Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ทัศนมาตรศาสตร์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

ทัศนมาตรศาสตร์ (อังกฤษ: Optometry) เป็นหนึ่งในวิชาชีพการประกอบโรคศิลปะที่เกี่ยวข้องกับตาและโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสายตา ระบบการเห็น และการประมวลผลของระบบการเห็นในมนุษย์ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ (Optometrist) ได้รับการฝึกฝนเฉพาะทางเพื่อสั่งจ่ายและประกอบเลนส์ชนิดต่างๆเพื่อปรับปรุงสภาพการเห็น ในบางประเทศ ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรยังได้รับการฝึกเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคของตาหลายอย่าง อีกทั้งยังทำหน้าที่ของ "แพทย์ปฐมภูมิ" หรือ Primary care physician ซึ่งเป็นรูปแบบของการบูรณาการในการปฏิบัติทางการแพทย์ทั่วไประดับปฐมภูมิเข้ากับหน้าที่เฉพาะทางด้านทัศนมาตรศาสตร์

ประวัติศาสตร์ของวิชาชีพทางทัศนมาตรศาสตร์และทัศนวิทยาศาสตร์

หน้าที่ 423 จากหนังสือ "A treatise on the eye, the manner and phaenomena of vision" โดย William Porterfield พิมพ์ในปี ค.ศ. 1759 ที่เมือง Edinburgh สังเกตในหนังสือนี้คำว่า "optometer" ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก

Optometry หรือทัศนมาตรศาสตร์เป็นวิชาชีพในการประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรมีต้นกำเนิดที่แตกต่างจากรากฐานของวิชาชีพที่แตกต่างจากการประกอบวิชาชีพเวชกรรมซึ่งมักสับสนกันได้ง่ายเพราะรากฐานของวิชาชีพตามประวัติศาสตร์อาจมีอายุย้อนกลับไปทางด้านการประกอบอาชีพของผู้ประกอบแว่นสายตามากกว่า 700 ปีมาแล้ว ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการกำเนิดขึ้นในรูปแบบของวิชาชีพที่มีการศึกษาเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาการของสาขาวิชาหลากหลายวิชา ได้แก่

  • Vision science (หรือทัศนวิทยาศาสตร์ซึ่งสาขาทางด้านการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวเนื่องกับเวชกรรม, จุลชีววิทยา, ประสาทวิทยา, สรีรวิทยา, จิตวิทยา และสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์อื่นๆ)
  • ทัศนศาสตร์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ทางด้านทัศนศาสตร์
  • อุปกรณ์ทางด้านการประมวลผลข้อมูลด้านภาพและแสง
  • ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสายตาและสุขภาพตา

ประวัติศาสตร์ของทัศนมาตรศาสตร์อาจเกี่ยวข้องกับการหาคำอธิบายของปรากฏการณ์ธรรมชาติในด้านแสงลักษณะต่างๆและการเกิดของภาพที่ก่อให้เกิดสภาพการเห็น การกำเนิดในด้านวิทยาศาสตร์การเห็นหรือทัศนวิทยาศาสตร์นั้นเกิดขึ้นไม่กี่พันปีก่อนหน้าคริสต์ศักราชซึ่งพบจากหลักฐานโบราณคดีในรูปของเลนส์สำหรับตกแต่งในแหล่งโบราณคดีต่างๆ

แว่นสายตาอันแรกนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าได้ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อไร แต่นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ Sir Joseph Needham ได้แสดงความเห็นในหนังสือ Science and Civilization in China ของเขาว่า แว่นสายตาอันแรกน่าจะประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในดินแดนภายใต้อารยธรรมจีน โดยหลักฐานสำคัญมาจากเอกสารของราชวงศ์หมิง (ช่วงศตวรรษที่ 14 - 17) อย่างไรก็ตามจากการศึกษาเอกสารต้นฉบับดั้งเดิมนั้นกลับไม่ได้กล่าวถึงการผลิตแว่นในการแก้ไขปัญหาสายตาแต่กล่าวถึงการมาถึงของความรู้ทางด้านการใช้แว่นสายตาที่เป็นลักษณะของการนำเข้าความรู้จากต่างถิ่น

ในกรณีของต้นกำเนิดของแว่นสายตา Dr. David A Goss จากประเทศสหรัฐอเมริกาได้แสดงความเห็นไว้ว่า เป็นไปได้ที่แว่นสายตาเกิดขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 13 เนื่องจากพบการระบุในเอกสารโบราณจากปี ค.ศ. 1305 ที่บันทึกโดยนักบวชในเมือง Pisa ซื่อ Rivalto โดยได้บันทึกไว้ว่า "It is not yet 20 years since there was discovered the art of making eyeglasses" ซึ่งแปลได้ว่า "มันเป็นเวลาไม่ถึง 20 ปีซึ่งศาสตร์ในการประกอบแว่นสายตาได้ค้นพบขึ้น" เรายังได้ทราบอย่างแน่ชัดว่าประมาณช่วงศักราชของปี 1300 แว่นสายตามีการผลิตและใช้งานในดินแดนของอิตาลี เยอรมัน และเนเธอร์แลนด์

ในปี ค.ศ.1623 บาทหลวงชื่อ Benito Daza de Valdes ได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวข้องกับการใช้และประกอบแว่นตาขึ้นซึ่งถือว่าเป็นตำราทางด้านทัศนมาตรศาสตร์ในยุคแรกๆ หลายปีต่อมา William Molyneux ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความรู้ทางด้านทัศนศาสตร์และเลนส์สายตาขึ้นโดยกล่าวถึงต้นเหตุของปัญหาสายตาสั้นว่ามาจากการใช้สายตาในระยะใกล้ซึ่งนั่นเป็นช่วงปี ค.ศ.1692 หากพิจารณาตามผลงานของนักวิทยาศาสตร์แห่งยุคต่างๆในระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Claudius Ptolemy หรือ Johannes Kepler ต่างก็มีส่วนสำคัญในวางรากฐานองค์ความรู้ที่นำไปสู่การกำเนิดของสาขาวิชาทัศนมาตรศาสตร์ อาทิในกรณีของ Kepler ซึ่งเขาได้พบว่าประสาทตาหรือ Retina มีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการเห็นในมนุษย์ อย่างไรก็ตามความเข้าใจในด้านสายตาเอียงนั้นต้องรอจนกระทั่งประมาณปี ค.ศ. 1773 โดย Thomas Young ได้อภิปายคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะของสายตาเอียงซึ่งเขาเรียกลักษณะเช่นนี้ในสายตามนุษย์ว่า Astigmatism แต่มันจำเป็นต้องใช้เวลาอีกหลายปีจนกระทั่ง George Biddell Airy สามารถออกแบบเลนส์สายตาที่เรียกว่า Spheroclindrical ในการแก้ไขปัญหาสายตาเอียงซึ่งมันเป็นเวลาราวๆปี ค.ศ. 1829

ก่อนเริ่มปี ค.ศ. 1800 คำว่า "Optometry" ปรากฏขึ้นครั้งแรกในหนังสือ "A Treatise on the Eye: The Manner and Phenomena of Vision" โดยแพทย์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ William Porterfield ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1759 อย่างไรก็ตามคำว่า Optometry ในระยะแรกๆมักสับสนกับ Dispensing optician ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำหน้าที่หลักในการประกอบแว่นสายตา คำว่า Optometry และทัศนมาตรศาสตร์ไม่ได้เป็นที่นิยมหรือยอมรับอย่างเป็นสากลจนกระทั่งการยอมรับและความนิยมเริ่มต้นอย่างเป็นสากลในช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา

การศึกษาของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรในประเทศไทย

ทัศนมาตรศาสตร์ได้รับการยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก เกือบทุกประเทศได้มีการจัดระบบในการควบคุมมาตรฐานการศึกษาและการปฏิบัติงานของผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขานี้เหมือนกับการประกอบโรคศิลปะในสาขาอื่นๆของประเทศนั้นๆ โดยมักมีการจัดระบบการศึกษาต่อเนื่องเพื่อให้มาตรฐานการดูแลรักษาในแต่ละสาขามีความทันสมัยตลอดเวลา ผู้ที่มีสิทธิ์ในการประกอบวิชาชีพนี้ต้องผ่านการศึกษาระดับอุดมศึกษาก่อนซึ่งอาจแตกต่างได้ตามบริบทของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2545 มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยอินเดียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกันร่างหลักสูตรระดับอุดมศึกษาเป็น หลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2545) ดังนั้นหลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงเป็นหลักสูตรระดับอุดมศึกษาหลักสูตรแรกด้านทัศนมาตรศาสตร์ของประเทศไทย ในปัจจุบันมาตรฐานหลักสูตรทัศนมาตรศาสตรบัณฑิตสำหรับผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตร เป็นหลักสูตร 6 ปีการศึกษา โดยมีการจัดรูปแบบหลักสูตรตามมาตรฐานของคณะกรรมการการอุดมศึกษาและเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพของกระทรวงสาธารณสุขด้วย

คณะทัศนมาตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เปิดดำเนินการศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ปัจจุบันมีผู้สำเร็จการศึกษาไปและสามารถสอบใบประกอบโรคศิลป์ได้ คณะทัศนมาตรศาสตร์ได้มีการปรับปรุงครั้งสำคัญ โดยเชิญ ผศ.นพ.ธวัชชัย ปานเสถียรกุล ประธานคณะอนุกรรมการสอบใบประกอบวิชาชีพโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ของกองประกอบโรคศิลป์กระทรวงสาธารณสุขมาเป็นคณบดี และเชิญ พญ. วัฒนีย์ เย็นจิตร ผู้อำนวยการศูนย์จักษุ มหาวิทยาลัยรังสิต และกรรมการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย มาเป็นรองคณบดี เพื่อดำเนินการ

1. ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการให้บริการทัศนมาตรศาสตร์ที่เป็นสากลในปัจจุบัน

2. เตรียมความพร้อมของนักศึกษาทัศนมาตรศาสตร์ที่จะจบการศึกษาในการสอบใบประกอบวิชาชีพโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์

บัดนี้การปรับปรุงหลักสูตรได้เสร็จเรียบร้อยและผ่านการรับรองจากสภามหาวิทยาลัยแล้ว 

ในปี พ.ศ. 2555 คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ทำการเปิดหลักสูตรทัศนมาตรศาสตร์ขึ้นเป็นสถาบันที่ 3 และเปิดทำการเรียนการสอนมาจนถึงปัจจุบัน

สาขาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตร

ในการปฏิบัติงานเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาทัศนมาตรนั้น บุคลากรบางส่วนของวิชาชีพสามารถฝึกฝนหรือได้รับการศึกษาตามระบบในลักษณะของ Residency Programs ซึ่งเป็นการศึกษาทางด้านคลินิกและการวิจัยทางคลินิกในระดับ Post-graduated จนมีประสบการณ์เป็นที่รู้จักในระดับชาติและสากลได้ โดยยึดตามการจัดหมวดหมู่สาขาเฉพาะทางทัศนมาตร ศาสตร์ของ American Academy of Optometry ได้แก่

  1. Anterior Segment
  2. Binocular Vision, Perception and Pediatric Optometry
  3. Comprehensive Eye Care (aka. Primary Eye Care)
  4. Cornea Contact Lens and Refractive Technologies
  5. Glaucoma
  6. Low Vision
  7. Optometric Education
  8. Public Health & Environmental Vision
  9. Vision Science

Новое сообщение