Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด

สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด

Подписчиков: 0, рейтинг: 0

สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด (อังกฤษ: angiogenesis inhibitor) เป็นสารที่ยับยั้งการเกิด/การงอกของเส้นเลือด สารบางอย่างมีในร่างกายและเป็นส่วนระบบควบคุมของร่างกาย และสารอื่น ๆ เป็นสารนอกร่างกายที่ได้จากยาหรืออาหาร สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือดเคยเชื่อว่ามีโอกาสเป็นยารักษาคลุมจักรวาลสำหรับมะเร็งต่าง ๆ มากมาย แต่การรักษาโรคได้จริง ๆ ปรากฏว่าจำกัด ถึงกระนั้น ยาก็ใช้รักษาโรคมะเร็ง จุดภาพชัดเสื่อม และโรคอื่น ๆ ที่มีเส้นเลือดงอกขึ้นมาใหม่ได้อย่างมีประสิทธิผล

กลไกการออกฤทธิ์

เมื่อเนื้องอกกระตุ้นให้งอกเส้นเลือดใหม่ นี่เป็นการเปิดสวิตช์กำเนิดเส้นเลือด ตัวกระตุ้นหลักในการเปิดสวิตช์ดูเหมือนจะเป็นการขาดออกซิเจน แม้ตัวกระตุ้นอื่น ๆ เช่นการอักเสบ การกลายพันธุ์ที่ก่อเนื้องอก และแรงกดแรงดึงก็อาจมีบทบาท การเปิดสวิตช์ทำให้เนื้องอกแสดงออกแฟกเตอร์ที่โปรโหมตกำเนิดหลอดเลือด แล้วเพิ่มเส้นเลือดในเนื้องอก

โดยเฉพาะก็คือ เซลล์เนื้องอกจะหลั่งแฟกเตอร์ไปยังเซลล์ข้าง ๆ ซึ่งโปรโหมตกำเนิดเส้นเลือด แฟกเตอร์รวมทั้ง angiogenin, vascular endothelial growth factor (VEGF), fibroblast growth factor (FGF), และ transforming growth factor-β (TGF-β) แฟกเตอร์เหล่านี้กระตุ้นการงอกขยาย, การย้ายที่, การรุกแทนที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง (endothelial cell) ซึ่งมีผลเป็นเส้นเลือดใหม่ ๆ ที่งอกจากเส้นเลือดที่อยู่ใกล้ ๆ โมเลกุลที่เป็นตัวยึดเซลล์ เช่น integrin เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพื่อย้ายและยึดเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงเข้ากับเมทริกซ์นอกเซลล์

การยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณของ VEGF

การยับยั้งกำเนิดเส้นเลือดต้องใช้การรักษาด้วยแฟกเตอร์ต้านกำเนิดเส้นเลือด หรือยาที่ลดการผลิตแฟกเตอร์โปรโหมตกำเนิดเส้นเลือด หรือป้องกันไม่ให้มันจับกับหน่วยรับของมัน หรือระงับฤทธิ์ของมัน การยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณของ VEGF ได้กลายเป็นประเด็นงานวิจัยในเรื่องกำเนิดเส้นเลือด เพราะเนื้อร้ายประมาณ 60% แสดงออก VEGF ที่ความเข้มข้นสูง กลยุทธ์เพื่อยับยั้งวิถีสัญญาณ VEGF รวมทั้งสารภูมิต้านทานที่ออกฤทธิ์ต้าน VEGF หรือต้านหน่วยรับ VEGF (VEGFR), หน่วยรับลูกผสม VEGFR/VEGFR ที่ละลายได้ (ซึ่งล่อจับ VEGF แทนหน่วยรับของเซลล์), และสารยับยั้งเอนไซม์ tyrosine kinase

สารยับยั้ง VEGF ที่ใช้แพร่หลายที่สุดในปัจจุบันคือ Bevacizumab ซึ่งจับกับ VEGF เป็นการยับยั้งไม่ให้มันจับกับหน่วยรับ VEGF ของเซลล์

การควบคุมภายในร่างกาย

กำเนิดหลอดเลือดในร่างกายจะควบคุมด้วยสารกระตุ้นและสารยับยั้งที่มีตามธรรมชาติ ซึ่งมีบทบาทในกระบวนการควบคุมการเกิดเส้นเลือดใหม่ที่มีวันต่อวัน และบ่อยครั้งเป็นสารอนุพันธ์จากโปรตีนที่เมทริกซ์นอกเซลล์หรือที่เยื่อฐาน (basement membrane) ซึ่งทำงานโดยกวนการสร้างและการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง กวนกำเนิดสัณฐานของหลอดเนื้อเยื่อบุโพรง (endothelial tube morphogenesis) และลดการแสดงออกของยีนที่เซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง

ในช่วงที่เนื้องอกเจริญเติบโต ฤทธิ์ของตัวกระตุ้นกำเนิดหลอดเลือดจะมากกว่าของตัวยับยั้ง ทำให้เส้นเลือดเกิดและงอกได้อย่างไม่ได้ควบคุมหรือควบคุมน้อยลง สารยับยั้งที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นยาที่น่าสนใจเพื่อรักษามะเร็ง เพราะมีพิษน้อยกว่าและมีโอกาสให้ดื้อยาน้อยกว่าสารยับยั้งนอกร่างกาย แต่การใช้สารยับยั้งที่มีในร่างกายก็มีข้อเสียเหมือนกัน ในงานศึกษาในสัตว์ ต้องใช้ยามากเพื่อป้องกันไม่ให้เนื้องอกโต และอาจจะต้องใช้ยาในระยะยาว

สารยับยั้ง กลไก
VEGFR-1 และ NRP-1 ที่ละลายได้ หน่วยรับเป็นตัวล่อ สำหรับ VEGF-B และ PIGF
Angiopoietin 2 สารต้าน angiopoietin 1
TSP-1 and TSP-2 ยับยั้งการย้ายที่เซลล์ การเพิ่มจำนวนเซลล์ การยึดติดของเซลล์ และการรอดชีวิตของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
angiostatin และโมเลกุลที่สัมพันธ์กันอื่น ๆ ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์และชักนำให้เซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงเกิดอะพอพโทซิส
endostatin ยับยั้งการย้ายที่เซลล์ การเพิ่มจำนวนเซลล์ และการรอดชีวิตของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
vasostatin, calreticulin ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
platelet factor-4 ยับยั้งการจับของ bFGF และ VEGF กับหน่วยรับ
TIMP และ CDAI ยับยั้งการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
Meth-1 และ Meth-2
IFN-α, -β และ -γ, CXCL10, IL-4, -12 และ -18 ยับยั้งการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง และลดการแสดงออกของ bFGF
prothrombin (kringle domain-2), antithrombin III fragment ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
prolactin ยับยั้ง bFGF และ VEGF
VEGI มีฤทธิ์ต่อการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
SPARC ยับยั้งการจับและฤทธิ์ของ VEGF ต่อหน่วยรับ
osteopontin ยับยั้งการส่งสัญญาณผ่าน integrin
maspin ยับยั้ง proteases
canstatin (เป็น fragment ของ COL4A2) ยับยั้งการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง ชักนำให้เกิดอะพอพโทซิส
proliferin-related protein เป็นโปรตีนในไลโซโซมที่จับกับหน่วยรับ mannose 6-phosphate

วิธีการล่าสุดอย่างหนึ่งในการส่งแฟกเตอร์ต้านกำเนิดหลอดเลือดเข้าในเนื้องอกของคนไข้มะเร็งก็คือ ใช้แบคทีเรียดัดแปรพันธุกรรมที่สามารถตั้งกลุ่มภายในเนื้อเยื่อที่มีชีวิต โดยเป็นแบคทีเรียกลุ่ม Clostridium, Bifidobacteria และ Salmonella ที่ได้เพิ่มยีนแฟกเตอร์ต้านกำเนิดหลอดเลือด เช่น endostatin และ IP10 chemokine และได้ลบยีนที่ก่อโรคออก ยังสามารถเพิ่มโปรตีนกำหนดเป้าหมายที่ด้านนอกของแบคทีเรียเพื่อให้ส่งเข้าไปสู่อวัยวะที่ถูกต้องในร่างกายได้ แบคทีเรียที่ฉีดให้คนไข้จะเข้าไปสู่เนื้องอก แล้วหลั่งยาที่ต้องการออกเรื่อย ๆ ในรอบ ๆ บริเวณที่เกิดเนื้องอก เพื่อกันไม่ให้มันได้ออกซิเจนแล้วในที่สุดทำให้มันตาย เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลทั้งในหลอดทดลองและในหนูแบบจำลอง และคาดว่าวิธีนี้จะใช้รักษามะเร็งแบบต่าง ๆ ในมนุษย์อย่างสามัญในอนาคต

การควบคุมอาศัยปัจจัยนอกร่างกาย

อาหาร

ข้อมูลเพิ่มเติม: อาหารกับโรคมะเร็ง

องค์ประกอบอาหารมนุษย์ที่สามัญ ก็มีฤทธิ์ยับยั้งกำเนิดหลอดเลือดอย่างอ่อน ๆ และดังนั้น จึงได้เสนอใช้ในการป้องกันกำเนิดหลอดเลือด คือป้องกันการแพร่กระจายของมะเร็งผ่านการยับยั้งกำเนิดเส้นเลือด โดยเฉพาะก็คือ อาหารต่อไปนี้มีสารยับยั้งในระดับสำคัญ และได้เสนอให้เป็นส่วนของอาหารสุขภาพเพื่อประโยชน์นี้และอื่น ๆ

  • ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เต็มเป (ซึ่งมีสารยับยั้ง genistein)
  • เห็ด Agaricus subrufescens (ซึ่งมีสารยับยั้ง sodium pyroglutamate และ ergosterol)
  • สารสกัดจากราสเบอร์รี่ Rubus occidentalis
  • เห็ดหลินจือ (ผ่านการยับยั้ง VEGF และ TGF-beta)
  • เห็ด Trametes versicolor (สารยับยั้ง Polysaccharide-K)
  • เห็ด Grifola frondosa (เห็ดมัยตะเกะ) (ผ่านการยับยั้ง VEGF)
  • เห็ด Phellinus linteus (ผ่านสารออกฤทธิ์ Interfungins A ซึ่งยับยั้งกระบวนการ glycation)
  • ชาเขียว (ผ่าน catechin)
  • ชะเอมเทศ (ผ่าน glycyrrhizic acid)
  • ไวน์แดง (ผ่าน resveratrol)
  • สารพฤกษเคมีและสมุนไพรที่ต้านกำเนิดหลอดเลือด
  • อาหารที่ใช้เลี้ยงตัวอ่อนและนางพญาผึ้ง (Royal Jelly) (ผ่าน Queen bee acid)

ยา

การวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้โดยมากเป็นไปเพื่อการรักษามะเร็งที่ดีขึ้น เนื้องอกจะไม่สามารถใหญ่กว่า 2 มม. โดยไม่มีเส้นเลือดงอกใหม่ นักวิทยาศาสตร์หวังว่า การยุติการงอกของเส้นเลือดจะกำจัดวิธีที่เนื้องงอกสามารถได้สารอาหารแล้วแพร่กระจายต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม: Anti-vascular endothelial growth factor therapy

นอกจากใช้เป็นยารักษามะเร็ง ยายับยั้งกำเนิดหลอดเลือดยังได้ตรวจสอบเพื่อเป็นสารต้านความอ้วน เพราะเส้นเลือดในไขมันยังจะไม่โตเต็มที่ และดังนั้น จึงสามารถทำลายได้ด้วยยา สารยับยั้งการเกิดหลอดเลือดยังใช้รักษาจุดภาพชัดเสื่อมแบบเปียก โดยระงับฤทธิ์ของ VEGF สารยับยั้งสามารถทำให้หลอดเลือดผิดปกติในจอตาหดลง และทำให้เห็นได้ดีขึ้น เมื่อฉีดยาเข้าไปในวุ้นตาโดยตรง

ภาพรวม

สารยับยั้ง กลไก
bevacizumab (Avastin) จับกับ VEGF
itraconazole ยับยั้งปฏิกิริยาฟอสโฟรีเลชันของหน่วยรับ คือ VEGFR, ยับยั้งกระบวนการ glycosylation, การส่งสัญญาณผ่าน mTOR, การเพิ่มจำนวนและการย้ายที่ของของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง, การเกิดช่อง lumen, และกำเนิดหลอดเลือดที่เกี่ยวกับเนื้องอก
carboxyamidotriazole ยับยั้งการเพิ่มจำนวนและการย้ายที่ของของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
TNP-470 (เป็นสารแอนะล็อกของ fumagillin)
CM101 ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันออกฤทธิ์
IFN-α (interferon alpha) ลดการแสดงออกของตัวกระตุ้นกำเนิดหลอดเลือด และยับยั้งการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
IL-12 (interleukin 12) กระตุ้นการสร้างสารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด
platelet factor-4 ยับยั้งตัวกระตุ้นกำเนิดหลอดเลือด
suramin
SU5416
thrombospondin
สารต้าน VEGFR
สเตอรอยด์ต้านกำเนิดหลอดเลือด + เฮพาริน ยับยั้งการแตกสลายของเยื่อฐาน
Cartilage-Derived Angiogenesis Inhibitory Factor
matrix metalloproteinase inhibitors
angiostatin ยับยั้งเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงไม่ให้เพิ่มจำนวนและชักนำให้เกิดอะพอพโทซิส
endostatin ยับยั้งการย้ายที่ การเพิ่มจำนวน และการรอดชีวิตของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
2-methoxyestradiol ยับยั้งการเพิ่มจำนวนกับการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง และชักนำให้เกิดอะพอพโทซิส
tecogalan ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
tetrathiomolybdate ทำให้เกิดคีเลชันกับทองแดงซึ่งยับยั้งการงอกหลอดเลือด
thalidomide ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
thrombospondin ยับยั้งการย้ายที่ การเพิ่มจำนวน การยึดเซลล์ และการรอดชีวิตของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
prolactin ยับยั้ง bFGF และ VEGF
สารยับยั้ง αVβ3 ชักนำให้เกิดอะพอพโทซิสของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
linomide ยับยั้งการย้ายที่ของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง
ramucirumab ยับยั้ง VEGFR2
tasquinimod ไม่ชัดเจน
ranibizumab ยับยั้ง VEGF
sorafenib (Nexavar®) ยับยั้ง kinases
sunitinib (Sutent®)
pazopanib (Votrient®)
everolimus (Afinitor®)
กลไกการออกฤทธิ์ของสารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด - Bevacizumab จะจับกับ VEGF ซึ่งยับยั้งไม่ให้มันจับแล้วเริ่มการทำงานของหน่วยรับ VEGF ส่วน Sunitinib และ Sorafenib ยับยั้งหน่วยรับ VEGF Sorafenib ยังออกฤทธิ์ต่อลำดับการส่งสัญญาณต่อ ๆ ไปอีกด้วย

Bevacizumab

ข้อมูลเพิ่มเติม: Bevacizumab

ผ่านการจับกับหน่วยรับ คือ VEGFR และหน่วยรับ VEGF อื่น ๆ ในเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง VEGF สามารถจุดชนวนการตอบสนองของเซลล์หลายอย่าง เช่น โปรโหมตการอยู่รอดของเซลล์ ป้องกันอะพอพโทซิส เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง cytoskeleton ซึ่งทั้งหมดล้วนโปรโหมตกำเนิดหลอดเลือด Bevacizumab (ชื่อการค้า Avastin) ดักจับ VEGF ให้อยู่ในเลือด ลดการจับของ VEGF กับหน่วยรับของมัน ซึ่งมีผลลดการทำงานในวิถีกำเนิดหลอดเลือด ดังนั้น จึงยับยั้งการงอกหลอดเลือดใหม่ในเนื้องอก

หลังจากการทดลองทางคลินิกหลายระยะในปี 2004 ยา Avastin ก็ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ กลายเป็นยาต้านกำเนิดหลอดเลือดแรกที่วางขายในตลาด แม้ต่อมาองค์การจะได้ถอนอนุมัติให้ใช้ยารักษามะเร็งเต้านมเมื่อปลายปี 2011

Thalidomide

แม้ยาต้านกำเนิดหลอดเลือดจะมีฤทธิ์ในการรักษา แต่ก็สามารถเป็นอันตรายเมื่อใช้ไม่ถูกต้อง ตัวอย่างหนึ่งก็คือ thalidomide ซึ่งเป็นยาที่ให้กับหญิงมีครรภ์เพื่อรักษาอาการแพ้ท้อง แต่เมื่อกินยาต้านกำเนิดหลอดเลือด ทารกในครรภ์จะไม่สามารถสร้างหลอดเลือดได้อย่างสมควร ดังนั้น จึงยับยั้งพัฒนาการที่สมควรของแขนขาและระบบหลอดเลือด ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 และต้นทศวรรษ 1960 เด็กเป็นพัน ๆ เกิดออกมาพิการ โดยเฉพาะแขนขาพิการ (phocomelia) เนื่องจากการใช้ยา thalidomide

Cannabinoids

ตามงานศึกษาปี 2004 cannabinoids ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ในกัญชา สามารถระงับการงอกเส้นเลือดใหม่ใน gliomas (เนื้องอกสมอง) ที่ปลูกใต้ผิวหนังของหนู โดยยับยั้งการแสดงออกของยีนที่จำเป็นเพื่อสร้าง VEGF

ผลข้างเคียงสามัญ

เลือดออก

อาการเลือดออกเป็นผลข้างเคียงที่จัดการได้ลำบากที่สุด โดยเป็นผลตามธรรมชาติของฤทธิ์ยา Bevacizumab ได้แสดงว่า เป็นยาที่มีโอกาสมากสุดในการก่อภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับเลือดออก แม้กลไกของสารต้าน VEGF ที่ทำให้เลือดออก จะซับซ้อนและยังไม่เข้าใจอย่างสมบูรณ์ แต่สมมติฐานที่ได้การยอมรับมากที่สุด ก็คือ VEGF อาจโปรโหมตการรอดชีวิตของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง และความแข็งแรงของหลอดเลือด ดังนั้น การยับยั้งมันจึงอาจลดสมรถถภาพในการฟื้นสภาพของเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงที่เสียหาย

เพิ่มความดันโลหิต

งานศึกษาปี 2009 แสดงว่า มีการเพิ่มความดันโลหิตโดยเฉลี่ย 8.2 mm Hg บน และ 6.5 mm Hg ล่างภายใน 24 ชม. แรกที่คนไข้ได้ยา sorafenib ซึ่งเป็นยายับยั้งวิถีการทำงานของ VEGF สำหรับผู้ที่ได้ยาเป็นครั้งแรก

ผลข้างเคียงที่สามัญน้อยกว่า

เพราะยาออกฤทธิ์ต่อหลอดเลือด จึงมักมีผลข้างเคียงต่อกระบวนการเกี่ยวกับหลอดเลือด นอกจากการตกเลือดและความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียงที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งผิวหนังแห้งและคัน อาการที่มือเท้า (คือ มีส่วนบวมนิ่มที่ผิวหนัง บางครั้งพร้อมกับอาการพองที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า) ท้องร่วง ล้า และเม็ดเลือดต่ำ ยายับยั้งกำเนิดหลอดเลือดอาจรบกวนการหายแผล และทำให้แผลเปิดหรือเลือดออก ถึงน้อยครั้ง แต่ลำไส้ก็อาจทะลุได้ด้วย

แหล่งข้อมูลอื่น


Новое сообщение