Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ฝุ่น
ฝุ่น เป็นอนุภาคขนาดเล็กของของแข็งในอากาศที่มีแหล่งที่มาจากหลาย ๆ ที่ เช่น ฝุ่นจากดินที่ถูกลมพัดขึ้นมา, ฝุ่นจากการระเบิดของภูเขาไฟ หรือจากมลภาวะต่าง ๆ ฝุ่นในที่พักอาศัยสำนักงาน หรือแม้แต่ ละอองเกสรของพืช, เส้นผมหรือขนของคนและสัตว์, สิ่งทอ, เส้นใย, เศษผิวหนังของมนุษย์ซึ่งพบเป็นจำนวน 20–50 % ของฝุ่นในที่พักอาศัย, สิ่งหลงเหลือจากอุกกาบาต และจากวัตถุอีกหลายอย่างในสภาพแวดล้อมทั่วไป
แหล่งที่มา
แหล่งที่มาของฝุ่นละอองในบรรยากาศ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ (Natural Particle)
ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์ (Man-made Particle)
- การคมนาคมขนส่ง
รถบรรทุกหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่ทำให้เกิดฝุ่น หรือดินโคลนที่ติดอยู่ที่ล้อรถ ขณะแล่นจะมีฝุ่นตกอยู่บนถนน แล้วกระจายตัวอยู่ในอากาศ ไอเสียจากรถยนต์ เครื่องยนต์ดีเซลปล่อยเขม่า ฝุ่น ควันดำ ออกมา ถนนที่สกปรก มีดินทรายตกค้างอยู่มาก หรือมีกองวัสดุข้างถนนเมื่อรถแล่นจะทำให้เกิดฝุ่นปลิวอยู่ในอากาศ การก่อสร้างถนนใหม่ หรือการปรับปรุงผิวจราจร ทำให้เกิดฝุ่นมาก ฝุ่นที่เกิดจากยางรถยนต์ และผ้าเบรก
- การก่อสร้าง
การก่อสร้างหลายชนิด มักมีการเปิดหน้าดินก่อนการก่อสร้าง ซึ่งทำให้เกิดฝุ่นได้ง่าย เช่น อาคาร สิ่งก่อสร้าง การปรับปรุงสาธารณูปโภค การก่อสร้างอาคารสูง ทำให้ฝุ่นปูนซีเมนต์ถูกลมพัดออกมาจากอาคารการรื้อถอน ทำลาย อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง
- โรงงานอุตสาหกรรม
การเผาไหม้เชื้อเพลิง เช่น น้ำมันเตา ถ่านหิน ฟืน แกลบ เพื่อนำพลังงานไปใช้ในการผลิต กระบวนการผลิตที่มีฝุ่นออกมา เช่น การปั่นฝ้าย การเจียรโลหะ การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ
ผลกระทบ
- ต่อมนุษย์
ฝุ่นที่มีอนุภาคขนาดใหญ่มักจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์มากนัก เนื่องจากจมูกของคนเราสามารถกรองฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ประมาณ 10 ไมครอนขึ้นไป ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กสามารถผ่านเข้าสู่ปอดได้ มีผลงานวิจัยในสหรัฐอเมริการะบุว่า ผู้ที่อาศัยในบริเวณที่มีฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน อยู่ในปริมาณมากจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด นอกจากนี้ฝุ่นที่มีขนาดเล็กในทุกปริมาณ 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จะทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 อาการกำเริบของโรคหอบหืดก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เช่นกัน นอกจากฝุ่นละอองจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตาแล้ว ยังทำอันตรายต่อระบบหายใจเมื่อเราสูดเอาอากาศที่มีฝุ่นละอองเข้าไป โดยอาการระคายเคืองนั้นจะเกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของระบบทางเดินหายใจขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นละออง โดยฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ร่างกายจะดักไว้ได้ที่ขนจมูก ส่วนฝุ่นที่มีขนาดเล็กนั้นสามารถเล็ดลอดเข้าไปในระบบหายใจ ทำให้ระคายเคืองแสบจมูก ไอ จาม มีเสมหะ หรือมีการสะสมของฝุ่นในถุงลมปอด ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมลง
- ต่อสิ่งแวดล้อม
ฝุ่นละอองจะลดความสามารถในการมองเห็น ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี เนื่องจากฝุ่นละอองในบรรยากาศเป็นอนุภาคของแข็งที่ดูดซับและทำให้เกิดหักเหแสงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและความหนาแน่น และองค์ประกอบของฝุ่นละออง ฝุ่นละอองที่ตกลงมา นอกจากจะทำให้เกิดความสกปรกเลอะเทอะแก่บ้านเรือน อาคาร สิ่งก่อสร้างแล้ว ยังทำให้เกิดการทำลายและกัดกร่อนผิวหน้าของโลหะ หินอ่อน หรือวัตถุอื่น ๆ เช่น รั้วเหล็ก หลังคาสังกะสี รูปปั้น
ในกรุงเทพมหานครของไทยมีการตรวจวัดคุณภาพอากาศมาตั้งแต่ พ.ศ. 2531 มีฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ในการสำรวจ 1,692 ครั้ง มีปริมาณเกินกว่าค่ามาตรฐาน 108 ครั้ง
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฝุ่น
- Global map of atmospheric dust
หอสมุดแห่งชาติ | |
---|---|
อื่น ๆ |