Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
อันดับจระเข้
อันดับจระเข้ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคครีเทเชียสตอนปลาย – ปัจจุบัน 83.5–0Ma | |
---|---|
ตามภาพจากบนซ้าย: จระเข้น้ำเค็ม (Crocodylus porosus), แอลลิเกเตอร์อเมริกา (Alligator mississippiensis), และ ตะโขงอินเดีย (Gavialis gangeticus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน |
เคลด: | Pseudosuchia |
อันดับใหญ่: | Crocodylomorpha |
เคลด: | Eusuchia |
อันดับ: |
อันดับจระเข้ Owen, 1842 |
กลุ่มย่อย | |
การกระจายของอันดับจระเข้ บนบก (สีเขียว) และในทะเล (สีน้ำเงิน) |
อันดับจระเข้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocodilia) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลาน โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่ เป็นสัตว์นักล่า อาศัยกึ่งบนบกและน้ำ ที่รู้จักโดยรวมในชื่อ "จระเข้" โดยสัตว์ในอันดับนี้มีหลักฐานปรากฏขึ้นบนโลกครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปลายยุคครีเทเชียส เมื่อ 95 ล้านปีก่อน และคาดว่าอยู่ร่วมสมัยกับไดโนเสาร์ จระเข้เป็นญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของนก (Aves) (จระเข้ และ นก เป็นสัตว์ในกลุ่มอาร์โคซอร์เพียงสองพวกที่อยู่รอดมาจนปัจจุบัน) จระเข้ดึกดำบรรพ์ มีหลายขนาดตั้งแต่ 4-5 เมตร ไปจนถึง 11.2 - 18 เมตร ได้แก่ ราห์มโฟห์ซูคัส (Rhamphosuchus) ที่อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสเมื่อ70ล้านปีมาแล้ว บางส่วนยังคงสืบเผ่าพันธุ์หรือวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่ง "อันดับจระเข้" ครอบคลุมถึง วงศ์จระเข้ (หรือ จระเข้แท้ — Crocodylidae) วงศ์แอลลิเกเตอร์ (คือ แอลลิเกเตอร์ หรือบางครั้งเรียก "จระเข้ตีนเป็ด" และเคแมน) และ วงศ์ตะโขง (วงศ์ Gavialidae)
ลักษณะ
เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนัง ซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้น แข็งแรง และมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ
เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ
ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย
ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ
อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง
พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม
อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการ
ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ
ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของอันดับจระเข้ (crocodilians) เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในการจัดลำดับวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก่อนหน้านี้ผลการศึกษาจำนวนมากในการระบุ "แผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์" (cladograms) หรือ "ลำดับเครือญาติ" (family trees) ของอันดับจระเข้ ด้วยการอ้างอิงจากการวิเคราะห์ลักษณะโครงกระดูกเพียงอย่างเดียว ผลพบว่าวงศ์จระเข้ (Crocodylidae) และวงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligatoridae) เป็นญาติใกล้ชิดและจัดเป็นกลุ่มพันธุ์ที่มีจมูกสั้นในชื่อ Brevirostres โดยมีวงศ์ตะโขง (Gavialidae) ที่มีจมูกยาวเป็นญาติที่แยกออกมาต่างหาก
ในปีพ.ศ. 2555 Erickson (และคณะ) ศึกษาวิวัฒนาการชาติพันธุ์จากการจัดลำดับดีเอ็นเอ เพื่อสร้างแผนภาพวิวัฒนาการชาติพันธุ์ที่มีความเป็นไปได้สูงสุดในความสัมพันธ์ระหว่างสายพันธุ์จระเข้ที่มีชีวิตในปัจจุบัน (ไม่รวมเคแมนชนิด Caiman yacare ซึ่งไม่มีหลักฐานดีเอ็นเอ) จากผลการศึกษานี้ การแบ่งด้วยความแตกต่างของโครงสร้างกระดูกเป็นกลุ่มจมูกสั้น (Brevirostres) จึงต้องถูกล้มล้างด้วยหลักฐานทางดีเอ็นเอของตะโขง (gavialids) ที่แม้มีจมูกยาวแต่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจระเข้ (Crocodylidae) มากกว่าจระเข้ตีนเป็ด (Alligatoridae)
อันดับจระเข้ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด (ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย) โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระหว่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis โดยแต่เดิมการวิเคราะห์ทางกายภาพโครงสร้างกระดูก จัดให้สกุล Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า
- วงศ์จระเข้ หรือ จระเข้แท้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crocodylidae; อังกฤษ: crocodile)
- วงศ์แอลลิเกเตอร์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Alligatoridae; อังกฤษ: alligator และ caiman) ได้แก่ แอลลิเกเตอร์ (หรือบางครั้งเรียก จระเข้ตีนเป็ด) และเคแมน
- วงศ์ตะโขง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gavialidae; อังกฤษ: gharial) ซึ่งรวมตะโขงแท้ (gharial — สกุล Gavialis) และ ตะโขงเทียม (false gharial — สกุล Tomistoma)
Crocodilia |
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อนุกรมวิธาน
วงศ์ | สกุล | ภาพ | ชื่อวิทยาศาสตร์ | ชื่อสามัญ | ลักษณะ | แหล่งกระจายพันธุ์ | สถานะ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
วงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligatoridae) | สกุล Alligator | Alligator mississippiensis | แอลลิเกเตอร์อเมริกา (American alligator) |
|
สหรัฐอเมริกาทางตะวันออกเฉียงใต้ (ลุ่มน้ำมิสซิสสิปปี) | LCIUCN | ||
Alligator sinensis | แอลลิเกเตอร์จีน (Chinese alligator) |
|
จีน ทางตะวันออก (ลุ่มแม่น้ำแยงซี) | CRIUCN | ||||
สกุล Paleosuchus | Paleosuchus palpebrosus |
เคแมนแคระกูว์วีเย
(Cuvier's dwarf caiman) |
|
อเมริกาใต้ (ลุ่มน้ำแอมะซอน) | LCIUCN | |||
Paleosuchus trigonatus | เคแมนหน้าเรียบ
(Smooth-fronted caiman) |
|
อเมริกาใต้ (ลุ่มน้ำแอมะซอน และลุ่มน้ำโอริโนโก) | LCIUCN | ||||
สกุล Caiman | Caiman yacare | เคแมนยากาเร
(Yacare caiman) |
|
อเมริกาใต้ ตอนใต้ | LCIUCN | |||
Caiman crocodilus | เคแมนแว่น
(Spectacled caiman) |
อเมริกากลาง อเมริกาใต้ในเขตลุ่มน้ำแอมะซอน และลุ่มน้ำโอริโนโก | LCIUCN | |||||
Caiman latirostris | เคแมนปากกว้าง
(Broad-snouted caiman) |
บราซิลตอนใต้ | LCIUCN | |||||
สกุล Melanosuchus | Melanosuchus niger | เคแมนดำ (black caiman) | อเมริกาใต้ | NEIUCN | ||||
วงศ์จระเข้ (Crocodylidae) | สกุล Crocodylus | Crocodylus niloticus | จระเข้แม่น้ำไนล์ |
|
แอฟริกา | LCIUCN | ||
Crocodylus suchus | จระเข้ทะเลทราย
(West African crocodile) |
สถานะทางอนุกรมวิธานมีความขัดแย้งและไม่ชัดเจน | แอฟริกากลางและตะวันตก
(เคยพบซากในแม่น้ำไนล์ตอนใต้) |
|||||
Crocodylus siamensis | จระเข้น้ำจืด หรือ จระเข้สยาม (Siamese crocodile) | ประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม | CRIUCN | |||||
Crocodylus palustris | จระเข้อินเดีย
(Mugger crocodile) |
เอเชียใต้ | VUIUCN | |||||
Crocodylus johnstoni | จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Australian freshwater crocodile) | ออสเตรเลียตอนเหนือ | LCIUCN | |||||
Crocodylus porosus | จระเข้น้ำเค็ม (Saltwater crocodile) | ชายฝั่งและป่าชายเลนของ เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียตอนเหนือ | LCIUCN | |||||
Crocodylus mindorensis | จระเข้ฟิลิปปินส์ | ฟิลิปปินส์ตอนใต้ | CRIUCN | |||||
Crocodylus novaeguineae | จระเข้นิวกินี | เกาะนิวกินี ของอินโดนีเซีย และปาปัวนิวกินี | LCIUCN | |||||
Crocodylus raninus | จระเข้บอร์เนียว (Borneo crocodile) | สถานะทางอนุกรมวิธานมีความขัดแย้งและไม่ชัดเจน | ||||||
Crocodylus acutus | จระเข้อเมริกา (American crocodile) | อเมริกากลาง อเมริกาใต้ตอนเหนือ หมู่เกาะแคริบเบียน | VUIUCN | |||||
Crocodylus intermedius | จระเข้โอริโนโก (Orinoco crocodile) | อเมริกาใต้ (ลุ่มน้ำโอริโนโก) | CRIUCN | |||||
Crocodylus rhombifer | จระเข้คิวบา (Cuban crocodile) | เฉพาะในคิวบาเท่านั้น | CRIUCN | |||||
Crocodylus moreletii | จระเข้เม็กซิโก หรือ จระเข้มอเรเล็ต
(Morelet's crocodile) |
เม็กซิโก | LCIUCN | |||||
สกุล Mecistops |
Mecistops cataphractus
[Crocodylus cataphractus] |
จระเข้ปากแหลมแอฟริกาตะวันตก (West African slender-snouted crocodile) | แอฟริกาตะวันตก | CRIUCN | ||||
Mecistops leptorhynchus [Crocodylus leptorhynchus] | จระเข้ปากแหลมแอฟริกากลาง (Central African slender-snouted crocodile) | อาจจัดเป็นชนิดย่อยของ Mecistops cataphractus | แอฟริกากลาง | |||||
สกุล Osteolaemus | Osteolaemus tetraspis | จระเข้แคระ (Dwarf crocodile หรือ African dwarf crocodile) |
|
แอฟริกากลางและตะวันตก | VUIUCN | |||
วงศ์ตะโขง (Gavialidae) | สกุล Gavialis | Gavialis gangeticus | ตะโขงแท้ หรือ ตะโขงอินเดีย |
|
เอเชียใต้ และพม่า | CRIUCN | ||
สกุล Tomistoma | Tomistoma schlegelii | ตะโขงเทียม หรือ ตะโขง |
|
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ คาบสมุทรมาเลย์ เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา | VUIUCN |
บรรณานุกรม
- Grigg, Gordon; Gans, Carl (1993). "Morphology and physiology of the Crocodylia". ใน Glasby, Christopher J.; Ross, Graham J. B.; Beesley, Pamela L. (บ.ก.). Fauna of Australia. Volume 2A, Amphibia and Reptilia (PDF). Australian Government Publishing Service. pp. 326–343. ISBN 978-0-644-32429-8.
- Huchzermeyer, F. W. (2003). Crocodiles: Biology, Husbandry and Diseases. CABI. ISBN 978-0-85199-656-1.
- Kelly, Lynne (2007). Crocodile: Evolution's greatest survivor. Orion. ISBN 978-1-74114-498-7.
- Ross, Charles A., บ.ก. (1992). Crocodiles and Alligators. Blitz. ISBN 978-1-85391-092-0.
- --- Sues, Hans-Dieter. "The Place of Crocodilians in the Living World". pp. 14–25.
- --- Buffetaut, Eric. "Evolution". pp. 26–41.
- --- Mazzotti, Frank J. "Structure and Function". pp. 42–57.
- --- Ross, Charles A.; Magnusson, William Ernest. "Living Crocodilians". pp. 58–73.
- --- Pooley, A. C. "Food and Feeding Habits". pp. 76–91.
- --- Pooley, A. C.; Ross, Charles A. "Mortality and Predators". pp. 92–101.
- --- Lang, Jeffrey W. "Social Behaviour". pp. 102–117.
- --- Magnusson, William Ernest; Vliet, Kent A.; Pooley, A. C.; Whitaker, Romulus. "Reproduction". pp. 118–135.
- --- Alcala, Angel C.; Dy-Liacco, Maria Teresa S. "Habitats". pp. 136–153.
- --- Pooley, A. C.; Hines, Tommy C.; Shield, John. "Attacks on Humans. pp. 172–187.
- Wylie, Dan (2013). Crocodile. Reaktion Books. ISBN 978-1-78023-087-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
อาณาจักร: Animalia · ไฟลัม: Chordata · ชั้น: Sauropsida · (อันดับไม่จัดอันดับ): Archosauria · อันดับใหญ่: Crocodylomorpha
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||