Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
รกเกาะต่ำ
รกเกาะต่ำ Placenta praevia | |
---|---|
ชื่ออื่น | Placenta previa |
รกปกติ (ซ้าย) และรกเกาะต่ำ (ขวา) | |
สาขาวิชา | สูติศาสตร์ |
อาการ | เลือดออกในมดลูกสีแดงสดโดยปราศจากอาการปวด |
ภาวะแทรกซ้อน |
มารดา: เลือดออกหลังคลอด ทารก: การเติบโตจำกัดในทารก |
การตั้งต้น | ครึ่งทางของการตั้งครรภ์ |
ปัจจัยเสี่ยง | อายุที่สูงขึ้น, การสูบบุหรี่, มีประวัติการทำ cesarean section, การกระตุ้นการคลอด, การยุติการตั้งครรภ์ |
วิธีวินิจฉัย | อัตราซาวด์ |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | Placental abruption |
การรักษา | นอนเตียง, cesarean section |
ความชุก | 0.5% ของการตั้งครรภ์ |
รกเกาะต่ำ หรือ รกขวางปากมดลูก (อังกฤษ: Placenta praevia หรือ Placenta previa) เป็นอาการที่รกฝังตัวภายในมดลูกแต่ในตำแหน่งที่ผิดปกติคือใกล้หรือเหนือข่องเปิดปากมดลูก อาการประกอบด้วยเลือดไหลในมดลูกเมื่อตั้งครรภ์ไปได้ครึ่งทาง เลือดที่ไหลนั้นมีสีแดงสดและมีกไม่มีอาการปวดร่วมด้วย อาการแทรกซ้อนอาจประกอบด้วย placenta accreta, ความดันเลือดต่ำเกินไป หรือ เลือดออกขณะคลอด ทารกที่คลอดออกมาอาจมีภาวะแทรกซ้อนคือการเจริญเติบโตที่จำกัดในทารก
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญประกอบด้วยการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากและการสูบบุหรี่ รวมถึงมีประวัติการทำ cesarean section, การกระตุ้นการคลอด หรือ การยุติการตั้งครรภ์ การวินิจฉัยสามารถกระทำได้ด้วยการอัลตราซาวด์ รกเกาะต่ำเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนการตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ประมาณ 0.5% พบภาวะรกเกาะต่ำ แต่สำหรับผู้ที่ผ่านการ cesarean sections สี่ครั้ง ความเสี่ยงจพสูงขึ้นเป็นพบได้ที่ 10% ของการตั้งครรภ์ อัตราเกิดโรคนี้สูงขึ้นในปลายศตวรรษที่ 20 ถึงต้นศตวรรษที่ 21 ภาวะนี้ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี 1685 โดยพอล พอร์ทอล (Paul Portal)
จีนแผ่นดินใหญ่มีความชุกของรกเกาะต่ำมากที่สุดในโลก ด้วยการพบภาวะรกเกาะต่ำเฉลี่ย 12.2 ต่อการตั้งครรภ์ 1000 ครั้ง นอกจากนี้ยังพบมากเป็นพิเศษในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ตามสาเหตุยังไม่ถูกค้นพบ ปัจจัยหลายอย่างอาจส่งผลให้สตรีชาวเอเชียมีโอกาสเกิดรกเกาะต่ำ เช่นอายุการตั้งครรภ์ที่สูกงว่า 35 ปี (advanced maternal age) หรือเคยได้รับการ Caesarean section มาก่อน, การตั้งครรภ์หลายครั้ง และการเคยมีประวัติแท้ง หรือ ยุติการตั้งครรภ์ ในบรรดาประเทศแถบเอเชีย ประเทศที่มีอัตรารกเกาะต่ำสูงคือญี่ปุ่น (13.9 ใน 1000) และเกาหลี (15 ใน 1000) ส่วนในแถบตะวันออกกลาง มีอัตราเกิดโรคต่ำกว่าทั้งในซาอุดิอาระเบีย (7.3 ต่อ 1000) และอิสราเอล (4.2 ต่อ 1000)
แหล่งข้อมูลอื่น
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
การตั้งครรภ์ |
|
||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Labor | |||||||||||||||||
Puerperal | |||||||||||||||||
Other | |||||||||||||||||
|
Maternal factors and complications of pregnancy, labour and delivery |
|||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Length of gestation and fetal growth |
|||||||||||||||
Birth trauma | |||||||||||||||
By system |
|
||||||||||||||
Infectious | |||||||||||||||
Other | |||||||||||||||
|