Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
บาดทะยัก
บาดทะยัก (tetanus) | |
---|---|
ชื่ออื่น | lockjaw |
กล้ามเนื้อที่ได้รับผลกระทบจากบาดทะยักอย่างรุนแรง รูปภาพโดยเซอร์ ชาร์ล เบล ค.ศ. 1809 | |
สาขาวิชา | Infectious disease |
อาการ | Muscle spasms, fever, headache |
การตั้งต้น | 3–21 days following exposure |
ระยะดำเนินโรค | Months |
สาเหตุ | Clostridium tetani |
ปัจจัยเสี่ยง | Break in the skin |
วิธีวินิจฉัย | Based on symptoms |
การป้องกัน | Tetanus vaccine |
การรักษา | Tetanus immune globulin, muscle relaxants, mechanical ventilation |
พยากรณ์โรค | 10% risk of death |
ความชุก | 209,000 (2015) |
การเสียชีวิต | 56,700 (2015) |
บาดทะยัก (อังกฤษ: tetanus) เป็นโรคติดเชื้ออย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการเด่นคืออาการกล้ามเนื้อเกร็ง ส่วนใหญ่การเกร็งจะเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อกราม จากนั้นจึงลุกลามไปยังกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ การเกร็งแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่นาที และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ การเกร็งอาจมีความรุนแรงมากจนทำให้กระดูกหักได้ อาการอื่นที่อาจพบร่วมได้แก่ ไข้ เหงื่อออก ปวดศีรษะ กลืนลำบาก ความดันเลือดสูง และหัวใจเต้นเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการหลังจากติดเชื้อเป็นเวลา 3-21 วัน การรักษาอาจใช้เวลาหลายเดือน ผู้ป่วยประมาณ 10% จะเสียชีวิต
บาดทะยักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium tetani ซึ่งพบได้ในดิน น้ำลาย ฝุ่น และปุ๋ยมูลสัตว์ เชื้อมักเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลเช่นแผลบาดหรือแผลตำที่เกิดจากวัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อ เชื้อเหล่านี้ผลิตสารพิษที่รบกวนกระบวนการคลายตัวของกล้ามเนื้อ โดยการไปยับยั้งการหลั่งของสารไกลซีน และกาบา ซึ่งเป็นสารยับยั้งสารสื่อประสาท ทำให้มีอาการดังกล่าวข้างต้น การวินิจฉัยทำได้โดยการดูจากอาการและอาการแสดง โรคนี้ไม่ติดต่อจากคนสู่คน
การป้องกันการติดเชื้อทำได้โดยการเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการให้วัคซีนบาดทะยัก ผู้ที่มีบาดแผลที่เข้าข่ายจะติดเชื้อและได้รับวัคซีนมาไม่ถึง 3 ครั้ง ควรได้รับทั้งวัคซีนบาดทะยักและภูมิคุ้มกันบาดทะยักในรูปแบบของอิมมูโนกลอบูลิน ควรได้รับการล้างแผลและนำเอาเนื้อตายออก ผู้ป่วยที่มีอาการควรได้รับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบาดทะยักแบบอิมมูโนกลอบูลิน หรืออาจรักษาด้วยอิมมูโนกลอบูลินแบบรวมได้ยาคลายกล้ามเนื้ออาจช่วยควบคุมอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และหากผู้ป่วยมีปัญหาของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจร่วมด้วยอาจต้องใช้การช่วยหายใจผ่านเครื่องช่วยหายใจ
บาดทะยักเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลกแต่มักพบบ่อยในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นซึ่งมีดินและสารอินทรีย์อยู่มาก ในปี พ.ศ. 2558 มีรายงานว่ามีผู้ป่วยบาดทะยักประมาณ 209,000 คนและเสียชีวิตประมาณ 59,000 คนทั่วโลก ซึ่งลดลงเป็นอย่างมากจากจำนวนผู้เสียชีวิต 356,000 คน ในปี พ.ศ. 2533 มีการบรรยายถึงโรคนี้เอาไว้เก่าแก่ตั้งแต่สมัยแพทย์กรีกชื่อฮิปโปกราเตสเมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาล สาเหตุของโรคถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2427 โดย Antonio Carle และ Giorgio Rattone แห่งมหาวิทยาลัยทูริน ส่วนวัคซีนถูกผลิตขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2467
ความเกี่ยวข้องกับสนิมเหล็ก
มักเป็นที่เชื่อกันว่าบาดทะยักกับสนิมเหล็กมีความเกี่ยวข้องกัน นี้เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก โดยทั่วไปแล้ววัตถุที่มีสนิมมักพบอยู่นอกบ้านหรือในบริเวณที่พบแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออกซิเจนอยู่แล้ว แต่ตัวสนิมเองไม่ทำให้เกิดโรคบาดทะยัก รวมถึงไม่ได้มีแบคทีเรีย C. tetani มากกว่าที่อื่น พื้นผิวที่ขรุขระของเหล็กขึ้นสนิมนั้นอาจเป็นแหล่งอาศัยของ endospore ของ C. tetani ได้ และตะปูเหล็กก็มักทิ่มผิวหนังเป็นแผลลึกเอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดไม่ใช้ออกซิเจน จึงทำให้สนิมเหล็กถูกมองว่าเป็นสาเหตุของการเกิดโรคบาดทะยัก ซึ่งไม่เป็นจริงแต่อย่างใด
แหล่งข้อมูลอื่น
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: บาดทะยัก |
- Tetanus Information from Medline Plus
- Tetanus Surveillance -- United States, 1998-2000 (Data and Analysis)
- "Tetanus". MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine.
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Bacilli |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||
Clostridia |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||
Mollicutes |
|