Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
มะเร็งตับอ่อน
มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer) | |
---|---|
แผนภาพแสดงตำแหน่งของตับอ่อน คืออยู่ด้านหลังของกระเพาะอาหาร | |
สาขาวิชา | วิทยาทางเดินอาหาร, วิทยาตับ, วิทยามะเร็ง |
อาการ | ดีซ่าน, ปวดท้อง, ปวดหลัง, น้ำหนักลด, อุจจาระสีซีด, ปัสสาวะสีเข้ม, เบื่ออาหาร |
การตั้งต้น | After 40 years old |
ปัจจัยเสี่ยง | การสูบบุหรี่, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากๆ, โรคอ้วน, เบาหวาน, โรคพันธุกรรมหายากบางชนิด |
วิธีวินิจฉัย | การสร้างภาพทางการแพทย์, การตรวจเลือด, การตัดชิ้นเนื้อตรวจ |
การป้องกัน | เลิกบุหรี่, ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์, ลดความอ้วน, ลดการบริโภคเนื้อแดง |
การรักษา | การผ่าตัด, การฉายรังสี, ยาเคมีบำบัด, การรักษาประคับประคอง |
พยากรณ์โรค | Five year survival rate 6% |
ความชุก | 393,800 (2015) |
การเสียชีวิต | 411,600 (2015) |
มะเร็งตับอ่อนคือมะเร็งที่เกิดขึ้นในตับอ่อน โดยเซลล์ในตับอ่อนเพิ่มจำนวนโดยไม่ถูกควบคุมเกิดเป็นก้อนมะเร็ง สามารถรุกรานและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ มีอยู่หลายชนิด ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือมะเร็งตับอ่อนชนิดเซลล์ต่อม หรือ อะดีโนคาร์ซิโนมา โดยพบเป็นร้อยละ 90 ของมะเร็งตับอ่อนทั้งหมด ทำให้บ่อยครั้งมีการใช้คำว่า "มะเร็งตับอ่อน" ในความหมายเดียวกันกับ "มะเร็งตับอ่อนชนิดเซลล์ต่อม" โดยมะเร็งชนิดเซลล์ต่อมนี้เจริญมาจากส่วนของตับอ่อนที่สร้างเอนไซม์ย่อยอาหาร ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนราวร้อยละ 1-2 จะเป็นมะเร็งชนิดนิวโรเอนโดคริน ซึ่งเจริญมาจากเซลล์ตับอ่อนส่วนที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน มะเร็งตับอ่อนชนิดนิวโรเอนโดครินมักมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดเซลล์ต่อม ทั้งนี้ มะเร็งชนิดนิวโรเอนโดครินอาจเจริญมาจากตับอ่อนส่วนที่เป็นต่อมก็ได้
ผู้ป่วยอาจมีอาการดีซ่าน (ตัวตาเหลือง) ปวดท้อง ปวดหลัง น้ำหนักลด อุจจาระสีซีด ปัสสาวะสีเข้ม และเบื่ออาหาร อย่างไรก็ดีในระยะแรกของโรคผู้ป่วยมักไม่มีอาการ หรือมีอาการแบบไม่จำเพาะเจาะจง กว่าจะแสดงอาการที่ทำให้นำไปสู่การวินิจฉัยมะเร็งตับอ่อนได้ก็มักเข้าสู่ระยะท้ายของโรคแล้ว ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีมะเร็งลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายแล้ว ณ วันที่วินิจฉัยได้
โรคนี้พบได้น้อยมากในคนอายุไม่เกิน 40 ปี และในบรรดาผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนด้วยกัน กว่าครึ่งเป็นคนอายุมากกว่า 70 ปีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งตับอ่อนมีหลายอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ โรคอ้วน เบาหวาน การกินเนื้อแดง และโรคทางพันธุกรรมบางชนิดซึ่งพบได้น้อย ผู้ป่วยร้อยละ 25 สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ และร้อยละ 5-10 สัมพันธ์กับพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมา เมื่อหยุดสูบบุหรี่แล้วโอกาสเกิดมะเร็งตับอ่อนจะค่อยๆ ลดลงจนเท่ากับคนที่ไม่สูบบุหรี่เมื่อเลิกมาแล้ว 20 ปี การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจด้วยการสร้างภาพทางการแพทย์ เช่น อัลตราซาวด์ หรือซีทีสแกน ร่วมกับการตรวจเลือด และการตัดชิ้นเนื้อตรวจ ระยะของโรคมีตั้งแต่ระยะ 1 ไปจนถึงระยะ 4การตรวจคัดกรองในคนทั่วไปที่ไม่มีอาการพบว่าไม่มีประสิทธิภาพ
การรักษาทำได้โดยการผ่าตัด การฉายรังสี การรับยาเคมีบำบัด การรักษาประคับประคอง รวมไปถึงการรักษาแบบผสมผสาน ทางเลือกในการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค การผ่าตัดเป็นทางเลือกเดียวที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในผู้ป่วยบางราย และอาจเป็นการรักษาที่ช่วยบรรเทาอาการในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด บางครั้งอาจต้องใช้ยาแก้ปวดและยาช่วยย่อย โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้เริ่มการรักษาแบบประคับประคองไปเลยตั้งแต่ช่วงแรกของการรักษา แม้จะเป็นรายที่มีแนวโน้มจะรักษาหายได้ก็ตาม
ข้อมูล ค.ศ. 2015 พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งตับอ่อนรวมกันทุกชนิดทั่วโลก 411,600 คน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับ 5 ในประเทศอังกฤษ และอันดับ 3 ในสหรัฐ ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว โดยคิดเป็นร้อยละ 70 ของผู้ป่วยใหม่ทั้งหมดจากข้อมูลปี ค.ศ. 2012 มะเร็งตับอ่อนชนิดเซลล์ต่อมโดยทั่วไปแล้วมีพยากรณ์โรคที่ไม่ดี โดยจะมีผู้ป่วยรอดชีวิตร้อยละ 25 ที่เวลาหนึ่งปีหลังวินิจฉัย และลดเหลือร้อยละ 5 ที่เวลาห้าปีหลังวินิจฉัย หากสามารถวินิจฉัยได้ในระยะเริ่มแรกอัตรารอดชีวิตที่ห้าปีจะเพิ่มเป็นร้อยละ 20 มะเร็งตับอ่อนชนิดนิวโรเอนโดครินมีพยากรณ์โรคที่ดีกว่า โดยมีอัตรารอดชีวิตที่ห้าปีอยู่ที่ร้อยละ 65 อย่างไรก็ดีอัตรารอดชีวิตยังมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดย่อย
ชนิด
มะเร็งตับอ่อนมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน ส่วนแบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่ม กลุ่มใหญ่ซึ่งคิดเป็นผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 95) เป็นมะเร็งที่เจริญมาจากส่วนของตับอ่อนที่ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์ย่อยอาหาร คือตับอ่อนส่วนที่เป็นต่อมมีท่อ (exocrine) ซึ่งยังสามารถแบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้อีก แต่มีแนวทางการวินิจฉัยและการรักษาคล้ายคลึงกัน อีกกลุ่มหนึ่งที่ถือเป็นส่วนน้อยคือมะเร็งที่เจริญมาจากส่วนของตับอ่อนที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน (ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อ) กลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากกลุ่มใหญ่ มีชื่อเรียกว่ามะเร็งตับอ่อนชนิดนิวโอเอนโดคริน หรือ PanNET ทั้งสองกลุ่มมักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี เป็นส่วนใหญ่ และพบในผู้ชายมากกว่าเล็กน้อย แต่มีชนิดย่อยที่หายากบางประเภทที่พบในผู้หญิงและเด็กเป็นส่วนใหญ่
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนในระยะแรกมักไม่มีอาการที่ชัดเจน ทำให้กว่าจะวินิจฉัยได้ก็มักพบว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปยังตำแหน่งต่างๆ นอกตับอ่อนเรียบร้อยแล้ว ถือเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมีอัตรารอดชีวิตต่ำ ข้อยกเว้นจะมีก็กรณีที่มะเร็งเป็นชนิด PanNET แบบต่อมทำงาน (functioning PanNET) ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการต่างๆ จากฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากเนื้องอกชนิดนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของฮอร์โมน
อาการแรกเริ่ม
มะเร็งตับอ่อนเป็นมะเร็งที่มักไม่ปรากฏอาการในระยะแรกๆ บางครั้งจึงถูกเรียกว่าเพชฌฆาตเงียบ (silent killer) และแม้ปรากฏอาการก็มักเป็นอาการที่ไม่มีความจำเพาะเจาะจง ดังนั้นบ่อยครั้งจึงวินิจฉัยไม่ได้จนกว่าโรคจะลุกลามไปมาก อาการที่พบบ่อยได้แก่
- ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ซึ่งอาจร้าวทะลุหลัง (พบในกรณีมะเร็งอยู่ที่ส่วนตัวหรือส่วนหางของตับอ่อน)
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
- น้ำหนักลด
- ดีซ่าน ตัวตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม พบในกรณีมะเร็งอยู่ที่หัวของตับอ่อน (60%) และทำให้ท่อน้ำดีร่วม (common bile duct) ช่วงที่ผ่านตับอ่อนเกิดตันขึ้น นอกจากนี้ยังอาจทำให้มีอุจจาระสีซีดหรืออุจจาระเป็นมัน อาจมีอาการคันจากดีซ่านได้
- อาการแสดงทรุสโซ (Trousseau sign)
- เบาหวานหรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากตับอ่อนทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนหลายคนเกิดมีเบาหวานขึ้นหลายเดือนหรือหลายปีก่อนตรวจพบมะเร็ง ผู้สูงอายุที่ตรวจพบว่าเพิ่งมีเบาหวานขึ้นใหม่อาจเป็นอาการแสดงแรกเริ่มของมะเร็งตับอ่อน
- พบโรคซึมเศร้าร่วมกับมะเร็งตับอ่อนได้บ่อยครั้ง บางครั้งมีก่อนตรวจพบมะเร็งตับอ่อน แม้ยังไม่ทราบความสัมพันธ์แน่ชัด
อาการในระยะแพร่กระจาย
เมื่อมะเร็งตับอ่อนแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้เพิ่มเติม โดยทั่วไปแล้วมะเร็งตับอ่อนชนิดเซลล์ต่อมมักแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง หลังจากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังตับ เยื่อบุช่องท้อง ลำไส้ใหญ่ หรือปอด บางครั้งอาจพบมะเร็งตับอ่อนแพร่กระจายไปยังกระดูก หรือสมอง ได้ แต่พบได้น้อย
การวินิจฉัย
มิญชพยาธิวิทยา
ชนิดมะเร็ง | อุบัติการณ์สัมพัทธ์ | ลักษณะที่พบเห็นในกล้องจุลทรรศน์ | ภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์ | ตัวบ่งชี้ทางอิมมูโนฮิสโตเคมี | การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม |
---|---|---|---|---|---|
Pancreatic ductal adenocarcinoma (PDAC) | 90% | Glands and desmoplasia | |||
Pancreatic acinar cell carcinoma (ACC) | 1% to 2% | Granular appearance | |||
Adenosquamous carcinoma | 1% to 4% | Combination of gland-like cells and squamous epithelial cells. | Positive for:
Negative for: |
||
Pancreatic neuroendocrine tumor | 5% | Multiple nests of tumor cells | Gastrinoma | ||
Pre-cancer below for comparison: | |||||
Precancer: Intraductal papillary mucinous neoplasm (IPMN) |
3% | Mucinous epithelial cells. Growth within the pancreatic ducts. |
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: มะเร็งตับอ่อน |
- มะเร็งตับอ่อน ที่เว็บไซต์ Curlie
ทางเดินอาหาร |
|
||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Accessory |
|
||||||||||||||||||
เยื่อบุช่องท้อง | |||||||||||||||||||
|
Pancreas/ islets of Langerhans |
|||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Hypothalamic/ pituitary axes +parathyroid |
|
||||||||||
Pinealoma | |||||||||||
MEN | |||||||||||
|