั้งสองด้านอย่างสูงสุด
ในเดือนเมษายน 2557 WHO เปิดตัวการรณรงค์ชื่อ "กัดคำเล็ก ภัยคุกคามใหญ่" (small bite, big threat) เพื่อให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคที่มากับตัวนำโรค WHO ออกรายงานที่ระบุว่าโรคที่มากับตัวนำโรคมีผลกระทบต่อคนยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ระดับสุขาภิบาล น้ำดื่มและที่อยู่อาศัยไม่เพียงพอ
โรครับจากสัตว์ที่มากับตัวนำโรคและกิจกรรมมนุษย์
หลายบทความ ซึ่งล่าสุดเมื่อต้นปี 2557 เตือนว่ากิจกรรมของมนุษย์กำลังแพร่โรครับจากสัตว์ที่มากับตัวนำโรค หลายบทความจัดพิมพ์ในวารสารการแพทย์ เดอะแลนซิต และอภิปรายว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินแย่างรวดเร็ว โลกาภิวัฒน์ด้านการค้า และ "กลียุคทาสังคม" ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของโรครับจากสัตว์ทั่วโลกได้อย่างไร
ตัวอย่างโรครับจากสัตว์ที่มากับตัวนำโรค ได้แก่ โรคไลม์ กาฬโรค ไวรัสเวสต์ไนล์ มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่ออุบัติการณ์ของโรคที่มากับตัวนำโรค ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่สัตว์ที่เป็นตัวถูกเบียนของโรค ตัวนำโรค และมนุษย์
บรรณานุกรม
- "Better environmental management for control of dengue". The Health and Environment Linkages Initiative (HELI). Geneva, Switzerland: World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
- "Division of Vector-Borne Diseases (DVBD)" (Multimedia). Fort Collins, Colorado: Centers for Disease Control and Prevention (CDC). สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
- "Issue Brief Series: Vector-borne Diseases" (PDF). Healthy Environments for Children Alliance. Geneva, Switzerland: World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
- "Malaria control: the power of integrated action". The Health and Environment Linkages Initiative (HELI). Geneva, Switzerland: World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
- Pawan, J.L. (1936). "Transmission of the Paralytic Rabies in Trinidad of the Vampire Bat: Desmodus rotundus murinus Wagner, 1840." Annual Tropical Medicine and Parasitolแม่แบบ:What?, 30, April 8, 1936:137–156.
- Pawan, J.L. "Rabies in the Vampire Bat of Trinidad with Special Reference to the Clinical Course and the Latency of Infection." Annals of Tropical Medicine and Parasitology. Vol. 30, No. 4. December 1936
- Quammen, David (4 April 2013). "Planet of the Ape; 'Between Man and Beast,' by Monte Reel". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 7 April 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ตัวนำโรค |