Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
ลำดับชั้นหลักฐาน
Другие языки:

ลำดับชั้นหลักฐาน

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
แผนภาพพีระมิดแสดงส่วนหนึ่งของลำดับชั้นหลักฐาน

ลำดับชั้นหลักฐาน (อังกฤษ: Evidence hierarchies) สะท้อนถึงความน่าเชื่อถือโดยเปรียบเทียบของงานวิจัยทางชีวเวช (biomedical research) ประเภทต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีลำดับชั้นหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่ว่า ก็ยังมีมติร่วมกันอย่างกว้าง ๆ เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของงานวิจัยประเภทหลัก ๆ คือ การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) น่าเชื่อถือกว่างานศึกษาแบบสังเกต (observational studies) ในขณะที่ความเห็นผู้เชี่ยวชาญ (expert opinion) และหลักฐานโดยเรื่องเล่า (anecdotal evidence) น่าเชื่อถือน้อยที่สุด ลำดับชั้นหลักฐานบางอย่างจะถือว่าการปริทัศน์เป็นระบบ (systematic review) และการวิเคราะห์อภิมาน (meta analysis) น่าเชื่อถือกว่า RCT เพราะว่างานเหล่านี้มักจะรวบรวมข้อมูลจาก RCT หลาย ๆ งาน และจากงานประเภทอื่น ๆ ด้วย ลำดับชั้นหลักฐานเป็นเรื่องสำคัญของเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (evidence-based medicine)

มีคำวิจารณ์ว่าลำดับชั้นหลักฐานแบบต่าง ๆ ให้ความเชื่อถือแก่ RCT มากเกินไป เพราะว่า ปัญหางานวิจัยทั้งหมดไม่สามารถตอบได้โดยใช้ RCT เพราะว่า เป็นงานที่ทำได้ยาก หรือเพราะมีปัญหาทางจริยธรรม นอกจากนั้นแล้ว แม้ว่าจะมีหลักฐานจาก RCT ที่มีคุณภาพสูง แต่หลักฐานจากงานวิจัยประเภทอื่น ๆ ก็ยังอาจจะสำคัญ

มีนักวิชาการท่านหนึ่งเสนอว่า

น้ำหนักความน่าเชื่อถือของงานวิจัยประเภทต่าง ๆ (คือ ลำดับชั้นหลักฐาน) เมื่อต้องตัดสินใจทำการรักษา จะให้ลำดับดังต่อไปนี้ คือ

  1. การปริทัศน์เป็นระบบ และการวิเคราะห์อภิมาน ของ "RCT ที่มีผลชัดเจน".
  2. การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่มีผลชัดเจน คือมีช่วงความเชื่อมั่น (confidence interval) ที่ไม่คาบเกี่ยวกับค่าขีดเริ่มต้นของผลที่จัดว่ามีนัยสำคัญทางคลินิก
  3. การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมที่มีผลไม่ชัดเจน คือมีช่วงความเชื่อมั่น (confidence interval) ที่คาบเกี่ยวกับค่าขีดเริ่มต้นของผลที่จัดว่ามีนัยสำคัญทางคลินิก (ซึ่งก็คือ ผลที่ได้จากวิธีการรักษามีค่าต่ำจนกระทั่งไม่ชัดเจนว่า มีผลจริง ๆ หรือไม่)
  4. งานศึกษาตามรุ่น (Cohort studies)
  5. งานศึกษามีกลุ่มควบคุม (Case-control studies)
  6. งานศึกษาแบบข้ามกลุ่ม (Cross-sectional study)
  7. รายงานเค้ส (Case reports)

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์

Новое сообщение