Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

หนังหุ้มปลาย

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
หนังหุ้มปลาย
Foreskin2.jpg
หนังหุ้มปลายที่กำลังปกคลุมบางส่วนของสวนหัวองคชาต แสดงให้เห็นแถบริ้วที่ปรากฏที่ปลายสุดของหนังหุ้มปลาย
รายละเอียด
คัพภกรรม ปุ่มอวัยวะสืบพันธุ์, ส่วนทบอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ
หลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดงด้านบนขององคชาต
หลอดเลือดดำ หลอดเลือดดำด้านบนขององคชาต
ประสาท เส้นประสาทด้านบนขององคชาต
ตัวระบุ
ภาษาละติน Praeputium
MeSH D052816
TA98 A09.4.01.011
TA2 3675
FMA 19639
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ในกายวิภาคศาสตร์มนุษย์เพศชาย หนังหุ้มปลาย คือส่วนทบแบบสองขั้นของกล้ามเนื้อเรียบ หลอดเลือด เซลล์ประสาท ผิวหนัง และ เยื่อเมือก ที่เป็นส่วนหนึ่งของขององคชาต ทำหน้าที่ปกคลุมและปกป้องส่วนหัวองคชาตและรูปัสสาวะ มันยังสามารถอธิบายว่าเป็นหนังหุ้มปลายองคชาตได้อีกด้วย ในทางกว้างขึ้นทางศัพท์เทคนิคนั้นจะหมายรวมไปถึงหมวกปุ่มกระสัน (Clitoral hood) ในผู้หญิงด้วยด้วย ซึ่งหนังหุ้มปลายนั้นเป็นตัวอ่อนที่ต้นกำเนิดเหมือนกัน เป็นบริเวณเขตเยื่อบุทวารหนักกับผิวหนังที่ปกคลุมไปเส้นประสาทอย่างมากขององคชาต ซึ่งเกิดขึ้นใกล้กับส่วนปลายของหนังหุ้มปลาย หนังหุ้มปลายนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้ง่าย ยืดออกได้พอสมควร และทำหน้าที่เป็นสารหล่อลื่นตามธรรมชาติ

โดยปกติ หนังหุ้มปลายของผู้ใหญ่จะสามารถดึงรั้งลงมา (retractable) จากส่วนหัวองคชาตได้ ซึ่งครอบคลุมส่วนหัวทั้งในสถานะอ่อนตัวและแข็งตัว ขึ้นอยู่กับความยาวของหนังหุ้มปลาย เมื่อแรกเกิดหนังหุ้มปลายจะยึดอยู่กับส่วนหัวองคชาต และโดยทั่วไปจะยังไม่สามารถดึงรั้งลงได้ในวัยทารก เมื่อโตขึ้นในวัยเด็กสามารถจึงสามารถดึงรั้งลงมาได้ แต่จากผลสำรวจพบว่า 95% ของผู้ชายสามารถดึงรั้งหนังหุ้มปลายลงมาได้อย่างเต็มที่ขณะโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว การไม่สามารถดึงรั้งหนังหุ้มปลายลงมาได้ในวัยเด็กนั้นไม่ควรถือว่าเป็นปัญหาเว้นแต่มีอาการอย่างอื่น

องค์การอนามัยโลกมีการอภิปรายถึงหน้าที่อย่างแน่นอนของหนังหุ้มปลาย ซึ่งรวมถึง "ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นของส่วนหัวขององคชาต ปกป้องการพัฒนาขององคชาตในวัยแรก หรือเพิ่มความความสุขทางเพศเนื่องจากมีตัวรับความรู้สึก"

หนังหุ้มปลายอาจตกอยู่ภายใต้สภาวะทางพยาธิวิทยาจำนวนมาก ส่วนมากเงื่อนไขนั้นเกิดยาก และสามารถรักษาได้ง่าย ในบางกรณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับภาวะเรื้อรัง การรักษาอาจทำได้วิธีการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นการนำหนังหุ้มปลายองคชาตบางส่วนหรือทั้งหมดออกไป

อธิบาย

แผนภาพตัดแบ่งของกายวิภาคศาสตร์เพศชาย

เมื่อมองจากภายนอก หนังหุ้มปลาย คือ การต่อเนื่องกันของผิวหนังและแท่งองคชาต (Shaft) แต่ด้านใน หนังหุ้มปลาย คือ เยื่อเมือกเหมือนกับที่อยู่ด้านในของเปลือกตาหรือปาก เขตเยื่อบุทวารหนักกับผิวหนังเกิดขึ้นในบริเวณที่ด้านนอกและด้านในของหนังหุ้มปลายมาพบกัน แถบริ้วเป็นบริเวณที่ปกคลุมไปด้วยเนื้อเยื่อเส้นประสาทอย่างมากและอยู่ด้านในส่วนบนสุดของหนังหุ้มปลาย เช่นเดียวกับเปลือกตา หนังหุ้มปลายสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระหลังจากที่มันแยกตัวออกจากส่วนหัวองคชาตแล้ว ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงก่อนหรือในช่วงวัยเริ่มเจริญพันธุ์ โดยหนังหุ้มปลายถูกเชื่อมต่อกับส่วนหัวองคชาตด้วยเส้นสองสลึง

เทย์เลอร์และคณะ (ค.ศ. 1996) รายงานการนำเสนอเกี่ยวกับบัลบอยด์คอร์พัสเซิล (Bulboid corpuscle) และชนิดของปลายประสาทที่เรียกว่าแทคไทล์คอร์พัสเคิล ตามรายงานนั้น ความหนาแน่นของความกว้างในแถบริ้ว (บริเวณของริ้วเยื่อเมือกที่ส่วนปลายของหนังหุ้มปลาย) จะมีมากกว่าบริเวณเยื่อเมือกที่เรียบในบริเวณที่ยาวกว่า ซึ่งมีผลตามอายุ ซึ่งพวกมันจะลดลงหลังจากวัยรุ่น เมซเนอร์คอร์พัสเคิลไม่สามารถแยกได้ในทุกรายบุคคล ส่วนแบตและคณะ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเมซเนอร์คอร์พัสเคิลที่จำนวนของความแตกต่างไซท์ ประกอบด้วย "ปลายนิ้ว อุ้งมือ ด้านหน้าของแขนท่อนปลาย ฝ่าเท้า ริมฝีปาก หนังหุ้มปลายขององคชาต ด้านหลังของแขนและเท้า" พวกเขาพบว่าดัชนีเมซเนอร์ (Meissner's Index) ที่ต่ำที่สุดในเรื่องความหนาแน่นนั้นอยู่ในหนังหุ้มปลาย และในรายงานยังระบุอีกว่าคอร์พัสเคิลที่ไซท์นี้มีขนาดเล็กทางกายภาพ ซึ่งมีการบันทึกถึงความแตกต่างของรูปร่างด้วย พวกเขาสรุปว่าคุณลักษณะเหล่านี้ถูกพบใน "บริเวณความรู้สึกน้อยของร่างกาย" ในช่วงปลายยุค ค.ศ. 1950 วิงเกิลแมนน์ ชี้ว่าตัวรับค่าบางอย่างนั้นผิดพลาดที่นำมาใช้แยกเมซเนอร์คอร์พัสเคิล

วิทยาลัยแพทย์และศัลยแพทย์แห่งบริติชโคลัมเบีย ได้เขียนระบุเกี่ยวกับหนังหุ้มปลายว่าเป็น "การประกอบด้วยของผิวหนังด้านนอกและเยื่อเมือกด้านในซึ่งอุดมไปด้วยปลายประสาทสัมผัสพิเศษและเนื้อเยื่ออีโรจีนัส (Erogenous tissue)"

การพัฒนา

แปดสัปดาห์หลังจากการปฏิสนธิ หนังหุ้มปลายเริ่มเจริญขึ้นเหนือหัวขององคชาต และจะปกคลุมอย่างสมบูรณ์เมื่อวัย 16 สัปดาห์ ที่สถานะนี้ หนังหุ้มปลายและส่วนหัวองคชาตแบ่งปันเยื่อบุผิว (ชั้นเยื่อเมือก) ด้วยกัน นั่นทำให้มันรวมเข้าด้วยกัน และจะคงอยู่ไปจนกว่าหนังหุ้มปลายจะแยกออกจากส่วนหัวขององคชาต

ตามที่การศึกษาเมื่อปี 1949 โดยดักลาส แกรดเนอร์ หนังหุ้มปลายโดยทั่วไปจะยังคงถูกรวมเข้ากับส่วนหัวในตอนที่เกิด ในกระบวนการตอนวัยเด็ก มันจะแยกออกจากกันทีละน้อย จากรายงานนั้นจะแตกต่างกันออกไปตามอายุที่หนังหุ้มปลายจะสามารถแยกออกได้ เมื่อปี 2005 ทอร์วาลด์เซนและเมย์ฮอฟฟ์ รายงานว่า 21% ของเด็กชายวัย 7 ปีในการศึกษาของพวกเขาไม่สามารถแยกหนังหุ้มปลายออกได้ และสัดส่วนนี้จะลดลงไป 7% ในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ ซึ่งการแยกออกครั้งแรกนั้นเฉลี่ยจะอยู่ที่อายุประมาณ 10.4 ปี แต่รายงานของแกรดเนอร์เมื่อปี 1949 ระบุว่ามีเพียง 10% ของเด็กชายวัย 3 ปีเท่านั้นที่ไม่สามารถแยกหนังหุ้มปลายออกได้ อย่างไรก็ตาม แกรดเนอร์นั้นมีข้อผิดพลาดในเรื่องของการพัฒนาและการแยกออกของหนังหุ้มปลาย รายงานของไรท์ (Wright) เมื่อปี 1994 ได้โต้แย้งในการใช้ความรุนแรงในการแยกหนังหุ้มปลาย ซึ่งควรหลีกเลี่ยงการกระทำนั้น และควรให้ตัวเด็กเองเป็นผู้แยกหนังหุ้มปลายของเขาเองในครั้งแรก ความพยายามที่จะแยกหนังหุ้มปลายอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดและเป็นเหตุแห่งอาการบาดเจ็บได้

ภาพของหนังหุ้มปลายที่แยกออกจากส่วนหัวองคชาตเองตามธรรมชาติ ชั้นทั้งสองของหนังหุ้มปลายของผิวหนังด้านนอกและเยื่อยเมือกด้านในสามารถแยกออกจากส่วนหัว

ในวัยเด็ก หนังหุ้มปลายโดยมากจะปกคลุมส่วนหัวโดยสมบูรณ์ แต่ในวัยผู้ใหญ่มันอาจไม่เป็นอย่างนั้น Schöberlein (1966) ได้จัดการศึกษาผู้ชายวัยรุ่น 3,000 คนในเยอรมัน และพบว่า 41.9% ยังมีหนังหุ้มปลายปกคลุมบางส่วน และ 8.5% นั้นไม่มีปกคลุมแล้ว ราว ๆ ครึ่งหนึ่งในจำนวนนั้น (4%) หนังหุ้มปลายได้ถอยร่นไปเองตามธรรมชาติโดยปราศจากการศัลยกรรม ในระหว่างการแข็งตัว องศาของการถอยร่นของหนังหุ้มปลายนั้นต่างกันอย่างมาก ในผู้ใหญ่บางคน หนังหุ้มปลายจะยังคงเหลือปกคลุมทั้งหมดหรือบางส่วนของส่วนหัวองคชาต จนกระทั่งมีการถอยร่นด้วยตนเองหรือมีกิจกรรมทางเพศ ความแตกต่างนี้ถูกพิจารณาโดยเฉิงซูเมื่อปี 2011 ในฐานะเงื่อนไขผิดปกติชื่อว่า 'prepuce redundant' ความถี่ของการแยกออกและล้างภายใต้ของหนังหุ้มปลายนั้นแนะนำสำหรับผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีหนังหุ้มปลายยาวหรือหนังหุ้มปลายมากเกินไป เมื่อหนังหุ้มปลายนั้นยาวกว่าองคชาต มันจะไม่ถอยร่นออกไปเองขณะมีการแข็งตัว

มันแสดงให้เห็นว่าการดึงหนังหุ้มปลายโดยใช้มือระหว่างวัยเด็กหรือในวัยผู้ใหญ่ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตามปกติและดึงหนังหุ้มปลายลงโดยอัตโนมัติ ซึ่งชี้ว่ามีหลายเงื่อนไขที่มีผลต่อหนังหุ้มปลายซึ่งอาจกีดขวางหรือถนอมทางพฤติกรรม ในผู้ชายบางคน ตามที่ Xianze ระบุไว้เมื่อปี 2012 พวกเขาอาจไม่เต็มใจที่ส่วนหัวองคชาตของพวกเขานั้นถูกเปิดออก เพราะว่ารู้สึกไม่สะดวกสบายเมื่อมันถูกรบกวนจากการปะทะกับเสื้อผ้า แม้ว่าความรู้สึกไม่สะดวกสบายส่วนหัวของคชาตตามรายงานจะหายไปภายในเวลาหนึ่งสัปดาห์หลังจากเปิดออก Guochang (2010) รายงานว่าสำหรับคนที่มีหนังหุ้มปลายองคชาตที่คับแน่นจนเกินไปที่จะเปิดออกหรือมีบางสิ่งที่ยืดไว้ ควรหลีกเลี่ยงการเปิดออกเพราะอาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บได้

หน้าที่

หนังหุ้มปลายองคชาตปกคลุมบริเวณส่วนหัวองคชาตขณะไม่แข็งตัว (ภาพบน) แต่โดยทั่วไปมักเปิดออกเมื่อเกิดภาวะแข็งตัว (ภาพล่าง) การครอบคลุมส่วนหัวขององคชาตในขณะอ่อนตัวและแข็งตัวจะแตกต่างกันไปตามความยาวของหนังหุ้มปลาย

องค์การอนามัยโลกมีการอภิปรายถึงหน้าที่อย่างแน่นอนของหนังหุ้มปลาย ซึ่งรวมถึง "ทำหน้าที่รักษาความชุ่มชื้นของส่วนหัวขององคชาต ปกป้องการพัฒนาขององคชาตในวัยแรก หรือเพิ่มความความสุขทางเพศเนื่องจากมีตัวรับความรู้สึก" หนังหุ้มปลายช่วยให้องคชาตมีผิวหนังเพียงพอเมื่อเกิดการแข็งตัวและขยายออกได้อย่างเต็มรูปร่าง สมาคมเพศวิทยาคลินิกแห่งนอร์ดิก ได้ระบุว่าหนังหุ้มปลาย "ก่อให้เกิดการทำงานตามธรรมชาติเมื่อมีการใช้องคชาตในกิจกรรมทางเพศ"


Новое сообщение