Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่น
อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่น (อังกฤษ: Phantom vibration syndrome) เป็นอาการที่คิดว่าโทรศัพท์มือถือมีการสั่นหรือเสียงเรียกเข้าเมื่อจริง ๆแล้วไม่มีใครโทรเข้า บางครั้งเรียกว่า ริงโทนวิตกกังวล (ringxiety) หรือ ฟอซอะลาม (fauxcellarm มาจากคำว่า"faux" /fō/ แปลว่า ปลอม หรือ ผิด และ มือถือ (cellphone) และเสียงร้อง (alarm)) หรือ โฟนทอม (phonetom) (เป็นการรวมกันระหว่าง phone และ phantom) ดอกเตอร์ไมเคิล โรธเบิร์กกล่าวว่า อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่นไม่ใช่กลุ่มของอาการโรคแต่เป็นการหลอนของประสาทสัมผัสที่สมองรับรู้ถึงความรู้สึกที่ไม่มีอยู่จริง บางครั้งอาจเกิดระหว่างอาบน้ำ ดูโทรทัศน์ หรือใช้เครื่องมือที่มีเสียงดัง มนุษย์มักจะเซนซิทีฟกับโทนเสียงในช่วง 1,000 ถึง 6,000 เฮิรตซ์ และเสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์มือถือมักอยู่ในช่วงนี้ อาการหลอนคิดว่ามือถือสั่นจะเกิดขึ้นหลังผู้ใช้พบมือถือที่ตั้งระบบสั่นไว้ นักวิจัยมิเชล ดรูอินพบว่าเกือบ 9 ใน 10 นักศึกษาปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยของเธอมีอาการนี้
วิทยาการระบาด
การศึกษาส่วนใหญ่พบว่า ผู้ใช้โทรศัพท์มักอาการหลอนคิดว่ามือถือสั่นหรือได้ยินเสียงเรียกเข้า รายงานระบุว่าตั้งแต่ร้อยละ 27.4 ถึง ร้อยละ 89 เคยมีอาการนี้ หนึ่งครั้งทุก 2 สัปดาห์เป็นค่าเฉลี่ยนปกติ และคนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าอาการนี้กวนใจ
การจัดการ
มีวิจัยจำนวนน้อยมากที่ศึกษาเกี่ยวกับการรักษาอาการหลอนคิดว่ามือถือสั่น พบว่าการเก็บมือถือไว้ในที่ที่ต่างออกไปสามารถบรรเทาอาการนี้ได้ในบางราย วิธีอื่นได้แก่การปิดระบบสั่น การเปลี่ยนเสียงเรียกเข้าหรือการสั่น หรือการใช้เครื่องมือถืออื่น
อ่านเพิ่มเติม
- Haupt, Angela (June 12, 2007). "Good vibrations? Bad? None at all?". USA Today. McLean, VA: Gannett. ISSN 0734-7456. สืบค้นเมื่อ September 4, 2011.