Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

บริเวณบรอดมันน์

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
บริเวณบรอดมันน์ 3-มิติ
ผิวด้านข้างของสมอง บริเวณบรอดมันน์ต่าง ๆ มีตัวเลขกำกับ

บริเวณบรอดมันน์ (อังกฤษ: Brodmann area) เป็นการกำหนดเขตต่าง ๆ ในเปลือกสมองของมนุษย์ มีการจำกัดขอบเขตโดยโครงสร้างและการจัดระเบียบของเซลล์ (cytoarchitectonics)

ประวัติ

บริเวณบรอดมันน์ต่าง ๆ ดั้งเดิมได้รับการกำหนดขอบเขตและกำหนดตัวเลข โดยนักประสาทวิทยาชาวเยอรมันชื่อว่า คอร์บีนาน บรอดมันน์ (Korbinian Brodmann) ผู้กำหนดเขตเหล่านั้นโดยโครงสร้างและการจัดระเบียบของเซลล์ (cytoarchitectonics) ที่สังเกตเห็นได้ในเปลือกสมอง โดยใช้การย้อมสีแบบ Nissl

บร็อดแมนน์ตีพิมพ์แผนที่เขตเปลือกสมองของมนุษย์ ลิง และสปีชีส์อื่น ๆ ใน ค.ศ. 1909 พร้อมกับข้อมูลและข้อสังเกตอื่น ๆ เกี่ยวกับประเภทของเซลล์ในสมอง และการจัดระเบียบเป็นชั้น ๆ ของคอร์เทกซ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ให้สังเกตว่า บริเวณบรอดมันน์ที่มีหมายเลขเดียวกันในสปีชีส์ต่าง ๆ กัน อาจจะไม่ได้หมายถึงเขตที่มีกำเนิดเดียวกัน)

คอนสแตนติน วอน อีโคโนโม และจอร์จ คอสกินาส ได้ตีพิมพ์แผนที่ที่คล้าย ๆ กันแต่มีรายละเอียดมากกว่า ใน ค.ศ. 1925

ความสำคัญในปัจจุบัน

เป็นระยะเวลาเป็นศตวรรษที่มีการสนทนาและอภิปรายถึงบริเวณบรอดมันน์อย่างละเอียดถี่ถ้วน และการกำหนดเขตและชื่อก็ได้รับการปรับปรุงมาโดยตลอด บริเวณบรอดมันน์ยังเป็นการจัดระบบโดย cytoarchitectonics ของเปลือกสมองมนุษย์ ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและอ้างอิงถึงมากที่สุด

จนกระทั่งถึงปัจจุบัน บริเวณบรอดมันน์ต่าง ๆ ที่กำหนดขอบเขตโดยระเบียบของเซลล์ประสาทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าทำกิจหน้าที่ต่าง ๆ มากมายของสมอง ยกตัวอย่างเช่น บริเวณบรอดมันน์ 1-2-3 ก็คือ คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) เขต 4 ก็คือ คอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex) เขต 17 ก็คือ คอร์เทกซ์การเห็นปฐมภูมิ (primary visual cortex) และเขต 41-42 ก็เกือบจะเหมือนคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ (primary auditory cortex)

นอกจากนั้นแล้ว กิจหน้าที่ระดับสูง ๆ ยิ่งขึ้นไปของเขตสัมพันธ์ในเปลือกสมอง ก็ยังปรากฏว่ามีเขตจำกัดอยู่ในเขตที่บรอดมันน์กำหนดไว้ ปรากฏโดยใช้วิธีต่าง ๆ รวมทั้ง เทคนิคทางประสาทสรีรวิทยา fMRI และวิธีอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น เขตโบรคา ซึ่งเป็นเขตทางการพูดและภาษา ก็จำกัดอยู่ในบริเวณบรอดมันน์ 44-45 ถึงแม้กระนั้น การสร้างภาพโดยกิจ (functional imaging) ก็สามารถเพียงแค่บ่งชี้ตำแหน่งอย่างคร่าว ๆ ของการทำงานในสมองโดยสัมพันธ์กับบริเวณบรอดมันน์ได้เท่านั้น เพราะว่า ขอบเขตจริง ๆ ของเขตสมองต่าง ๆ ต้องอาศัยการตรวจสอบโดยอ้างอิงวิทยาเนื้อเยื่อ

บริเวณบรอดมันน์ในมนุษย์และในไพรเมตอื่น

(*) เขตที่เจอในไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้น

บริเวณบรอดมันน์ดั้งเดิมมีส่วนย่อยลงไปอีกเป็นต้นว่า "23a" และ "23b"

แผนที่คลิกได้: ผิวสมองด้านข้าง

เขต 3-1-2 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายขันปฐม เขต 4 - คอร์เทกซ์สั่งการหลัก เขต 5 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์ เขต 6 - Premotor cortex และ Supplementary Motor Cortex (Secondary Motor Cortex) (Supplementary motor area) เขต 7 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์ เขต 8 - รวม Frontal eye fields เขต 9 - Dorsolateral prefrontal cortex เขต 10 - Anterior prefrontal cortex เขต 11 - Orbitofrontal area เขต 17 - คอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิ เขต 18 - เขตสายตา V2 เขต 19 - คอร์เทกซ์สายตาสัมพันธ์ (V3 V4 V5) เขต 20 - Inferior temporal gyrus เขต 21 - Middle temporal gyrus เขต 22 - Superior temporal gyrus เขต 37 - รอยนูนรูปกระสวย เขต 38 - Temporopolar area เขต 39 - Angular gyrus เขต 40 - Supramarginal gyrus เขต 41-42 - คอร์เทกซ์การได้ยิน เขต 41-42 - คอร์เทกซ์การได้ยิน เขต 43 - Primary gustatory cortex เขต 44 - pars opercularis เป็นส่วนของ Broca's area เขต 45 - pars triangularis เป็นส่วนของ Broca's area เขต 46 - Dorsolateral prefrontal cortex เขต 47 - Inferior prefontal gyrus Image Mapบริเวณบรอดมันน์ คลิ๊กที่ตัวเลขจะโหลดบทความที่เหมาะสม ถ้ามี
เกี่ยวกับภาพนี้

แผนที่คลิกได้: ผิวสมองส่วนใน (medial)

เขต 3-1-2 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ เขต 4 - primary motor cortex เขต 5 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์ เขต 6 - Premotor cortex และ Supplementary Motor Cortex (Secondary Motor Cortex) (Supplementary motor area) เขต 7 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์ เขต 8 - รวม Frontal eye fields เขต 9 - Dorsolateral prefrontal cortex เขต 10 - Anterior prefrontal cortex เขต 11 - Orbitofrontal area เขต 12 - Orbitofrontal area เขต 17 - เขตสายตา V1 (คอร์เทกซ์สายตาขั้น)ปฐม) เขต 18 - เขตสายตา V2 เขต 19 - เขตสายตาสัมพันธ์ (V3) เขต 19 - เขตสายตาสัมพันธ์ (V3) เขต 18 - เขตสายตา V2 เขต 23 - Ventral Posterior cingulate cortex เขต 24 - Ventral Anterior cingulate cortex เขต 25 - Subgenual cortex (เป็นส่วนของ Ventromedial prefontal cortex) เขต 26 - Ectosplenial portion of the retrosplenial region of the cerebral cortex เขต 27 - คอร์เทกซ์รูปชมพู่ (Piriform cortex) เขต 28 - Posterior Entorhinal Cortex เขต 29 - Retrosplenial cingulate cortex เขต 30 - ส่วนของ cingulate cortex เขต 31 - Dorsal Posterior cingulate cortex เขต 32 - Dorsal anterior cingulate cortex เขต 33 - Part of anterior cingulate cortex เขต 34 - Anterior Entorhinal Cortex (บนรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส) เขต 35 - Perirhinal cortex (บนรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส) เขต 20 - Inferior temporal gyrus เขต 37 - Fusiform gyrus เขต 3-1-2 - คอรเทกซ์ความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ เขต 38 - Temporopolar area Image Mapบริเวณบรอดมันน์ คลิ๊กที่ตัวเลขจะโหลดบทความที่เหมาะสม ถ้ามี
เกี่ยวกับภาพนี้

ข้อวิจารณ์

เมื่อวอน โบนิน และเบล์ลี ทำแผนที่สมองในลิงมาคาก จึงพบว่าการพรรณนาของบรอดมันน์นั้นไม่สมบูรณ์พอ จึงได้บันทึกไว้ว่า

"ใน ค.ศ. 1907 เป็นความจริงที่บรอดมันน์ได้สร้างแผนที่ของสมองมนุษย์ที่ได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง แต่โชคไม่ดีว่า ข้อมูลที่แผนที่นั้นอิงอาศัย ไม่เคยได้รับการเผยแพร่"

และจึงได้ใช้แผนที่ cytoarchitectonics ของ คอนสแตนติน วอน อีโคโนโม และจอร์จ คอสกินาส ที่พิมพ์ใน ค.ศ. 1925 ซึ่งมี

"การพรรณนาที่ละเอียดของคอร์เทกซ์ในมนุษย์ ในระดับที่ใช้ได้เพียงเท่านั้น"

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • brodmann x func, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2006 – หมวดหมู่ตามหน้าที่ของบริเวณบรอดมันน์
  • Brodmann, Mark Dubin pages on Brodmann areas
  • Brodmann areas, Brodmann areas of cortex involved in language
  • Illustrations, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2012

Новое сообщение