Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์เซลล์
หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์ เซลล์ | |
---|---|
ชื่ออื่น | Temporal arteritis, cranial arteritis, Horton disease, senile arteritis, granulomatous arteritis |
ภาพพยาธิวิทยาฮิสโตโลจีในหลอดเลือดแดงซีรีบรัล ย้อมสีแบบ Elastica | |
สาขาวิชา | วิทยารูมาตอยด์, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน |
อาการ | ปวดศีรษะ, ปวดขมับ, อาการไข้, เห็นภาพซ้อน, เปิดปากลำบาก |
ภาวะแทรกซ้อน | ตาบอด, เส้นเลือดแดงใหญ่แบ่งชั้น, เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง, polymyalgia rheumatica |
การตั้งต้น | อายุ > 50 |
สาเหตุ | การอักเสบยองวาซาวอซอรัมในผนังของหลอดเลือดแดง |
วิธีวินิจฉัย | ตามอาการและผลเลือด, ตรวจเนื้อเยื่อ |
โรคอื่นที่คล้ายกัน | หลอดเลือดแดงอักเสบทาคายาซุ,หลอดเลือดสมองแตก, อะมิลอยโดซิสปฐมภูมิ |
การรักษา | สเตรอยด์, ไบสฟอสฟอเนต, ตัวยับยั้งโปรตอนปั๊มป์ |
ความชุก | ~ 1 ใน 15,000 คน ต่อปี (อายุ > 50) |
หลอดเลือดแดงอักเสบแบบไจแอนต์ เซลล์ (อังกฤษ: Giant Cell Arteritis; GCA) หรือ หลอดเลือดแดงขมับอักเสบ (อังกฤษ: temporal arteritis) เป็นโรคภูมิต้านทานตนเองที่ก่อการอักเสบที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ อาการอาจประกอบด้วยปวดศีรษะ, ปวดขมับ, อาการไข้, เห้นภาพซ้อน และเปิดปากลำบาก อาการแทรกซ้อนอาจเกิดการอุดตันของเส้นเลือดแดงดวงตาส่งผลให้เกิดความพิการทางการมองเห็น, การขาดระหว่างชั้นของหลอดเลือดเดืองใหญ่ และ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง GCA มักมีความเกี่ยวพันกับการเกิดปวดกล้ามเนื้อทั่วแบบรูมาตอยด์
สาเหตุเกิดโรคยังคงไม่ทราบชัดเจน กลไกเกิดโรคประกอบด้วยการอักเสบของวาซาวอซอรัมในผนังของหลอดเลือดแดงที่มีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่เกิดที่หลอดเลือดแดงบริเวณศีรษะและคอ และมีบ้างพบที่หน้าอก การตรวจวินิจฉัยดูที่อาการแสดง, การตรวจเลือด และฉายภาพ ตรวจยืนยันโดยใช้การตรวจเนื้อเยื้อของหลอดเลือดแดงเทมโปรัล อย่างไรก็ตาม ราว 10% of ไม่พบคามผิดปกติในหลอดเลือดแดงเทมโปรัล
การรักษาโดยทั่วไปใช้ สเตรอยด์ในระดับสูง ส่วนใหญ่ใช้ prednisone หรือ prednisolone หลังอาการหายจึงลดโดสลงเหลือราว 15% ต่อเดือน
พบความชุกของโรคอยู่ที่ 1 ใน 15,000 คนที่อายุมากกว่า 50 ปี โดยทั่วไปมักพบผู้ป่วยโรคนี้มีอายุมากกว่าf 50 ปี และพบมากที่สุดในวัยช่วง 70 ปี โดยพบโรคในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และผู้มีเชื้อสายยุโรปเหนือมักพบป่วยมากกว่า พบการอธิบายโรคนี้ครั้งแรกในปี 1890
แหล่งข้อมูลอื่น
- Mackie, SL; Dejaco, C; Appenzeller, S; Camellino, D; Duftner, C; Gonzalez-Chiappe, S; Mahr, A; Mukhtyar, C; Reynolds, G; de Souza, AWS; Brouwer, E; Bukhari, M; Buttgereit, F; Byrne, D; Cid, MC; Cimmino, M; Direskeneli, H; Gilbert, K; Kermani, TA; Khan, A; Lanyon, P; Luqmani, R; Mallen, C; Mason, JC; Matteson, EL; Merkel, PA; Mollan, S; Neill, L; Sullivan, EO; Sandovici, M; Schmidt, WA; Watts, R; Whitlock, M; Yacyshyn, E; Ytterberg, S; Dasgupta, B (1 March 2020). "British Society for Rheumatology guideline on diagnosis and treatment of giant cell arteritis". Rheumatology. Oxford, England. 59 (3): e1–e23. doi:10.1093/rheumatology/kez672. PMID 31970405.
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |
Type I/allergy/atopy (IgE) |
|
||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Type II/ADCC (IgM, IgG) |
|
||||||||
Type III (Immune complex) |
|
||||||||
Type IV/cell-mediated (T-cells) |
|
||||||||
Unknown/ multiple |
|
||||||||
|