Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

บอมบ์สูท

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
บอมบ์สูท

บอมบ์สูท (อังกฤษ: Bomb suit) หรือชุดกันระเบิด เป็นชุดเกราะหนักที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อทนต่อแรงอัดจากระเบิด และอาจรวมถึงระเบิดกระสุนยิง ซึ่งมักจะได้รับการสวมใส่โดยบุคลากรหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิดที่ผ่านการฝึกอบรม เปรียบเทียบกับชุดเกราะกันกระสุนส่วนบุคคล ซึ่งมักจะมุ่งเน้นการป้องกันลำตัวและศีรษะ ในขณะที่ชุดกันระเบิดจะต้องป้องกันทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่อันตรายที่เกิดจากการระเบิดของวัตถุระเบิดที่มีผลต่อร่างกายทุกส่วน การออกแบบปัจจุบันที่ได้ผลจะมีน้ำหนักมาก, ขนาดใหญ่ และยากในการจัดทำ ข้อบกพร่องเหล่านี้ทำให้มันไม่เหมาะสมสำหรับการใช้งานปกติในสถานการณ์การสู้รบ

มีหลายชิ้นส่วนของชุดกันระเบิดที่ทับซ้อนกันเพื่อการป้องกันสูงสุด โดยเป็นชุดป้องกันในรูปแบบต่างกันที่หลากหลาย มันสามารถยับยั้งหรือหักเหแรงกระแทกที่มาจากวัตถุระเบิด นอกจากนี้ยังสามารถหยุดหรือลดแรงอัดจากคลื่นระเบิดที่ส่งผ่านไปยังบุคคลที่อยู่ภายในชุด ชุดกันระเบิดส่วนใหญ่ ดังเช่น แอดวานซ์บอมบ์สูท ได้มีการใช้ชั้นของเคฟลาร์, โฟม และพลาสติก ทำขึ้นแบบสำเร็จ

ชุดกันระเบิดอาจจะไม่มีถุงมือ เพื่อเพิ่มความแน่นอนในการปฏิบัติ โดยจะช่วยให้ผู้สวมใส่เกิดการเคลื่อนไหวของมือได้อย่างสูงสุด แต่นั่นก็เป็นการปล่อยให้มือและแขนไม่ได้รับการป้องกันอย่างสมบูรณ์

เจ้าหน้าที่อีโอดีจะทำการสวมใส่ชุดกันระเบิดในระหว่างการสำรวจ 'เรนเดอร์เซฟ' หรือขั้นตอนการหยุดชะงักในการคุกคามของระเบิดที่มีประสิทธิภาพหรือได้รับการยืนยัน ชุดดังกล่าวจะต้องสามารถป้องกันการกระจายตัว, แรงดันระเบิด, ความร้อน และผลกระทบระดับตติยภูมิของภัยคุกคามจากการระเบิด ในขณะเดียวกัน ชุดอาจขัดขวางการเคลื่อนไหวหรือการตระหนักรู้สถานการณ์ของพวกเขาจนเป็นที่น่าสังเกต

ประวัติ

ยุคอีโอดดีสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อกองทัพลุฟท์วัฟเฟของเยอรมัน ได้เพิ่มจำนวนระเบิดใส่ลงสู่แผ่นดินอังกฤษเป็นอย่างมาก จำนวนพลเรือนที่บาดเจ็บล้มตายเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการถ่วงเวลาของระเบิด ซึ่งมักจะทะลุลงไปในพื้นดินหลายฟุตหลังจากที่ถูกทิ้งลงมาจากเครื่องบิน เหล่าชายที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อปลดชนวนระเบิดต่างได้ทุ่มเทให้กับงานที่ต้องใช้ความพยายามอย่างหนัก ในช่วงที่การออกแบบสายชนวนมีการเปลี่ยนแปลง, วัตถุตกค้างที่ยังไม่ระเบิด (ยูเอ็กซ์ดี) จำนวนมาก รวมถึงทหารได้เสียชีวิตหลายราย กระทั่งมีการกำจัดได้มากขึ้นโดยการออกแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่

ในขณะที่สหรัฐฯ น่าจะมีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่สอง พวกเขาได้รับการร้องขอความช่วยเหลือจากอังฤษในการฝึกอบรมเหล่าพลเรือนอีโอดีในการทำลายล้างระเบิดตกค้างในเขตเมือง ผู้คนต่างยอมจ่ายเพื่อเรียนรู้ถึงชนวนแบบต่าง ๆ และการกำจัดจากการศึกษาดังกล่าว หลังจากเป็นที่ชัดเจนว่างานอีโอดีที่ดีที่สุดมาจากการจัดการของทหาร สหรัฐอเมริกาได้พยายามหลายวิธีในการจัดระเบียบบุคลากรอีโอดีที่จะช่วยตอบสนองความต้องการทั้งสำหรับการฝึกอบรมแบบเฉพาะเจาะจงและการใช้งานที่หลากหลาย

ในภาพถ่ายของภารกิจแรกในการปลดชนวนระเบิดที่ตกค้าง จะพบว่าผู้ปฏิบัติการไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันใด ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พวกเขามักจะสวมเสื้อที่สามารถรับมือกับความร้อนที่เกิดจากการใช้แรงกายจากการขุดโดยรอบวัตถุระเบิดก่อนที่พวกเขาจะทำการปลดชนวน โดยพื้นฐานแล้ว บุคคลผู้ทำการปลดชนวนระเบิดอาจประสบความสำเร็จ หรือประสบผลล้มเหลวที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต

ชุดกันระเบิดของหน่วยอีโอดียุคแรกประกอบด้วยวัสดุประเภทเคฟลาร์ และ/หรือแผ่นเกราะที่ทำจากโลหะหรือพลาสติกเสริมแรงด้วยเส้นใย โดยมีวัตถุประสงค์คือปกป้องผู้สวมใส่ไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ จากการผ่านทะลุของส่วนที่แตกออกมาจากวัตถุระเบิด ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ได้มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าวัสดุเหล่านี้เพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีประสิทธิภาพต่อคลื่นกระแทกในตัวของมันเอง ซึ่งอาจทำให้ปอดฉีกขาด รวมถึงอาจได้รับบาดเจ็บภายในอย่างสาหัสในส่วนอื่น ๆ ส่วนชุดสูทของหน่วยอีโอดีสมัยใหม่ มีชั้นของเคฟลาร์, การใส่แผ่นเหล็ก และโฟม เพื่อให้เกิดการป้องกันจากทั้งสะเก็ดที่แตกออกมา กับคลื่นกระแทกที่มีต่อชุดสูท

เจ้าหน้าที่อีโอดีขณะทำการตรวจสอบวัตถุระเบิด

ภัยคุกคามที่เกิดจากระเบิดแสวงเครื่อง หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นระเบิดไออีดี และอาจรวมถึงตัวกระทำทางสารเคมีหรือชีวภาพ สิ่งเหล่านี้ได้นำมาสู่ความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 ในการออกแบบที่เหมาะสมต่อชุดสูททำลายล้างวัตถุระเบิดรวมถึงหมวกนิรภัย ตัวอย่างเช่น บอมบ์สูทสมัยใหม่อาจป้องกันภัยระเบิดคุกคามธรรมดา ตลอดจนตัวกระทำทางสารเคมี/ชีวภาพ โดยได้รวมชั้นป้องกันสารเคมีเข้าไว้ด้วยกัน และหมวกนิรภัยที่เข้ากันได้กับเครื่องช่วยหายใจระบบบรรจุถังอากาศในตัว (เอสซีบีเอ)

ในระยะหลัง สถาบันการยุติธรรมแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้รับการสนับสนุนโครงการในการพัฒนามาตรฐานการทดสอบแห่งชาติสำหรับชุดกันระเบิดของหน่วยอีโอดีเพื่อให้เกิดการป้องกันที่เหมาะสม โดยชุดที่ได้รับ สามารถกล่าวได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีเป้าหมายที่จะมีวิธีในการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของการออกแบบที่แตกต่างกันกับภัยคุกคามที่คาดคิดและภัยคุกคามอื่นแต่ละรูปแบบ คล้ายกันกับมาตรฐานเอ็นไอเจที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการทดสอบและเปรียบเทียบเกราะหรือวัสดุที่ใช้เพื่อหยุดภัยคุกคามจากวิถีกระสุน

นักพัฒนาจะต้องพิจารณามากขึ้นกว่าเพียงแค่การป้องกัน ตั้งแต่บุคคลที่ต้องปฏิบัติงานอย่างเคร่งเครียด ซึ่งต้องใช้ทักษะด้านกลไกที่มีความละเอียดบอบบางในขณะที่สวมใส่ชุดกันระเบิด และปัจจัยอื่นที่จะต้องพิจารณา ประกอบด้วย

  • การกันกระแทกกระดูกสันหลังและศีรษะ ในกรณีที่ผู้สวมใส่ได้ล้มลงเนื่องด้วยแรงระเบิด
  • การป้องกันความร้อน
  • การเคลื่อนไหวในการทำงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • การจำกัดน้ำหนัก
  • การถอดอย่างรวดเร็ว เช่นในกรณีที่มีการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน
  • การขจัดไอน้ำออกให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้เกราะหน้ากระบังหมวกนิรภัยเกิดการขุ่นมัว

การป้องกัน

ชิ้นส่วนของบอมบ์สูททับซ้อนกับชิ้นวัสดุอื่น ๆ เพื่อการป้องกันสูงสุดสำหรับผู้สวมใส่ไม่ว่าจะหันหน้าไปทางวัตถุระเบิดหรืออยู่ห่างจากวัตถุระเบิด ชุดบอมบ์สูทสามารถป้องกันได้หลายสถาน มันสามารถหักเหหรือหยุดแรงกระแทกที่อาจมาจากวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง ประการที่สอง มันสามารถป้องกันโดยการหยุดคลื่นกระแทกจากการกระจายและการทำร้ายผู้สวมใส่ ซึ่งโดยปกติแล้ว เคฟลาร์, โฟม และพลาสติก ต่างมีลักษณะเป็นชั้นและปกคลุมด้วยวัสดุสารหน่วงไฟเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว

จนกระทั่งกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 ชุดกันระเบิดของหน่วยอีโอดีได้ประกอบไปด้วยเคฟลาร์ และ/หรือแผ่นเกราะสำหรับหยุดยั้งแรงกระแทก อย่างไรก็ตาม ชุดกันระเบิดไม่ได้มีการป้องกันเมื่อเผชิญกับคลื่นกระแทกมากนัก ความเสียหายจากคลื่นกระแทกที่รู้จักกันมากที่สุดคือ “ปอดช้ำ” โดยปอด (และอวัยวะภายในอื่น ๆ) มักได้รับบาดเจ็บจากคลื่นกระแทกและมีเลือดออก แม้ว่าจะไม่ได้รับบาดเจ็บจากการทิ่มแทง แต่การบาดเจ็บภายในดังกล่าวก็สามารถเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1990 การวิจัยดำเนินการในสหราชอาณาจักรได้แสดงให้เห็นว่าสิ่งทอและแผ่นเกราะแข็งของชุดไม่ได้ป้องกันการบาดเจ็บที่ปอดจากการระเบิด มันได้รับการค้นพบว่าความต้านทานเชิงซ้อนของเสียงสูงด้วยการหนุนของส่วนที่นิ่ม กับชั้นความต้านทานเชิงซ้อนของเสียงต่ำ (เช่น โฟมที่มีความหนาแน่นต่ำ) จะปกป้องการบาดเจ็บจากระเบิดได้ อย่างไรก็ดี มันได้แสดงให้เห็นว่าการทำความเข้าใจด้านค่าความถี่คลื่นกระแทกที่ใช้ในการทดลอง และทดสอบทางวัสดุซึ่งใส่เข้าไว้ด้วยกันนั้นมีความสำคัญ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าสิ่งเหล่านี้มีประสิทธิภาพ

ปัญหาทางการยศาสตร์

ประสิทธิภาพในการหยุดคลื่นกระแทก, ชั้นหนาของเคฟลาร์, โฟม และพลาสติก ต่างมีความจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างสาหัส ตั้งแต่ความจำเป็นในการป้องกันทั้งร่างกาย ส่งผลให้ชุดกันระเบิดมีความหนัก (ตั้งแต่ 37 กก. หรือมากกว่า), ร้อนไปจนถึงระดับที่ก่อให้เกิดความเครียดต่อความร้อน และยากต่อการสวมใส่ ด้วยเหตุนี้ จึงมักมีหนึ่งคนที่สวมใส่ชุดเพื่อเข้าใกล้วัตถุระเบิดสำหรับการปลดชนวนหลังจากที่ได้รับการพิสูจน์เอกลักษณ์แล้ว น้ำหนักของชุดกันระเบิดมักแลกมาซึ่งความสามารถในการป้องกัน จึงมีการจัดระเบียบของชุดกันระเบิดที่สามารถนำมาใช้ได้ เพื่อที่ว่าหน่วยงานสามารถเลือกสำหรับการป้องกันโดยไม่ต้องมีน้ำหนักมากเกินจำเป็นหากเป็นไปได้ ซึ่งชุดกันระเบิดที่มีส่วนประกอบอย่างน้อยที่สุดจะประกอบด้วย แจ็คเก็ต, ที่กำบัง และหมวกนิรภัยที่มีน้ำหนักอย่างน้อยที่สุดอยู่ที่ 5 กิโลกรัม โดยสิ่งเหล่านี้จะเป็นรายการที่เหมาะสมต่อการเก็บกู้ทุ่นระเบิด ซึ่งไม่ใช่การทำลายล้างวัตถุระเบิด

วัสดุที่จำเป็นในการทำชุดกันระเบิด จะไม่ปล่อยให้ร่างกายเกิดความร้อนขึ้นโดยผู้สวมใส่ โดยผลที่ได้อาจก่อให้เกิดความเครียดต่อความร้อน ซึ่งสามารถนำมาสู่อาการป่วยและความสับสน ตลอดจนลดความสามารถของผู้สวมใส่ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ชุดกันระเบิดรุ่นล่าสุดประกอบด้วยระบบแบตเตอรี่ระบายความร้อนเพื่อป้องกันไม่เกิดอาการเครียดจากความร้อน ผลงานวิจัยของผู้ผลิตรายหนึ่งอ้างว่าระบบระบายความร้อนภายในชุดกันระเบิดที่มีน้ำหนัก 18 กิโลกรัม และ 37 กิโลกรัม ได้ช่วยให้ผู้สวมใส่อยู่ในอุณหภูมิที่สามารถทำงานได้ถึงหนึ่งชั่วโมง แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนก็ตาม

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение