Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
มวยไท่เก๊กตระกูลอู่
มวยไท่เก๊กตระกูลอู่ หรือ มวยไท่เก๊กตระกูลเฮ่อ (จีน: 武式太极拳; พินอิน: Wǔ shì tàijí quán) เป็นมวยไท่เก๊กสายตระกูลหนึ่งซึ่งสถาปนาขึ้นโดย ปรมาจารย์อู่ อวี่เซียง (ค.ศ. 1870-1942) โดยนำความรู้จาก วิชามวยไท่เก๊กดั้งเดิม, วิชาเต้าอิ่น (วิชาที่ฝึกให้ชี่หมุนเวียนไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย), ศิลปศาสตร์, แพทยศาสตร์, พลศาสตร์, กายภาพวิทยา, และปรัชญา มาประยุกต์รวมกัน
มวยไท่เก๊ก สกุลอู่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มวยไท่เก๊กสกุลอู่เฮ่อ ซึ่งเป็นหนึ่งในมวยไท่เก๊กห้าสกุลใหญ่ (เฉิน หยาง อู่ อู๋ ซุน)
มวยไท่เก๊กสกุลอู่มีการเคลื่อนไหวที่ เรียบง่าย ท่วงท่ารัดกุม ทุกส่วนเคลื่อนไหวต่อเนื่องไม่ขาดตอน เข้มงวดกับหลักของร่างกาย ที่ต้องประณีตและละเอียดอ่อน ร่างกายตั้งตรง ท่าเท้าเบาคล่อง การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างเนิบช้า รวมทั้งให้ความสำคัญกับกำลังภายใน ใช้การเคลื่อนไหวภายใน โดยการเปลี่ยนเต็มและว่างรวมทั้งการ “โคจรชี่ภายในอย่างซ่อนเร้น” มาประกอบกับท่วงท่าภายนอก
ขั้นตอนการฝึกมวยไท่เก๊กตระกูลอู่
- การฝึกมวยนี้ จำเป็นต้องฝึกตามขั้นตอน โดยจะเริ่มจาก การจดจำท่ารำ 96 ท่าให้ได้ก่อน แล้วจึงฝึกท่าร่าง 13 ประการของมวยไท่เก๊กตระกูลอู่ โดยจะต้องปฏิบัติท่าร่างทั้ง 13 ให้ได้ตลอดเวลา ขณะที่รำ 96 ท่า เมื่อผ่านพ้นจากขั้นนี้ไปจึงจะเริ่มฝึกสะสมกำลังภายในได้
- ส่วนการยืน การก้าวเท้านั้นจะต้องปฏิบัติตามแบบแผนเดิม หากก้าวเท้าแบบประยุกต์ หรือตามสบายแล้ว จะผิดหลักท่าร่าง 13 ประการ
ผลต่อสุขภาพ
การฝึกมวยไท่เก๊ก ก็คือการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดผลดีกับสุขภาพในหลายๆ ด้านเช่น
- ระบบประสาทส่วนกลางให้สมบูรณ์
- หัวใจ
- ระบบสูบฉีดโลหิต
- ระบบทางเดินหายใจ และอาการภูมิแพ้
- ช่วยให้ระบบย่อยอาหาร มีการดูดซึมที่ดี และมีการขับถ่ายของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
- ทั้งยังสามารถช่วยกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง
- ช่วยให้ข้อต่อต่างๆเคลื่อนไหวได้คล่อง อีกทั้งยังสามารถปรับโครงกระดูกให้เข้าที่ได้
ลักษณะเฉพาะของมวยไท่เก๊กตระกูลอู่
ผู้ฝึกจำเป็นจะต้องพินิจพิเคราะห์โดยสม่ำเสมอ ตลอดเวลาการฝึกฝน ให้ถูกต้องในทุกๆ กระบวนท่ามวยจนสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นธรรมชาติ การฝึกฝนควรเริ่มฝึกไปทีละท่าร่าง เมื่อทำได้จนหมดแล้ว จึงพยายามฝึกทำทั้ง 13 ท่าร่างให้ได้พร้อมกันขณะที่ฝึกฝนกระบวนท่ามวย
- หันซฺยง (จีน: 涵胸; พินอิน: hán xiōng)
- ป๋าเป้ย (จีน: 拔背; พินอิน: bá bèi)
- ถีติ่ง (จีน: 提頂; พินอิน: tí dĭng)
- เฉินโจ่ว (จีน: 沉肘; พินอิน: chén zhŏu)
- ซงเจียน (จีน: 松肩; พินอิน: sōng jiān)
- เตี้ยวตั่ง (จีน: 吊襠; พินอิน: diào dăng)
- กั่วตั่ง (จีน: 裹襠; พินอิน: guŏ dăng)
- ฮู่จุน (จีน: 護肫; พินอิน: hù zhūn)
- เหว่ยลหฺวีเจิ้งจง (จีน: 尾闾正中; พินอิน: wĕi lǘ zhèng zhōng)
- ชี่เฉินตันเถียน (จีน: 氣沉丹田; พินอิน: qì chén dān tián)
- เถิงหนัว (จีน: 腾挪; พินอิน: téng nuó)
- สั่นจั้น (จีน: 闪战; พินอิน: shăn zhàn)
- ซวีสือเฟินชิง (จีน: 虚实分清; พินอิน: xū shí fēn qīng)
ผู้สืบทอดมวยไท่เก๊กตระกูลอู่
ปัจจุบันสายของผู้สืบทอดมวยชุดนี้ อยู่ในรุ่นที่ 6 โดยมีผู้ที่เครือข่ายผู้สืบทอดไท่เก๊กแห่งประเทศจีน (จีน: 中华太极拳传承网; พินอิน: Zhōnghuá tàijí quán chuánchéng wǎng) ยอมรับอยู่ 22 ท่าน คือ
- หลี่ เหว่ยหมิง (จีนตัวย่อ: 李伟明; จีนตัวเต็ม: 李偉明; พินอิน: Lǐ Wěimíng)
- หลิว จีซุ่น (จีนตัวย่อ: 刘积顺; จีนตัวเต็ม: 劉積順; พินอิน: Liú Jīshùn)
- เฉิน ซู่ต้าว (จีนตัวย่อ: 陈树道; จีนตัวเต็ม: 陳樹道; พินอิน: Chén Shùdào)
- เจี่ย ไห่ชิง (จีนตัวย่อ: 贾海清; จีนตัวเต็ม: 賈海清; พินอิน: Jiǎ Hǎiqīng)
- ฉี เยว่เฉิง (จีนตัวย่อ: 祁悦曾; จีนตัวเต็ม: 祁悅曾; พินอิน: Qí Yuècéng)
- จาง กวางหลิน (จีนตัวย่อ: 张光林; จีนตัวเต็ม: 張光林; พินอิน: Zhāng Guānglín)
- กัว ยวี่จิน (จีน: 郭玉金; พินอิน: Guō Yùjīn)
- อู๋ เหยียนเฉียง (จีนตัวย่อ: 吴延强; จีนตัวเต็ม: 吳延強; พินอิน: Wú Yánqiáng)
- จาง ไห่ควัน (จีนตัวย่อ: 张海宽; จีนตัวเต็ม: 張海寬; พินอิน: Zhāng Hǎikuān)
- เห่า ผิงซุ่น (จีนตัวย่อ: 郝平顺; จีนตัวเต็ม: 郝平順; พินอิน: Hǎo Píngshùn)
- หยาง ฟางเถียน (จีนตัวย่อ: 杨芳田; จีนตัวเต็ม: 楊芳田; พินอิน: Yáng fāngtián)
- จาง จิ่วหัว (จีนตัวย่อ: 张九华; จีนตัวเต็ม: 張九華; พินอิน: Zhāng Jiǔhuá)
- เห่า เซี่ยงหรง (จีนตัวย่อ: 郝向荣; จีนตัวเต็ม: 郝向榮; พินอิน: Hǎo Xiàngróng)
- หลี่ จื้อหง (จีนตัวย่อ: 李志红; จีนตัวเต็ม: 李志紅; พินอิน: Lǐ Zhìhóng)
- หยาง จื้ออิง (จีนตัวย่อ: 杨志英; จีนตัวเต็ม: 楊志英; พินอิน: Yáng Zhìyīng)
- เจ้า เซี่ยนผิง (จีนตัวย่อ: 赵宪平; จีนตัวเต็ม: 趙憲平; พินอิน: Zhào Xiànpíng)
- หง ลี่ (จีนตัวย่อ: 洪丽; จีนตัวเต็ม: 洪麗; พินอิน: Hóng Lì)
- ไจ๋ ซื่อจง (จีน: 翟世宗; พินอิน: Zhái Shìzōng)
- จู เซี่ยนหง (จีนตัวย่อ: 朱现红; จีนตัวเต็ม: 朱現紅; พินอิน: Zhū Xiànhóng)
- หู เฟิงเหยียน (จีน: 胡峰岩; พินอิน: Hú Fēngyán)
- ผู่ กงต๋า (จีนตัวย่อ: 浦公达; จีนตัวเต็ม: 浦公達; พินอิน: Pǔ Gōngdá)
- จู เหยาเฉิง (จีนตัวย่อ: 朱瑶盛; จีนตัวเต็ม: 朱瑤盛; พินอิน: Zhū Yáochéng)
มวยไท่เก๊กตระกูลอู่ในประเทศไทย
เนื่องจากในอดีตอาจารย์ผู้สอนมวยไท่เก๊กตระกูลอู่ได้รับศิษย์ค่อนข้างน้อย วิทยายุทธ์ชนิดนี้จึงเผยแพร่ในวงจำกัด สำหรับในประเทศไทยมีการเชิญอาจารย์ หลี่ เหว่ยหมิง จากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาฝึกสอนที่สวนลุมพินี
- คณิต ครุฑหงษ์ (2527). มวยไทเก๊ก. สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, กรุงเทพฯ.
- หลี่ เว่ยหมิง (2552). 武式太极拳精粹研究全书, กรุงเทพฯ.