Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
พริกไทย
พริกไทย | |
---|---|
Pepper plant with immature peppercorns | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | fruits |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Magnoliids |
อันดับ: | Piperales |
วงศ์: | Piperaceae |
สกุล: | Piper |
สปีชีส์: | P. nigrum |
ชื่อทวินาม | |
Piper nigrum L. |
พริกไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper nigrum) เป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงอาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากเปลือกเมื่อทำให้แห้งจะมีสีดำ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อน พบทั้งการใช้ประกอบอาหารทั้งผลแห้งและผลสดที่มีสีเขียว หรือผลแห้งป่นเป็นผงเรียกพริกไทยป่น ซึ่งพริกไทยเป็นพืชคนละสายพันธุ์กับพริก (Chilli)
ลักษณะทางภูมิศาสตร์และการกระจายพันธุ์
พริกไทยเป็นพืชประจำถิ่นในแถบตอนใต้ของเทือกเขากาตของรัฐเกรละในประเทศอินเดีย นอกจากนั้นยังเป็นพืชเศรษฐกิจในเขตร้อน เช่น ในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย บราซิล และอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตหลัก โดยเกษตรกรในจังหวัดจันทบรี เป็นผู้ผลิตหลักในประเทศไทย ร้อยละ 95ของประเทศโดย 2-3ปีที่ผ่านมา พบโรคระบาดในพริกไทย ระบาดหนักในหน้าฝนทำให้เกษตรกรปรับเปลื่ยนไปเพาะปลูกพืชอื่นที่ให้ผลผลิตดีกว่า โดย อำเภอที่เพาะปลูกมากที่สุดในจันทบุรีคือ อำเภอท่าใหม่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พริกไทยเป็นไม้เลื้อย เจริญในแนวดิ่ง สูงได้โดยการพันเกาะสิ่งอื่นได้ประมาณ 10 เมตรหรือมากกว่า มีลำต้นหลักและแตกแขนงออกเป็นพุ่ม มีการสร้างรากพิเศษสั้น ๆ บริเวณข้อเพื่อยึดเกาะสิ่งรอบข้าง ช่วยในการพยุงลำต้น ใบเดี่ยว รูปรี เรียงสลับ โคนใบและปลายใบแหลม หลังใบสีเขียวเข้ม มันวาว ท้องใบสีเขียวอ่อน ชื่อดอกแบบช่อเชิงลด ดอกย่อยสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน 50-150 ดอกต่อช่อ ผลทรงกลมแบบเมล็ดเดียวแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 มม. ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อสุกมีสีแดง ติดผลประมาณ 50-60 เมล็ดต่อช่อผล การเก็บเกี่ยว 7-8 เดือนนับจากการออกดอก หรือเมื่อผลแหลืองถึงแดง
การใช้ประโยชน์
ด้านอาหาร ผลและเมล็ดพริกไทยมีรสเผ็ดร้อน ใช้ปรุงรสได้ทั้งอ่อนและแก่ แกงที่ใช้พริกไทยเป็นองค์ประกอบมีหลายชนิด เช่น แกงเผ็ด ฉู่ฉี่ แกงกะหรี่ แกงเลียง ทอดมัน ผัด โจ๊ก ข้าวผัด เป็นต้น
ด้านสรรพคุณทางยาพื้นบ้าน มีการใช้พริกไทยในยาอายุรเวทในแถบเอเชียใต้ ส่วนมากใช้รักษาและบรรเทาอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร ขับพยาธิ แก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม ขับเสมหะ ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุแก้อาการอาหารไม่ย่อย ระงับอาการอาเจียน ผ่อนคลายอาการไม่สบายจากอาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์
ด้านสรรพคุณทางยาแผนตะวันตก พริกไทยดำมีสารจำพวกอัลคาลอยด์ ชื่อว่า ไพเพอร์รีน (piperine) มีรายงานว่ามีผลกดประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ลดไข้ ลดอาการเจ็บปวด ลดการอักเสบ และฆ่าแมลงได้ รวมทั้งยังมีการรรายงานว่าสารไปเปอรีนมีส่วนช่วยในการเพิ่มขึ้นของเม็ดสีในผิวหนัง
สรรพคุณของพริกไทยดำในการลดความอ้วน พริกไทยดำนั้นได้รับการยอมรับและยืนยันจากทีมวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาว่า พริกไทยดำสามารถที่จะช่วยลดความอ้วนได้อย่างมีประสิทธิภาพและดีเยี่ยมด้วยสารประกอบที่ชื่อว่า Piperine (ไพเพอร์รีน) ซึ่งมีคุณสมบัติในเรื่องของการช่วยขจัดและต่อต้านไขมันส่วนเกิน [1]
การขยายพันธุ์
พริกไทยสามารถปลูกได้ในเขตร้อน หรือปลูกในเรือนกระจกในเขตอบอุ่น โดยปกติแล้วสามารถปลูกได้โดยการการเพาะเมล็ด หรือการปักชำโดยอาศัยลำต้นส่วนยอดหรือส่วนอื่นๆที่ไม่แก่จนเกินไป
แหล่งข้อมูลอื่น
- การศึกษาพืชสกุลพริกไทยในประเทศไทย
- http://krataiku.com/ เว็ปไซด์ให้ความรู้เกี่ยวกับพริกไทย
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Piper nigrum |
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Piper nigrum ที่วิกิสปีชีส์