Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส
หลุยส์ที่ 8 | |
---|---|
พระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส | |
ครองราชย์ | 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223 - 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226 |
ราชาภิเษก | 6 สิงหาคม ค.ศ. 1223 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส |
ถัดไป | พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส |
คู่อภิเษก | บลังกาแห่งกัสติยา |
พระราชบุตร |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส โรแบร์ต เคานท์แห่งอาร์ตัวส์ อัลฟองโซ เคานท์แห่งปัวตู นักบุญอิซาเบลแห่งฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 แห่งเนเปิลส์ |
ราชวงศ์ | กาเปเซียง |
พระราชบิดา | พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส |
พระราชมารดา | อีซาแบลแห่งแอโน |
พระราชสมภพ | 5 กันยายน ค.ศ. 1187 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส |
สวรรคต | 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226 วังมงท์ปองซิเยร์ ประเทศฝรั่งเศส |
พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Louis VIII le Lion) (5 กันยายน ค.ศ. 1187 - 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในราชวงศ์กาเปเซียง ครองราชย์ระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226
พระราชประวัติ
พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1187 ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส กับพระนางอีซาแบลแห่งแอโน
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1200 เมื่อเจ้าชายหลุยส์มีพระชนมายุได้ 12 พระองค์ก็ทรงเสกสมรสกับบลังกาแห่งกัสติยา หลังจากการเจรจาต่อรองกันเป็นเวลานานระหว่างพระราชบิดาและพระปิตุลาของบลังกาพระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษ
ในปี ค.ศ. 1216 ขุนนางอังกฤษลุกขึ้นปฏิวัติในสงครามขุนนางครั้งที่หนึ่ง (First Barons' War) เพื่อต่อต้านพระเจ้าจอห์นผู้ที่ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ไม่ทรงเป็นที่นิยมและหันมาเสนอยกราชบัลลังก์ให้เจ้าชายหลุยส์ๆ จึงทรงนำทัพไปอังกฤษและได้รับการประกาศให้เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในเดือนพฤษภาคมในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1216 แต่ไม่ทรงได้รับการสวมมงกุฎ เมื่อเสด็จเข้าลอนดอนก็ไม่มีการต่อต้านเท่าใดนัก เมื่อทรงได้รับการประกาศเป็นพระมหากษัตริย์ที่อาสนวิหารนักบุญเปาโลก็เป็นเหตุการณ์ที่เต็มไปด้วยพิธีรีตองอย่างหรูหราทั่วทั้งลอนดอน และมีผู้เข้าร่วมพิธีที่เป็นขุนนางต่างๆ รวมทั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งสกอตแลนด์ที่มาร่วมพิธีและแสดงความสวามิภักดิ์ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1216 เจ้าชายหลุยส์ก็ทรงยึดวินเชสเตอร์และในที่สุดก็ทรงครอบครองอาณาบริเวณกว่าครึ่งหนึ่งของอังกฤษ
หลังจากทำสงครามได้ปีครึ่งพระเจ้าจอห์นก็เสด็จสวรรคต พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ทรงราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ขุนนางต่างก็ละทิ้งเจ้าชายหลุยส์ไปสนับสนุนพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ เจ้าชายหลุยส์ทรงพ่ายแพ้ที่ลิงคอล์น และกองราชนาวีของพระองค์ก็ได้รับความพ่ายแพ้นอกฝั่งแซนด์วิช ในที่สุดเจ้าชายหลุยส์ก็ต้องทรงสร้างความสันติตามข้อตกลงของฝ่ายอังกฤษ
เนื้อหาสำคัญของสนธิสัญญาแลมเบ็ธ (Treaty of Lambeth) คือการอภัยโทษแก่ผู้ปฏิวัติ, คืนดินแดนต่างๆ ให้แก่เจ้าของเดิม, คืนหมู่เกาะแชนเนลให้อังกฤษ, คำสัญญาว่าหลุยส์จะไม่มารุกรานอังกฤษอีก และความพยายามที่จะคืนนอร์ม็องดีให้อังกฤษ และจ่ายเงินจำนวน 10,000 มาร์คให้แก่หลุยส์ ผลของสนธิสัญญาคือหลุยส์ทรงตกลงกล่าวว่าไม่เคยเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษที่ถูกต้อง 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223
ครองราชย์
พระเจ้าหลุยส์ที่ 8 เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223 และทรงรับราชาภิเษกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1223 ที่อาสนวิหารแร็งส์ ในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์ก็ทรงแสวงหาวิธีที่จะแก้แค้นราชวงศ์อ็องฌู โดยทรงยึดปัวตูและแซงตง (Saintonge) จากฝ่ายอ็องฌูในปี ค.ศ. 1229 หลังจากนั้นก็ทรงยึดอาวีญงและลองเกอด็อก (Languedoc)
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1223 พระองค์ก็ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามข้าราชการบันทึกหนี้สินที่มีต่อชาวยิวซึ่งเป็นการเปลี่ยนพระราชนโยบายของพระราชบิดาที่ทรงตั้งไว้อย่างสิ้นเชิง กิจการกู้ยืม (Usury) หรือการให้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ยถูกประกาศว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายสำหรับผู้นับถือศาสนาคริสต์ตามกฎของศาสนาคริสต์ ที่ถือว่าเป็นความชั่วเพราะเป็นการหาประโยชน์จากผู้มีความยากลำบากและผู้ปฏิบัติจะถูกลงโทษโดยการตัดขาดจากศาสนา ซึ่งเป็นการลงโทษอันรุนแรง แต่เมื่อชาวยิวไม่ใช่คริสเตียนการบรรพาชนียกรรมจึงไม่มีผลซึ่งบริเวณที่ไม่แจ่มแจ้งทางกฎหมายที่นักปกครองมักจะใช้เป็นข้ออ้างโดยการอนุญาตหรือขอให้ชาวยิวทำกิจการกู้ยืมเพื่อเในการเอาผลประโยชน์เข้าใส่ตนเองซึ่งทำให้ไม่เป็นที่พอใจของสถาบันคริสต์ศาสนา การทรงสั่งห้ามของพระเจ้าหลุยส์ก็เป็นการพยายามแก้ปัญหาทางกฎหมายซึ่งเป็นปัญหาที่สืบเนื่องของความขัดแย้งระหว่างอำนาจทางการเมืองการปกครองและอำนาจของสถาบันศาสนา
ขุนนางยี่สิบหกคนยอมรับพระราชกฤษฎีกาแต่ทีโอบาลด์ที่ 4 แห่งช็องปาญ (Theobald IV of Champagne) ผู้เป็นขุนนางผู้มีอำนาจไม่เห็นด้วยเพราะมีข้อตกลงกับชาวยิวที่การันตีรายได้พิเศษโดยการเก็บภาษี ทีโอบาลด์จึงกลายเป็นผู้เป็นปฏิปักษ์คนสำคัญของระบบการปกครองที่มีราชวงศ์กาเปเซียงเป็นผู้นำ
ในปี ค.ศ. 1225 สภาแห่งบูร์กก็สั่งตัดขาดเรมงด์ที่ 7 เคานต์แห่งตูลูส จากศาสนจักร และประกาศสงครามต่อขุนนางทางไต้ของฝรั่งเศส หลุยส์ทรงสนับสนุนความขัดแย้งเพื่อเป็นการส่งเสริมอำนาจของพระองค์เอง โรเจียร์-เบอร์นาร์ดที่ 2 เคานต์แห่งฟัว (Roger-Bernard II Count of Foix) พยายามรักษาความสงบแต่ก็ถูกยับยั้งโดยพระเจ้าหลุยส์ ความพยายามเพิ่มพูนอำนาจของพระองค์ได้รับความสำเร็จเป็นส่วนใหญ่แต่ก็ไม่ทรงทำเสร็จก่อนที่จะเสด็จสวรรคต
ขณะที่เสด็จกลับปารีสพระองค์ก็ทรงล้มประชวรด้วยโรคบิด และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1226 ที่ชาโตเดอมงป็องซีเยร์ (Montpensier) ในโอแวร์ญ พระศพฝังที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนี พระราชโอรสขึ้นครองราชบัลลังก์ต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส
ดูเพิ่ม
พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส
| |
---|---|
ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง (ค.ศ. 509–751) |
|
ราชวงศ์การอแล็งเฌียง รอแบร์เซียง และ โบโซนอยด์ (ค.ศ. 751–987) |
|
ราชวงศ์กาแป (ค.ศ. 987–1328) | |
ราชวงศ์วาลัว (ค.ศ. 1328–1589) | |
ราชวงศ์แลงคัสเตอร์ (ค.ศ. 1422–1453) | |
ราชวงศ์บูร์บง (ค.ศ. 1589–1792) | |
ราชวงศ์โบนาปาร์ต (ค.ศ. 1804–1814; ค.ศ. 1815) | |
ราชวงศ์บูร์บง (ค.ศ. 1814–1815; 1815–1830) | |
ราชวงศ์ออร์เลอ็อง (ค.ศ. 1830–1848) | |
ราชวงศ์โบนาปาร์ต (ค.ศ. 1852–1870) | |