Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

ปลา

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
ปลา
Temporal range: 535–0Ma ยุคแคมเบรียนตอนกลาง - ปัจจุบัน
ปลานกขุนทองหัวโหนก (Cheilinus undulatus) ซึ่งเป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ที่เป็นปลากระดูกแข็ง
ปลานกขุนทองหัวโหนก (Cheilinus undulatus) ซึ่งเป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ที่เป็นปลากระดูกแข็ง
ปลากระเบนโปลกาด๊อท (Potamotrygon leopoldi) เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นปลาน้ำจืด นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
ปลากระเบนโปลกาด๊อท (Potamotrygon leopoldi) เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นปลาน้ำจืด นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์Edit this classification
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
เคลด: โอลแฟกทรีส
ไฟลัมย่อย: สัตว์มีกระดูกสันหลัง
กลุ่มที่รวมอยู่ด้วย
ปลาไม่มีขากรรไกร
ปลามีเกราะ
ปลาฉลามมีหนาม
ปลากระดูกอ่อน
ปลากระดูกแข็ง
ปลาที่มีก้านครีบ
ปลาที่มีครีบเป็นพู่
หน่วยที่รวมโดยแคลดิสติกส์แต่ไม่รวมโดยดั้งเดิม
เทเทรอพอด
Conodonts

ปลา จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร

สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอย

ลักษณะทั่วไป

ปลาเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ มีหลายจำนวนมากมายหลากหลายสายพันธุ์ บางชนิดมีเกล็ดและไม่มีเกล็ด ปลาส่วนมากมีการผสมพันธุ์นอกร่างกาย แต่บางชนิดก็จะมีการผสมพันธุ์ภายในร่างกายของปลาตัวเมีย มีลักษณะลำตัวด้านซ้ายและขวาเท่ากัน สามารถแบ่งกลุ่มทางอนุกรมวิธานของปลาได้เป็นชั้นใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. ปลาไม่มีขากรรไกร (Agnatha) แบ่งเป็น แฮคฟิช พบในปัจจุบันประมาณ 65 ชนิด และ ปลาแลมป์เพรย์ พบในปัจจุบันประมาณ 40 ชนิด
  2. ปลากระดูกอ่อน (Cartilaginous fish) ได้แก่ ปลาโรนัน, ปลาฉนาก, ปลากระเบน และปลาฉลาม พบในปัจจุบันประมาณ 400 ชนิด
  3. ปลากระดูกแข็ง (Bony fish) คือปลาอื่น ๆ ที่เหลือทั้งหมด ปลากระดูกแข็งเป็นปลาส่วนใหญ่ของโลก พบในปัจจุบันประมาณ 21,000 ชนิด
  4. ปลาครีบเป็นพู่ (Lobe-finned fish) คือ ปลาที่มีครีบต่าง ๆ เป็นพู่หรือกลีบ ใช้ในการเคลื่อนไหวใต้น้ำเหมือนเดิน ได้แก่ ปลาซีลาแคนท์, ปลาปอด เป็นต้น
  5. ปลามีเกราะ (Armoured fish) เป็นปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ถือเป็นบรรพบุรุษของปลาทั้งหมด ปัจจุบันสูญพันธุ์หมดแล้ว มีเกล็ดหนาหุ้มตลอดลำตัวเหมือนชุดเกราะ

ปลาเป็นสัตว์น้ำที่สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพของดินฟ้าอากาศที่มีความแปรปรวน และแตกต่างกันอย่างมาก ตราบใดที่ในบริเวณนั้นยังคงมีแหล่งน้ำอยู่ เนื่องจากปลาในแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการปรับสภาพของตัวเองให้สามารถมีชีวิตต่อไปได้ เช่น ปลาที่อาศัยในมหาสมุทรแอนตาร์กติก ซึ่งปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง จึงต้องปรับสภาพร่างกายของตัวเองโดยการสร้างสารความต้านทานของเม็ดเลือด หรือปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิสูง แหล่งน้ำที่จืดสนิทจนถึงแหล่งน้ำที่มีความเค็มค่อนข้างมาก ก็จะปรับสภาพการดำรงชีพที่แตกต่างกันรวมไปถึงวิธีการว่ายน้ำด้วยลักษณะวิธีการที่แตกต่างกัน การปรับตัวและการดิ้นรนเพื่อการดำรงชีพของปลา ทำให้ลักษณะทางสรีรวิทยารวมถึงพฤติกรรมต่าง ๆ มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ลักษณะทางกายวิภาค

ดูบทความหลักที่ กายวิภาคของปลา

ปลาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวร่างกายในน้ำด้วยครีบ โดยจะใช้ครีบบริเวณหลังและครีบบริเวณก้นสำหรับว่ายน้ำ ซึ่งปลาในชนิดต่าง ๆ อาจจะใช้ครีบบริเวณหูและครีบบริเวณก้นในการเคลื่อนตัวไปด้านหน้า ปลาบางชนิดอาจจะใช้อวัยวะบางส่วนเช่น ครีบบริเวณท้อง เพื่อสำหรับทำหน้าที่ให้เหมือนกับเท้าของสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาตีน เพื่อไว้สำหรับการเคลื่อนไหวไปมา สามารถปีนป่ายก้อนหินและรากไม้ได้อย่างอิสรเสรี ภาพโดยรวมแล้วอวัยวะต่าง ๆ ของปลาประกอบด้วย

  • ปาก
  • จมูก
  • ดวงตา
  • กระพุ้งแก้ม
  • ครีบหู
  • ครีบท้อง
  • ครีบหลัง
  • ครีบก้น
  • ครีบหาง
  • ช่องก้น
  • เส้นข้างลำตัว

ซึ่งนอกจากครีบแล้วปลายังมีอวัยวะต่าง ๆ ที่มีประสาทในการรับรู้ความรู้สึกด้านต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย ได้แก่ เส้นข้างลำตัว, เกล็ด เป็นต้น

วิวัฒนาการ

ดูบทความหลักที่ ปลายุคก่อนประวัติศาสตร์

ภาพวาดปลาที่มีเกล็ดหนาหุ้มตัวที่เรียกว่า "ออสตราโคเดิร์ม" ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ปัจจุบันสูญพันธุ์หมดแล้ว (รูปด้านบน) ภาพวาดของ "ปลามีเกราะ" หรือ "พลาโคเดิร์ม" ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่ปัจจุบันสูญพันธุ์หมดแล้วเช่นเดียวกัน (รูปด้านล่าง)

ปลาจัดได้ว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังจำพวกแรกที่ถือกำเนิดมาบนโลกและปัจจุบันก็ยังถือได้ว่าเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายและจำนวนสมาชิกมากที่สุดในโลก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้จัดประเภทของปลาได้เป็นชนิดแล้วในปัจจุบันไม่ต่ำกว่า 25,000 ชนิด และยังมีชนิดใหม่ ๆ ที่ค้นพบเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด ทั้งจากน้ำจืดและทะเล

ปลาถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคออร์โดวิเชียน (500 ล้านปีก่อน) โดยมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์ที่มีกระดูกอ่อนเป็นกระดูกสันหลัง เรียกว่า แอมฟิออกซัส และกลายมาเป็นปลาปากกลมที่ไม่มีขากรรไกร หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งเหมือนเกราะหนาหุ้มตัว อาศัยและแหวกว่ายในทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์

จากนั้นในยุคดีโวเนียน (360 ล้านปีก่อน) จึงปรากฏมีปลากระดูกอ่อนเกิดขึ้นมา พร้อมกับวิวัฒนาการของปลากระดูกแข็งและปลาน้ำจืดต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน

แหล่งที่อยู่อาศัย

ปลาเป็นสัตว์ที่ต้องอาศัยอยู่ในน้ำเท่านั้น โดยพบได้ทั้งแหล่งน้ำจืด, น้ำกร่อย และน้ำเค็ม แต่พบได้ในภูมิประเทศที่หลากหลายแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตั้งแต่ลำธารเชิงเทือกเขาหิมาลัยที่สูงกว่า 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล, ในถ้ำที่มืดมิดไร้แสง จนถึงแม่น้ำ หนองบึงต่าง ๆ ทะเลสาบบนปากปล่องภูเขาไฟ จนมาถึงชายฝั่งทะเล ไหล่ทวีป จนถึงใต้ทะเลที่ลึกกว่าหมื่นเมตร แสงไม่อาจส่องไปได้ถึง

ซึ่งปลาจะปรับรูปร่างและพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน เช่น ปลาอะโรวาน่า หรือปลาเสือพ่นน้ำ ที่เป็นปลาที่หากินอยู่บริเวณผิวน้ำ ก็จะมีลักษณะปากที่เฉียงขึ้นด้านบนเพื่อถนัดในการจับแมลงเป็นอาหาร ขณะที่ปลากระเบน ซึ่งเป็นปลาหากินบริเวณพื้นน้ำ ก็จะมีปากอยู่บริเวณด้านล่างลำตัวจะมีฟันเป็นแบบแทะเล็ม หรือกลุ่มปลาทูน่า จะมีสีบริเวณหลังเป็นสีคล้ำ แต่ขณะที่ด้านท้องจะเป็นสีจางอ่อน เพื่อใช้สำหรับพรางตาเมื่อมองจากบนผิวน้ำและใต้น้ำให้พ้นจากนักล่า เป็นต้น

ความสัมพันธ์กับมนุษย์

สัญลักษณ์แทนราศีมีน ซึ่งเป็น 1 ใน 12 จักรราศีทางโหราศาสตร์ที่เป็นรูปหางปลาคู่ผูกเข้าด้วยกัน

ปลาเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ด้วยใช้เนื้อเป็นอาหารหลัก มีหลักฐานทางโบราณคดีต่าง ๆ มากมาย ที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการจับหรือล่าปลาเป็นอาหาร เช่น อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ในจังหวัดอุบลราชธานี ของประเทศไทย มีภาพเขียนสีที่เป็นรูปปลาบึก

เนื้อปลายังถือได้ว่าเป็นโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ ด้วยอุดมไปด้วยสารอาหารอย่างครบถ้วน เช่น เกลือแร่, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส และวิตามินชนิดต่าง ๆ ทั้ง วิตามินดี, วิตามินเอ เป็นต้น อีกทั้งไขมันในเนื้อปลายังถือว่าเป็นไขมันที่ไม่ก่อให้เกิดเป็นโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เพราะเป็นกรดไขมันประเภท โอเมกา 3 ซึ่งช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ อีกทั้งยังถือว่าเป็นโปรตีนที่ย่อยได้ง่าย จึงเหมาะมากโดยเฉพาะกับทารกและผู้สูงอายุ

ความที่ปลาผูกพันกับมนุษย์มานาน จนเกิดเป็นประเพณีและความเชื่อในวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ อาทิ ชาวอีสานหรือชาวลาวก่อนจะทำการล่าปลาบึกจะมีการทำพิธีบวงสรวงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็นปกรณัมต่าง ๆ เช่น พระวิษณุที่อวตารเป็นปลากรายทองเพื่อทำการปราบทุกข์เข็ญ ในความเชื่อของชาวญี่ปุ่นนั้น เชื่อว่าปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเพราะมีปลาใหญ่ที่หนุนโลกอยู่ขยับตัว คือ ปลาดุกขนาดใหญ่ ชื่อ นะมะสุ (鯰) เคลื่อนตัว เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว ในทางการศึกษา ศาสตร์ที่เกี่ยวกับปลาโดยเฉพาะ จะเรียกว่า มีนวิทยา และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ประเภทนี้ว่า นักมีนวิทยา

ปลายังถือได้ว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่ถูกเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจมาอย่างยาวนานแล้ว ตั้งแต่ยุคสุเมเรียน คือ ปลาไนที่เพาะเลี้ยงกันในบ่อ และยังมีการเลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินใจด้วย ได้แก่ ปลาสวยงามชนิดต่าง ๆ เช่น ปลากัด, ปลาทอง, ปลาปอมปาดัวร์, ปลาการ์ตูน เป็นต้น

ดูเพิ่ม

ข้อมูล

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение