Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

มลภาวะทางแสง

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

มลภาวะทางแสง (อังกฤษ: light pollution) หมายถึง แสงประดิษฐ์ที่เกิดจากการกระทำกิจวัตรของมนุษย์ในเวลากลางคืน รวมถึงมลภาวะของแสงที่สว่างจ่าจนเกินความจำเป็นหรือแสงประดิษฐ์ที่ใช้ผิดวัตถุประสงค์ด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น สุนัข แมว นก สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์อื่นๆอีกมากมาย โดยที่สำคัญยังส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและต่อกิจกรรมดาราศาสตร์ของนักดาราศาสตร์ด้วย และการออกแบบหลอดไฟประดิษฐ์ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยที่สำคัญยังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมดาราศาสตร์ของนักดาราศาสตร์ด้วย และการออกแบบหลอดไฟประดิษฐ์ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือการติดตั้งหลอดไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือการติดตั้งหลอดไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สาเหตุ

1. การติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

2. การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

3. ขาดการควบคุมและจัดการระบบไฟฟ้าที่ไม่ดีพอ

4. การใช้งานแสงสว่างเกินความจำเป็น

ประเภท

มลภาวะทางแสงที่อาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมในลักษณะต่างๆมี 3 ประเภทหลักด้วยกัน

1. แสงบาดตา (Glare) คือ แสงหรือความสว่างความสว่างที่ส่องเข้ามาในดวงตาของผู้มองเห็นโดยตรงซึ่งแสงหรือความสว่างนั้นอาจทำให้เกิดการระคาย เคืองต่อดวงตาหรือทำให้เกิดอุปสรรคต่อการมองเห็นของผู้มองเห็น เช่น แสงบาดตา ที่ส่องมาจากโคมไฟหน้ารถยนต์ที่อาจทำ ให้ผู้ใช้รถยนต์คันอื่นๆหรือผู้ที่เดินถนน เกิดอาการระคายเคืองตา หรือสูญเสียความสามารถในการมองเห็นชั่วขณะ (Momentary Blindness) ในบางกรณีอาจก่อให้เกิด อาการบาดเจ็บจากการหดตัวของกล้ามเนื้อควบคุมม่านตา (Iris)

2. แสงเรืองไปยังท้องฟ้า (Sky Glow) คือ แสงหรือความสว่างบนท้องฟ้าที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ส่องแสงสว่างด้วยหลอดไฟหรือแสงประดิษฐ์ต่างๆขึ้นไปบนท้องฟ้า เช่น เกิดผลกระทบต่อความงามบนท้องฟ้าและการศึกษาด้านดาราศาสตร์ (Astronomical Observation) ด้วยเหตุว่าแสงที่เรืองขึ้นไปบนท้องฟ้าเวลากลางคืนย่อมบดบังทัศนียภาพในการมอง เห็นดวงดาวด้วยตาเปล่าและสังเกตดวงดาวต่างๆด้วยตาเปล่า

3. แสงรุกล้ำไปในเคหสถานของผู้อื่น การรุกล้ำโดยแสง (Light Trespass) คือ แสงหรือความสว่างที่รุกล้ำเข้าไปในบริเวณของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ การออกแบบโครงสร้างของหลอดไฟหรือการออกแบบส่วนประกอบของแสงประดิษฐ์ที่ไม่ควบคุมบริเวณให้แสงสว่างได้ แต่ในทางกลับกันก็มีประโยชน์ของแสงที่รุกล้ำ คือ การออกแบบหลอดไฟฟ้า ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้แสงรุกล้ำไปยังทรัพย์สินหรือรบกวน ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเพื่อนบ้าน เช่น รัฐบาลอังกฤษได้กำหนดมาตรการในการควบคุมไม่ให้ มีการจำหน่ายหลอดไฟฟ้าขนาด 500 วัตต์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นหลอดไฟรักษาความปลอดภัย

4. แสงสับสน (Light Cutter) คือ แสงที่ทำให้เกิดความสับสนในการขับขี่ หรือการลงจอดของเครื่องบิน มักพบในเมืองที่ขาดการควบคุมแสง

ผลกระทบ

1.มลภาวะทางแสงที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ เมื่อ ค.ศ.1970 มีนักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้ตระหนัก ทางด้านมลภาวะทางแสง ที่มีผลกระทบต่อดวงดาว จึงได้ทำการศึกษามลภาวะที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ แสงสว่างที่มาจากดวงดาว ส่งผลให้การมองเห็นของดวงตาของเราที่มองอาจไม่ชัดเจน ทางนักดาราศาสตร์จึงศึกษา และอาศัยเครื่องมือทางดาราศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นดวงดาวอย่างชัดเจน ซึ่งการใช้เครื่องมือ ทำให้แสงที่ได้รับส่งผลกระทบต่อดวงตาของเรา นักดาราศาสตร์จึงมีการคิดค้นประสิทธิภาพในการสังเกตดวงดาว เช่น การส่องกล้องจาก กล้องจุลทรรศน์ เป็นต้น

มลภาวะทางแสงต่อการสังเกตดวงดาว

2. มลภาวะทางแสงที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ ของการใช้งานปริมาณหลอดไฟ ที่เกิดจากการใช้งานในโรงงานที่กำลังขยายตัวพื้นที่ อุตสาหกรรมและการควบคุม การขยายตัวผังเมือง ปราศจากมาตรการทางกฎหมายสิ่งแวดล้อม จึงก่อให้เกิดมลภาวะต่อแสง ที่มีผลกระทบต่อวัฏจักรของความเป็นอยู่ของมนุษย์และระบบนิเวศ รวมไปถึงการดำรงชีวิตของสัตว์และพืช

3. มลภาวะทางแสงที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมนุษย์ แสงที่ส่องในเวลาการคืน ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ นั้นมีหลายประการ เช่น มลภาวะทางแสงที่ส่งผลต่อต่อมไพเนียล (Pineal) ในเวลากลางคืนร่างกายของมนุษย์จะหลั่งสารที่ เรียกว่า เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งส่งผลต่อการนอนหลับ (Sleep Disorder) และก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม เป็นต้น

4. มลภาวะทางแสงที่เกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรม หลอดไฟที่ส่องสว่างตามถนน (Street Light) และหลอดไฟที่ให้ความปลอดภัย (Security Light) เพื่อประโยชน์แก่ผู้สัญจรทางเท้าให้มีความปลอดภัยในการมองเห็นในเวลากลางคืนได้อย่างชัดเจน และช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุการสัญจรบนถนน รวมถึงความปลอดภัยจากอาชญากรรมจากการเดินทางบนถนนมากยิ่งขึ้น แสงสว่างจ้า (glare) ที่ส่องมาเข้าดวงตาของแกนนำการชุมนุมหรือประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมโดยตรง การใช้เทคโนโลยีแสงสว่างหรือไฟส่องสว่างในบริเวณพื้นที่ชุมนุมที่มีทิศทางส่องรุกล้ำไปยังที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ส่วนตัวของประชาชนที่อยู่อาศัยโดยรอบ (trespassing lights) รวมไปถึงการส่องแสงสว่างจากการออกแบบหรือติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟในบริเวณพื้นที่ที่มีการชุมนุมทางการเมืองในลักษณะที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เกิดทิศทางของแสงส่องเรืองขึ้นไปยังท้องฟ้าในเวลากลางคืน (sky glow) ซึ่งไม่เพียงจะทำให้เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช้เหตุแล้ว แสงส่องเรืองขึ้นไปยังท้องฟ้าในเวลากลางคืนยังอาจทำลายธรรมชาติและความมืดมิดในยามค่ำคืนในบริเวณโดยรอบพื้นที่

การป้องกัน

ประเภทของแสง การป้องกัน
แสงสียูวีจากแสงแดด 1. สามารถปกป้องผิวหนังจากแสงแดดด้วยการใช้ครีมกันแดด

2. ใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกาย ใส่หมวก เมื่อต้องพบเจอแสงแดด

3. สามารถปกป้องดวงตาซึ่งเป็นอวัยวะที่บอบบางให้ปลอดภัย ได้โดยดวงตาของเราจึงถูกสร้างให้ถูกห่อหุ้มด้วยกระดูกเบ้าตา มีเปลือกตา ขนคิ้วและขนตาเป็นเกราะป้องกันอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้การหดแคบลงของรูม่านตา การหลับตาหรือการหรี่ตา ก็เป็นอีกกลไกหนึ่งที่ช่วยปกป้องดวงตาตามธรรมชาติเมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงที่สามารถมองเห็นด้วยตา แต่จะไม่ถูกกระต้นด้วยรังสียูวี ดังนั้น แม้ในวันที่ไม่มีแสงแดดจ้า เราจะยังคงได้รับรังสียูวีในปริมาณมากอยู่ กล่าวคือ ประสิทธิภาพของกลไกป้องกันดวงตาตามธรรมชาติจึงอาจมีข้อจำกัด

4. ป้องกันดวงตาด้วยการใส่แว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสีจากแสงแดดที่สามารถเป็นอันตรายต่อตาได้

แสงสียูวีจากเครื่องถ่ายเอกสาร 1. ทุกครั้งที่ถ่ายเอกสารจะต้องปิดแผ่นปิด cover ทุกครั้งเพื่อป้องกันแสงที่จะสัมผัสกับเราโดยตรง

2. สามารถป้องกันไอระเหยจากหมึกที่ทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการไอ จาม ปวดศีรษะ วิงเวียน ระคายเคืองตาได้อีกด้วย จึงควรตั้งเครื่องถ่ายเอกสารในที่ๆมีการระบายอากาศที่ดี

แสงสียูวีจากหลอดไฟชนิดต่างๆ 1. ปรับระดับความสว่างของหลอดไฟให้พอดี

2. ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 ขึ้นไปเป็นประจำทุกวัน เพื่อปกป้องผิวสวยๆ ของคุณไม่ให้เสียหรือมีริ้วรอยต่างๆ ก่อนวัยอันควร

3. ไม่ควรอยู่ใกล้หลอดไฟเป็นเวลานานเกินไป ระยะที่ไม่ควรเข้าไปใกล้ไปมากกว่า 1 เมตร

แสงสียูวีจากจอโทรทัศน์ 1. ไม่ควรดูโทรทัศน์เป็นเวลานานเกินไป

2. ควรหากิจกรรมอย่างอื่นทำแทน เช่น การอ่านหนังสือหรือเล่นกีฬา

แสงสียูวีจากจอคอมพิวเตอร์และจอโทรศัพท์ 1. ควรเปิดไฟคอมพิวเตอร์หรือใช้โทรศัพท์ ปรับไฟหน้าจอให้เหมาะสม
Tablet2.jpg

2. ไม่ใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป ควรพักสายตาด้วยการมองไปที่อื่นบ้าง ก็จะทำให้หายเมื่อยตาได้

3. ใช้แผ่นกรองรังสีติดไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งพอจะช่วยลดการกระจายรังสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะลดการกระจายรังสีได้มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแผ่นกรองรังสี

4. ควรหลีกเลี่ยงการนั่งทำงานอยู่ใกล้ด้านข้าง และด้านหลังคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานมากๆ ทั้งนี้เพื่อป้องกันรังสี UVA และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ขณะเดียวกันก็ควรนั่งห่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 24 นิ้ว หรือราว 2 ฟุต และควรห่างจากด้านข้าง และด้านหลังจอมากกว่า 30 นิ้ว

5. ปรับค่าแสงสว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ Darkness หรือ Brightness ให้เป็น 0 จะช่วยลดแสงที่ทำให้ผิวคล้ำผิวเสียได้ถึง 80% เชียวนะคะ เพราะแสงที่สว่างเกินไป สามารถทำลายเส้นประสาทภายในดวงตา และทำลายเซลล์ผิว

6. ปลูกต้นไม้ดูดซับรังสี ต้นกระบองเพชรสามารถช่วยลดปริมาณรังสีจากคอมพิวเตอร์ได้ซึ่งได้ข้อมูลมาจากบทความเกี่ยวกับความเจ็บป่วยจากจอคอมพิวเตอร์ของโรเจอร์ได้อ้างถึงผลวิจัยของสถาบัน Recherches en Geobiologie ของสวิตเซอร์แลนด์ นอกจานี้ต้นกระบองเพชรมีขนาดต้นที่เล็กและกระทัดลัดทำให้ดูไม่เกะกะ เมื่อออกดอกจะมีสีสันสวยงามทำให้ดูผ่อนคลายได้

7. ไม่ควรเล่นคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ในเวลากลางคือ เนื่องจากการเล่นคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนในตอนกลางคืนยังเสี่ยงจะทำให้อ้วนขึ้นด้วย เพราะแสงไฟสีฟ้าจะไปกระตุ้นความหิว

มาตรการควบคุม

1. มาตรการให้อนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลงหรือค่อเติมอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น

2. มาตรการกำหนดพื้นที่เพื่อควบคุมมลภาวะทางแสง

3. มาตรการกำหนดเวลาใช้งานหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟนอกอาคาร

4. มาตรการควบคุมการออกแบบและติดตั้งหลอดไฟฟ้าหรือโคมไฟให้เหมาะสม

5. มาตรการป้องกันการก่อให้ผู้อื่นเดือดร้อนรำคาญจากมลภาวะทางแสง

หลักกฎหมายและป้องกันปัญหามลภาวะทางแสง

ในหลายประเทศได้กำหนดมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมและป้องกันมลภาวะทางแสงโดยอาศัยแนวคิดพื้นฐานทางกฎหมาย หลายประการ

1. หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) กล่าวคือการแสวงหาแนวทางและวิธีการในการควบคุมและป้องกันมลภาวะทางแสงจำเป็นต้องคำนึงควบคู่ไปกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การกำหนดมาตรการในการควบคุมการขยายตัวของชุมชนเมืองเพื่อป้องกันปัญหามลภาวะทางแสง

2. หลักการระวังไว้ก่อน (Precautionary Principle) กล่าวคือการระวังถึงภัยของมลภาวะทางแสงโดยอาศัยแนวทางของการขจัดและการป้องกันไม่ให้มนุษย์และระบบนิเวศได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางแสงในลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้มีส่วน ด้เสียอื่นจำเป็นต้องตระหนักและระมัดระวังภัยที่จะเกิดขึ้น เช่น สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งสหรัฐอเมริกา (Illuminating Engineering Society—IES)

3. หลักการป้องกันล่วงหน้า (Prevention Principle)กล่าวคือภาครัฐควรร่วมมือกับภาคเอกชนในการกำหนดแนวทางและวิธีการลดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายทาง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากมลภาวะทางแสง เช่น การระบุพื้นที่กำหนดความเสี่ยงจากภัยมลภาวะทางแสงและการกำหนดพื้นที่ในการควบคุมมลภาวะทางแสงในระดับต่าง ๆ

4. หลักความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (Cooperation Principle) กล่าวคือไม่ว่าจะเป็นภาครัฐองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนและภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมหรือมีความร่วมมือ กันในการเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านมลภาวะทางแสงและร่วมกันปฏิบัติตามแนวทางระเบียบและกฎหมายที่ภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้บัญญัติไว้


Новое сообщение