Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ผงกล้วย
Другие языки:

ผงกล้วย

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

ผงกล้วย เป็นผงที่ได้มาจากกล้วยที่ผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ ถูกใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตนมปั่นและอาหารทารก นอกจากนี้ยังได้มีกาารนำไปใช้ในการผลิตเค้กและบิสกิตหลายประเภท

การผลิต

ผงกล้วยผลิตขึ้นโดยใช้หยวกกล้วย โดนนำไปสับด้วยเครื่องจักร จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการด้วยเครื่องตัดโลหะโดยใช้เครื่องโม่บดแบบคอลลอยด์จนได้เป็นแป้งเปียก หลังจากนั้น ใช้โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์เพื่อทำให้สีเหลืองของแป้งเปียกสว่างยิ่งขึ้น แล้วจึงนำแป้งเปียกไปทำให้แห้งด้วยวิธีการทำให้แห้งแบบลูกกลิ้งหรือแบบพ่นฝอย แต่แบบลูกกลิ้งได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากไม่มีแป้งเปียกสูญเสียไประหว่างการทำให้แห้ง การทำให้แห้งแบบลูกกลิ้งยังได้เพิ่มปริมาณผงกล้วยให้มากขึ้นอีก 2% และทำให้มันแห้งไปได้พร้อม ๆ กัน แต่ไม่ว่ากระบวนการทำให้แห้งแบบใดก็ทำให้ผงกล้วยสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานประมาณหนึ่งปีก่อนที่จะหมดอายุเช่นเดียวกัน

ประวัติ

การใช้ผงกล้วยในสูตรอาหารทารกได้รับความนิยมแพร่หลายตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 เนื่องจากเป็นวิธีการในการรักษาสุขภาพของทารกให้แข็งแรง ในปี ค.ศ. 1916 ผงกล้วยได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งใน "อุตสาหกรรมที่สำคัญของเวสต์อินดีส" ในช่วงเวลาดังกล่าว เช่นเดียวกับกล้วยตาก

ยูไนเต็ดฟรุตคอมพานีเริ่มต้นออกผลิตภัณฑ์ชื่อว่า เมลโซ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1930 โดยมีผงกล้วยเป็นส่วนประกอบหลัก และเนื่องจากคุณสมบัติที่มีประโยชน์ของผงกล้วย เมลโซจึงได้โฆษณาว่าเป็น "อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กและคนชรา ช่วยรักษาอาการอาหารไม่ย่อย และเป็นผู้ให้ชีวิตใหม่สำหรับผู้ขี้เกียจทางร่างกายหรือจิตใจ"

การนำไปใช้

โดยทั่วไป

ผงกล้วยได้รับการค้นพบว่าเป็น "แหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรตและแคลอรี ในขณะที่เป็นแหล่งโปรตีนปริมาณไม่มากนัก แต่ถึงกระนั้น คุณค่าทางอาหารของผงกล้วยยัง "เหนือกว่าคุณค่าทางอาหารของผลไม้อื่นอย่างชัดเจน" ผงกล้วยดังกล่าวยังพบว่ามีประโยชน์ในการรักษาอาการปวดแน่นท้องโดยทั่วไป

ในทางวิทยาศาสตร์

ในปี ค.ศ. 1984 นักวิทยาศาสตร์จากอินเดียสามารถแยกส่วนของ "สารประกอบรักษาแผลเปื่อย" ที่พบในผงกล้วย ซึ่งได้นำไปสู่การผลิตผงประเภทที่ "มีฤทธิ์มากขึ้น 300 เท่า" ในการป้องกันโรคกระเพาะอาหาร ในภายหลังยังได้มีการค้นพบอีกว่าผงกล้วยยังได้เพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์ ซึ่งทำให้บริเวณที่เกิดแผลเปื่อยรักษาตัวเองได้เร็วขึ้น


Новое сообщение