Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
สุลต่านมาห์มุดที่ 1
มาห์มุดที่ 1 محمود اول | |||||
---|---|---|---|---|---|
เคาะลีฟะฮ์ออตโตมัน อะมีรุลมุอ์มินีน กัยเซรีรูม ผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง สุลต่านแห่งสองดินแดน ข่านแห่งสองทะเล | |||||
สุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมัน (ปาดีชะฮ์) องค์ที่ 24 | |||||
ครองราชย์ | 20 กันยายน ค.ศ. 1730 – 13 ธันวาคม ค.ศ. 1754 | ||||
ก่อนหน้า | อาเหม็ดที่ 3 | ||||
ถัดไป | ออสมันที่ 3 | ||||
พระมเหสี |
|
||||
| |||||
ราชวงศ์ | ออตโตมัน | ||||
พระราชบิดา | มุสทาฟาที่ 2 | ||||
พระราชมารดา | ซาลีฮา ซุลตัน | ||||
ประสูติ | 2 สิงหาคม ค.ศ. 1696 พระราชวังเอดีร์แน, เอดีร์แน, จักรวรรดิออตโตมัน |
||||
สวรรคต | 13 ธันวาคม ค.ศ. 1754(1754-12-13) (58 ปี) พระราชวังโทพคาปึ คอนสแตนติโนเปิล จักรวรรดิออตโตมัน |
||||
ฝังพระศพ | สุสานของตูร์ฮัน ซุลตัน, มัสยิดใหม่, อิสตันบูล | ||||
ศาสนา | อิสลามนิกายซุนนี | ||||
ตราพระปรมาภิไธยทูกรา |
มาห์มุดที่ 1 (ตุรกีออตโตมัน: محمود اول, ตุรกี: I. Mahmud, 2 สิงหาคม ค.ศ. 1696 – 13 ธันวาคม ค.ศ. 1754) พระสมัญญา มาห์มุดหลังค่อม เป็นสุลต่านแห่งจักรวรรดิออตโตมันใน ค.ศ. 1730 ถึง 1754 พระองค์ครองราชย์หลังการก่อกบฏของปาโตรนา ฮาลิล และคงความสัมพันธ์อันดีกับจักรวรรดิโมกุลและจักรวรรดิซาฟาวิด
ชีวิตช่วงต้น
พระองค์เสด็จพระราชสมภพที่พระราชวังเอดีร์แนในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1696 พระราชโอรสในสุลต่านมุสทาฟาที่ 2 (ค.ศ. 1664–1703) กับซาลีฮา ซุลตัน ผู้ดำรงตำแหน่งวาลีเด ซุลตัน มาห์มุดที่ 1 เป็นพระเชษฐาของสุลต่านออสมันที่ 3 (ค.ศ. 1754–57) พระองค์มีโรคหลังค่อม
พระราชบิดาและตัวพระองค์ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่เอดีร์แน ในวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1702 พระองค์เริ่มศึกษาที่เอดีร์แน เมื่อพระราชบิดาถอดถอนตนเองจากพระราชบัลลังก์ พระองค์ถูกนำตัวไปอิสตันบูลและกักขังในKafes เป็นเวลา 27 ปี
ไม่มีใครทราบว่างพระองค์รับวัฒนธรรมได้ในช่วงนั้น เนื่องจากพระองค์ยังคงเล่นหมากรุก แต่งบทกวี และเล่นดนตรี นอกจากนี้ ชีวิตช่วงพระเยาว์และวัยรุ่นยังอยู่ในอันตราย โดยเฉพาะช่วงชีวิตใน Kafes
ความสัมพันธ์กับจักรวรรดิโมกุล
การทัพของชาห์นาเดอร์ต่อจักรวรรดิโมกุลก่อให้เกิดช่องว่างฝั่งตะวันตกของเปอร์เซีย ซึ่งสุลต่านมาห์มุดที่ 1 ได้เอาเปรียบอย่างมาก โดยก่อสงครามออตโตมัน–เปอร์เซีย (ค.ศ. 1743–46) ซึ่งจักรวรรดิโมกุล มูฮัมมัด ชาฮ์ ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับออตโตมัน และ Haji Yusuf Agha ทูตของจักรวรรดิ ความสัมพันธ์ระหว่างสองจักรวรรดิยังคงมีอยู่จนกระทั่งมูฮัมมัด ชาฮ์สวรรคตใน ค.ศ. 1748
ความสัมพันธ์กับจักรวรรดิซาฟาวิด
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1741 Hacı Han ทูตของชาห์นาเดอร์แห่งรัฐบาลอิหร่าน เดินทางมาที่อิสตันบูลพร้อมกับคนและยามสามพันคนเพื่อต่อระยะเวลาสันติภาพระหว่างพวกเขา โดยมีของขวัญหลายอย่างเช่นผ้าปักด้วยอัญมณี, ช้าง 10 เชือก และอาวุธล้ำค่า จากนั้นมีการจัดงานเลี้ยงให้ Hacı Han ที่ Fener Bahçesin
พระบรมวงศานุวงศ์
พระมเหสีของพระองค์ มีรายพระนามตามนี้:
- Hace Ayşe Alicenab Kadın; มเหสีหลัก;
- Ruhşah Kadın, มเหสีหลัก;
- Fehime Kadın, มเหสีองค์ที่สอง;
- Vuslat Kadın (สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1764, ฝังในสุสาน Karacaahmet, อิสตันบูล), มเหสีองค์ที่สาม;
- Hatem Kadın (สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1770, ฝังในมัสยิดอายัซมา, อิสตันบูล), มเหสีองค์ที่สี่;
- Hace Verdinaz Kadın (สิ้นพระนนม์ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1804,ฝังในมัสยิดเชห์ซาเด, อิสตันบูล), มเหสีองค์ที่ห้า;
- Rami Kadın, มเหสีองค์ที่หก;
- Habibe Kadın;
สวรรคต
ในช่วงฤดูหนาว พระพลานามัยของสุลต่านมาห์มุดที่ 1 เริ่มแย่ลงทุกวัน ในวันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1754 พระองค์เสด็จไปละหมาดวันศุกร์ หลังละหมาดเสร็จจึงเสด็จกลับพระราชวัง แต่ระหว่างทางพระองค์ล้มลงจากม้าและสวรรคตในวันเดียวกัน โดยฝังในสุสานพระปัยยิกาของพระองค์ที่สุสานตูร์ฮัน ซุลตันในมัสยิดใหม่ที่ Eminönü อิสตันบูล ประเทศตุรกี
หมายเหตุ
ข้อมูล
- Incorporates text from History of Ottoman Turks (1878)
- Peirce, Leslie P. (1993). The Imperial Harem: Women and Sovereignty in the Ottoman Empire. Oxford University Press. ISBN 978-0-195-08677-5.
- Kal'a, Ahmet; Tabakoğlu, Ahmet (2003). İstanbul su külliyâtı: Vakıf su defterleri : Suyolcu 2 (1871-1921). İstanbul Araştırmaları Merkezi. ISBN 978-9-758-21504-1.
- Şapolyo, Enver Behnan (1961). Osmanlı sultanları tarihi. R. Zaimler Yayınevi.
- Necepoğlu, Gülrü (January 1, 2002). Muqarnas: An Annual on the Visual Culture of the Islamic World, Volume 19. BRILL. ISBN 978-9-004-12593-3.
- Sakaoğlu, Necdet (2008). Bu mülkün kadın sultanları: Vâlide sultanlar, hâtunlar, hasekiler, kadınefendiler, sultanefendiler. Oğlak Yayıncılık. ISBN 978-9-753-29623-6.
- Uluçay, Mustafa Çağatay (2011). Padişahların kadınları ve kızları. Ankara, Ötüken.
- Sakaoğlu, Necdet (2015). Bu Mülkün Sultanları. Alfa Yayıncılık. ISBN 978-6-051-71080-8.