Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ภาวะเสียความเข้าใจความเจ็บปวด
Другие языки:

ภาวะเสียความเข้าใจความเจ็บปวด

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

ภาวะเสียความเข้าใจความเจ็บปวด (อังกฤษ: Pain asymbolia, pain dissociation) เป็นสภาพที่รู้สึกเจ็บปวดโดยไม่รู้สึกทุกข์ร้อน ปกติเป็นผลของการบาดเจ็บต่อสมอง, การผ่าตัดแบบ prefrontal lobotomy หรือ cingulotomy, และความไม่รู้เจ็บเพราะมอร์ฟีน นอกจากนั้น รอยโรคที่ insular cortex อาจกำจัดความไม่น่าชอบใจของสิ่งเร้าที่เจ็บ แม้จะยังสามารถรู้ตำแหน่งและระดับความรุนแรง ปกติแล้ว คนไข้จะรายงานว่ารู้สึกเจ็บแต่ไม่ทุกข์ร้อน คือเข้าใจว่าเจ็บ แต่ก็ไม่เดือดร้อน

insular cortex

โนซิเซ็ปเตอร์ทั่วร่างกายส่งข้อมูลไปยังคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง insular cortex ที่อยู่ใน Lateral sulcus ซึ่งเป็นช่องที่แบ่งสมองกลีบขมับจากสมองกลีบข้างและกลีบหน้า เป็นเขตสมองที่ตอบสนองอย่างแข็งขันและโดยเฉพาะต่อสัญญาณโนซิเซ็ปเตอร์ที่มาจากระบบรับความรู้สึกทางกาย และได้รับแอกซอนโดยตรงจากทาลามัสโดยเฉพาะจาก medial nuclei และ ventroposterior medial nucleus เซลล์ประสาทในสมองเขตนี้มีหน้าที่ประมวลข้อมูลภายในร่างกายแบบต่าง ๆ และมีบทบาทในการตอบสนองของระบบประสาทอิสระต่อความเจ็บปวด

คนไข้ที่มีรอยโรคในเขตนี้ ปรากฏอาการ Pain asymbolia ที่น่าแปลกใจ เพราะแม้จะรู้สึกเจ็บปวด แต่จะไม่ตอบสนองทางอารมณ์หรือทางพฤติกรรม โดยความเจ็บปวดจะไม่ให้ทำให้รู้สึกว่ามีอันตรายหรือมีภัย ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้แสดงนัยว่า insular cortex เป็นเขตสมองที่รวบรวมความรู้สึกเจ็บปวด และมีบทบาทในการตอบสนองทางอารมณ์และทางประชานต่อความเจ็บปวด

prefrontal lobotomy

คนไข้ที่ได้ผ่าตัดใยประสาทที่เชื่อมต่อกับ prefrontal cortex กับสมองส่วนอื่นออกหมดหรือเกือบหมด ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่เรียกว่า prefrontal lobotomy จะบกพร่องในความกังวลและการครุ่นคิดเรื่องความเจ็บปวด แต่ยังรู้สึกได้ว่าเป็นภัยถ้ามีคนอื่นชี้ให้ เทียบกับคนไข้ที่มี insular cortex เสียหาย ผู้จะไม่รู้สึกว่าความเจ็บปวดนั้นเป็นภัยโดยประการทั้งปวง

  • Basbaum AI, Jessell TM (2013). "24 - Pain". ใน Kandel Eric R, Schwartz James H, Jessell Thomas M, Siegelbaum Steven A, Hudspeth, AJ (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. pp. 530–555. ISBN 978-0-07-139011-8.

Новое сообщение