Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา หรือ ภาวะเสียการระลึกรู้ทางการเห็น (อังกฤษ: visual agnosia) เป็นความบกพร่องในการรู้จำวัตถุที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เป็นความบกพร่องในการเห็น (ไม่ใช่ความบกพร่องเป็นต้นว่า ความชัดเจน ลานสายตา หรือการมองกวาด) ในภาษา ในระบบความทรงจำ หรือเพราะมีเชาวน์ปัญญาต่ำ ภาวะนี้มีสองอย่าง คือแบบวิสัญชาน (apperceptive) และแบบสัมพันธ์ (associative)

การรู้จำวัตถุที่เห็นเกิดขึ้นที่ในระดับหลักๆ 2 ระดับในสมอง ในขั้นวิสัญชาน มีการนำลักษณะต่างๆ ของข้อมูลทางตาจากเรตินา มารวมกันเพื่อสร้างแบบแทนของวัตถุเพื่อการรับรู้ และเมื่อถึงขั้นสัมพันธ์ จึงมีการรวม ความหมายของวัตถุเข้าไปกับแบบแทนของวัตถุ แล้วจึงจะสามารถ บ่งชี้ว่าวัตถุนั้นคืออะไรได้

ถ้าบุคคลหนึ่งไม่สามารถรู้จำวัตถุได้เพราะไม่สามารถรับรู้รูปแบบที่ถูกต้องของวัตถุ แม้ว่า ความรู้เกี่ยวกับวัตถุเหล่านั้นจะไม่มีปัญหาอย่างไร นั่นเป็นการเสียการระลึกรู้แบบวิสัญชาน (เพราะไม่สามารถรับรู้รูปแบบของวัตถุนั้นอย่างถูกต้อง) ถ้าบุคคลสามารถรับรู้รูปแบบที่ถูกต้องของวัตถุได้ และมีความรู้เกี่ยวกับวัตถุเหล่านั้นด้วย แต่ว่า ไม่สามารถบ่งชี้วัตถุว่าคืออะไรได้ นั่นเป็นการเสียการระลึกรู้แบบสัมพันธ์ (เพราะสามารถรับรู้รูปแบบของวัตถุอย่างถูกต้อง แต่ไม่สามารถสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นกับวัตถุ จึงไม่สามารถบ่งชี้ว่าวัตถุนั้นคืออะไร)

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตามักจะเกิดขึ้นเพราะความเสียหายในซีกสมองทั้งสองข้างของสมองกลีบท้ายทอยด้านหลัง และ/หรือ สมองกลีบขมับ

ประเภทหลักและประเภทย่อย

มีภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา 2 แบบหลัก คือแบบวิสัญชาน และแบบสัมพันธ์ ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบวิสัญชาน (apperceptive visual agnosia) เป็นความไม่สามารถในการรู้จำวัตถุ แม้ว่า การเห็นขั้นพื้นฐานเช่น ความชัดเจน สี และความเคลื่อนไหว ยังเป็นปกติสมองต้องประสานลักษณะต่างๆ เช่นเส้น ความสว่าง และสีของข้อมูลทางตาอย่างถูกต้อง เพื่อจะสร้างการรับรู้โดยองค์รวมของวัตถุ ถ้ามีความล้มเหลวในการประมวลผลขั้นนี้ การรับรู้วัตถุนั้นย่อมมีการสร้างอย่างไม่บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น จึงไม่อาจที่จะรู้จำวัตถุนั้นได้ บุคคลผู้มีภาวะนี้ ไม่สามารถมีการรับรู้โดยองค์รวมของวัตถุจากข้อมูลทางตา กิจการงานที่ต้องอาศัยการลอกแบบหรือการจับคู่รูปภาพแบบง่ายๆ สามารถตรวจจับบุคคลผู้มีภาวะเสียการระลึกรู้แบบวิสัญชาน เพราะว่า บุคคลเหล่านั้นมีความสามารถที่ถูกตัดรอนและไม่สามารถทำกิจการงานเช่นนั้นได้

ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบสัมพันธ์ (associative visual agnosia) เป็นความไม่สามารถที่จะรู้จำวัตถุ แม้ว่า จะมีการรับรู้วัตถุที่ถูกต้อง และความรู้เกี่ยวกับวัตถุนั้นไม่มีความเสียหาย ภาวะนี้มีความเกี่ยวข้องกับการประมวลข้อมูลทางตา ในระดับที่สูงกว่าภาวะเสียการระลึกรู้แบบวิสัญชาน บุคคลผู้มีภาวะแบบสัมพันธ์สามารถลอกแบบหรือจับคู่รูปภาพที่ง่ายๆ ซึ่งแสดงว่า สามารถที่จะรับรู้วัตถุได้อย่างถูกต้อง นอกจากนั้นแล้ว ยังสามารถแสดงความรู้เกี่ยวกับวัตถุเมื่อทดสอบด้วยข้อมูลทางการสัมผัสหรือทางคำพูด แต่ว่า เมื่อถูกทดสอบด้วยข้อมูลทางตา ก็ไม่สามารถบอกชื่อหรือพรรณนาถึงวัตถุที่สามัญทั่วไปได้ ซึ่งหมายความว่า มีความบกพร่องในการสัมพันธ์การรับรู้วัตถุนั้น กับความรู้ที่มีอยู่เกี่ยวกับวัตถุนั้น บุคคลผู้มีภาวะนี้ไม่สามารถให้ความหมายกับการรับรู้วัตถุได้ การรับรู้วัตถุนั้นมีอยู่ แต่ไม่มีความหมายอะไรต่อบุคคลผู้มีภาวะนี้

ประเภทย่อยของการเสียการระลึกรู้แบบสัมพันธ์

ประเภทย่อยๆ ของภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบสัมพันธ์ ได้แก่

  • ภาวะเสียการระลึกรู้สี (Achromatopsia) ซึ่งเป็นความไม่สามารถในการแยกแยะสี ที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติที่ตา
  • ภาวะบอดใบหน้า (prosopagnosia) ซึ่งเป็นความไม่สามารถในการรู้จำใบหน้า บุคคลภาวะนี้รู้ว่า ตนกำลังมองเห็นใบหน้าอยู่ แต่ไม่สามารถรู้จำบุคคลนั้นว่าเป็นใคร แม้แต่บุคคลที่รู้จักกันดี
  • ภาวะเสียการระลึกทิศทาง (Orientation Agnosia) คือ ภาวะที่ไม่สามารถตัดสินหรือกำหนดแนวทิศทางของวัตถุต่างๆ เป็นต้นว่าแนวตั้ง แนวนอน
  • ภาวะเสียการระลึกรู้ภาษาใบ้ (Pantomime Agnosia) คือความไม่สามารถในการเข้าใจภาษาใบ้ คือกิริยาท่าทาง เป็นความสามารถที่ขาดคอร์เทกซ์สายตาด้านล่างไม่ได้

แบบอื่นๆ

รูปแบบอื่นๆ อีกของภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา ที่ปรากฏในเวชศาสตร์ก็คือ

  • ความบอดคำ ซึ่งเป็นความไม่สามารถในการรู้จำคำ,
  • ภาวะเสียการระลึกรู้สิ่งแวดล้อม เป็นต้นว่า ความไม่สามารถในการรู้จำจุดสังเกตต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม
  • simultanagnosia ซึ่งก็คือ ความไม่สามารถในการรับรู้วัตถุมากกว่าหนึ่งในขณะเดียวกัน

อาการ

ในขณะที่กรณีโดยมากของภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา พบในผู้ใหญ่ที่มีความเสียหายในสมองอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังมีกรณีในเด็กเล็กๆ ที่มีความเสียหายในสมองในระดับที่น้อยกว่า ที่เกิดอาการของภาวะนี้ในวัยพัฒนา

บ่อยๆ ครั้ง ภาวะนี้ปรากฏโดยอาการที่ไม่สามารถรู้จำวัตถุโดยรูปร่าง โดยปราศจากประเด็นปัญหาอย่างอื่นๆ เช่นปัญหาการเห็น นี่เห็นได้ง่ายที่สุดในภาวะบอดใบหน้า ที่คนไข้สามารถเห็นใบหน้าของคนอื่นๆ ใกล้ๆ แต่ไม่สามารถเชื่อมข้อมูลที่มีอยู่ แล้วรู้จำคนๆ นั้นได้ อาการอีกอย่างหนึ่งที่มีบ่อยๆ ก็คือ ความลำบากในการบ่งชี้วัตถุที่มีรูปร่างเหมือนๆ กัน ในภาพวาดที่มีรายละเอียดน้อย และรู้จำวัตถุที่มองจากมุมมองที่ไม่คุ้นเคย

ภาวะนี้เกิดขึ้นหลังจากความเสียหายต่อคอร์เทกซ์สายตาสัมพันธ์ (visual association cortex) ซึ่งเกิดขึ้นแม้เมื่อไม่มีความเสียหายต่อตาหรือใยประสาทตาที่นำข้อมูลสายตาไปยังสมอง ภาวะนี้เกิดจากความเสียหายต่อส่วนต่างๆ ของระบบสายตาในทางสัญญาณด้านล่าง ซึ่งรู้จักกันว่า วิถีประสาทสายตาบอกว่าอะไร เพราะว่า วิถีประสาทนี้ ยังบุคคลให้สามารถบ่งชี้วัตถุที่เห็นได้ ทางสัญญาณอีกทางหนึ่งที่เรียกว่า ทางสัญญาณด้านหลัง หรือวิถีประสาทบอกว่าที่ไหนหรืออย่างไร ซึ่งไม่มีความเสียหายในภาวะนี้ ยังบุคคลผู้มีภาวะนี้ให้มีพฤติกรรมนำโดยตา (เช่นการเอื้อมมือออกไปหยิบวัตถุ) ที่ยังเป็นปกติ

ความเสียหายต่อทางสัญญาณด้านล่างเฉพาะเขต ทำความสามารถในการรู้จำลักษณะเฉพาะอย่างๆ ของข้อมูลทางตาให้เสียหาย

เขตต่างๆ ที่อาจะเป็นเหตุให้เสียการระลึกรู้

ภาวะนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความเสียหายในเขตสัมพันธ์ของคอร์เทกซ์สายตา. เขตสมองต่างๆ ด้านข้างของสมองกลีบท้ายทอยปรากฏว่า ตอบสนองต่อวัตถุประเภทต่างๆ มากมาย.

ภาวะบอดใบหน้า (คือไม่สามารถรู้จำใบหน้าได้) เกิดขึ้นจากความเสียหายของเขตรับรู้ใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย (fusiform face area) งานวิจัยที่ใช้การสร้างภาพโดยกิจแสดงให้เห็นว่า มีเขตเฉพาะบางเขตที่มีหน้าที่โดยเฉพาะเกี่ยวกับการรู้จำใบหน้า เรียกว่า "เขตรับรู้ใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย" ซึ่งอยู่ในรอยนูนรูปกระสวย (fusiform gyrus) ของสมองกลีบขมับ แต่ว่า เขตนี้ไม่ได้รับรู้ใบหน้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรู้จำวัตถุที่บุคคลมีความชำนาญอื่นๆ ด้วย

เขตสายตาที่เรียกว่า extrastriate body area เริ่มทำงานด้วยการเห็นอวัยวะต่างๆ ของมนุษย์ที่มีอยู่ในรูปถ่าย ภาพเงา หรือ stick figure

มีการค้นพบว่า เขตรู้สถานที่รอบฮิปโปแคมปัส (parahippocampal place area) ในคอร์เทกซ์รอบฮิปโปแคมปัส เริ่มทำงานเมื่อเห็นทัศนียภาพและสิ่งแวดล้อมต่างๆภาวะเสียการระลึกรู้สีเหตุสมอง (cerebral achromatopsia) คือความไม่สามารถแยกแยะสีต่างๆ เกิดขึ้นเพราะความเสียหายต่อเขตสายตา V8 ของคอร์เทกซ์สายตาสัมพันธ์ (visual association cortex)

คอร์เทกซ์สายตาในสมองซีกซ้ายดูเหมือนว่าจะมีบทบาทสำคัญในการรู้จำความหมายของวัตถุสามัญ

ในวัฒนธรรมนิยม

ดู

  • Cant JD, Goodale MA (2007). "Attention to form or surface properties modulates different regions of human occipitotemporal cortex". Cereb. Cortex. 17 (3): 713–31. doi:10.1093/cercor/bhk022. PMID 16648452. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  • Cavina-Pratesi C, Kentridge RW, Heywood CA, Milner AD (2010). "Separate processing of texture and form in the ventral stream: evidence from FMRI and visual agnosia". Cereb. Cortex. 20 (2): 433–46. doi:10.1093/cercor/bhp111. PMID 19478035. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Goodale MA , Milner AD (2004). Sight Unseen: An Exploration of Conscious and Unconscious Vision. Oxford UK: Oxford University Press. p. 139. ISBN 978-0-19-856807-0. OCLC 54408420.

Новое сообщение