Мы используем файлы cookie.
Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.

อิกิงาอิ

Подписчиков: 0, рейтинг: 0
แผนภาพแนวคิดของ "อิกิงาอิ"

อิกิงาอิ (ญี่ปุ่น: 生き甲斐, 生きがいโรมาจิikigai) เป็นคำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นที่หมายถึงความหมายในการมีชีวิตอยู่ ซึ่งอาจรวมถึง "ความรู้สึกดีใจและความมีกำลังใจในการมีชีวิตอยู่" หรือ "คุณค่าของการมีชีวิตอยู่"

แดน เบ็ดเนอร์ นักวิจัยและนักเขียนชาวอเมริกัน ผู้นิยมแนวคิดของบลูโซน ซึ่งหมายถึงพื้นที่ของผู้มีอายุยืน กล่าวถึง "อิกิงาอิ" ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนญี่ปุ่นและโอกินาวะมีอายุยืนยาว ด้วยเหตุนี้ แนวคิดดังกล่าวจึงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในยุโรปและสหรัฐอเมริกาหลังปี 2000 เป็นต้นมา

บ่อยครั้งที่แนวคิดอิกิงาอินี้ได้รับการจัดระเบียบและแนะนำโดยใช้แผนภาพเวนน์ ดังที่แสดงในรูปทางด้านขวานี้

ภาพรวม

คำว่า "อิกิงาอิ" ไม่ใช่คำที่มีการนิยามอย่างชัดเจนจิตแพทย์ โทชิกิ ชิมาซากิ (ปี 1974) กล่าวว่าอิกิงาอินั้นประกอบไปด้วย "ความหมายในการอยู่" และ "ความหมายในการไป" นั่นคือการได้ใช้ชีวิตอยู่กับคนอื่น และการได้ก้าวไปข้างหน้าด้วยตัวเอง

โคอิจิ ทานิงุจิ และ ชินอิจิ ซาโต (ปี 2007) อธิบายถึงอิกิงาอิไว้ว่าอาจแบ่งได้เป็น 5 อย่างดังนี้

  • วัตถุ - งานอดิเรก การเรียนรู้ ฯลฯ
  • กระบวนการ - ความรู้สึกสัมฤทธิ์ผล ความรู้สึกว่าได้ทำประโยชน์ ฯลฯ
  • อารมณ์ - กระบวนการของการกระทำ การหมกมุ่น ฯลฯ
  • การเติมเต็มตนเอง - งานอดิเรก กระบวนการอื่น ๆ เช่นการเรียนรู้ ฯลฯ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล - ชีวิตร่วมกับครอบครัว การเติบโตของลูก ฯลฯ

จากข้อมูลของ จิเอโกะ ฮาระ และ โทโมโกะ นากาจิมะ (ปี 2012) กล่าวว่า (1) เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งคุณค่าและความหมายสำหรับชีวิตของผู้คน (2) เป็นความรู้สึกเป็นสุขจากภายในอันเป็นอัตวิสัยซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และ (3) ความรู้สึกว่าได้รับการเติมเต็ม ซึ่งได้มาจากความพยายามที่เป็นตัวของตัวเอง''

จิตแพทย์ มิเอโกะ คามิยะ ได้ชี้ให้เห็นว่าคำว่าอิกิงาอินั้นเป็นคำศัพท์เฉพาะของภาษาญี่ปุ่น เป็นคำสำหรับการแสดงออกที่ซับซ้อนของความหมายในการมีชีวิตอยู่ที่มนุษย์รู้สึก หากพยายามแปลเป็นภาษาต่างประเทศ อาจใช้คำแปลในลักษณะเช่น "ควรค่าแก่การใช้ชีวิต" หรือ "มีคุณค่าหรือความหมายในการใช้ชีวิต" นอกจากนี้ยังมีคำที่มีความหมายคล้ายกันอีกคือ "ฮาริอาอิ" (はりあい)

ตามแนวคิดของคามิยะ คำว่าอิกิงาอิถูกใช้ในสองแบบ อย่างแรกคือใช้เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่เป็นแหล่งที่มาหรือวัตถุประสงค์ของคุณค่าในการมีชีวิตอยู่ ตัวอย่างเช่น: "เด็กคนนี้คืออิกิงาอิ (ความหมายในชีวิต) ของฉัน" (この子は私の生きがいです) อย่างที่สองคือใช้เพื่อหมายถึงสภาวะของจิตใจที่รู้สึกว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิต

ในแง่ของมิติทางสังคม คัตสึยะ อิโนอุเอะ และพวก ได้จัดประเภทของอิกิงาอิออกเป็นสามทิศทาง คือ: อิกิงาอิทางสังคม (社会的生き甲斐), อิกิงาอิที่ไม่ใช่ทางสังคม (非社会的生き甲斐) และ อิกิงาอิที่ต่อต้านสังคม (反社会的生き甲斐)

อิกิงาอิทางสังคม คืออิกิงาอิจากการที่ได้รับจากการเข้าร่วมและได้รับการยอมรับจากสังคม เช่น กิจกรรมอาสาสมัคร หรือ กิจกรรมชมรม อิกิงาอิที่ไม่ใช่ทางสังคม หมายถึงอิกิงาอิจาก ความเชื่อ หรือ วินัยในตนเอง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสังคม อิกิงาอิที่ต่อต้านสังคมคืออิกิงาอิจากการที่ได้แรงจูงใจพื้นฐานในการดำรงชีวิตมาจากอารมณ์อันมืดมน เช่น ความเกลียดชังใครบางคนหรือบางสิ่ง หรือความปรารถนาที่จะแก้แค้น

อิกิงาอิและวัยชรา

การวิจัยเชิงวิชาการเกี่ยวกับอิกิงาอินั้นได้รับความสนใจอย่างากในแง่ของการวิจัยเกี่ยวกับวัยสูงอายุของมนุษย์ เช่น สาขาพฤฒาวิทยา ใน มุมมองทั่วไปของชีวิต วัยชรามักถูกมองว่าเป็นช่วงเวลาที่หลายสิ่งหลายอย่าง เช่น สุขภาพ และ บทบาททางสังคม สูญเสียไปหลังจากช่วงเวลาสำคัญของชีวิต อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว ผู้สูงอายุจำนวนมากที่สูญเสียความหนุ่มสาวไปแล้วนั้นยังได้ใช้ชีวิตต่อไปโดยที่ไม่ได้เป็นทุกข์จากความรู้สึกที่ไม่ยอมรับในตัวเอง เชื่อกันว่าสาเหตุที่ผู้สูงอายุสามารถยอมรับความชราได้อย่างใจเย็นก็คือ การมีอิกิงาอิเป็นปัจจัยต่อต้านความชราและความรู้สึกสูญเสีย

ลักษณะหนึ่งของอิกิงาอิของผู้สูงอายุคือ "หลงทางง่าย" ตัวอย่างเช่น หากยึดถือการเติบโตของหลานเป็นอิกิงาอิ บทบาทของตัวเองจะลดลงเมื่อหลานเข้าใกล้วัยผู้ใหญ่ หรืออย่างกรณีของผู้ที่เริ่มเล่นกีฬาในวัยกลางคนจนกลายมาเป็นอิกิงาอิของตัวเองนั้นก็ยากที่จะดำเนินต่อไปเมื่อมีอายุมากขึ้น สำหรับผู้สูงอายุแล้ว อิกิงาอิทางสังคมมักจะอยู่เคียงข้างไปกับความสูญเสียเสมอ

สุขภาพ

การวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ระบุว่า การค้นเจออิกิงาอิ สามารถส่งผลให้สุขภาพดีขึ้น รวมถึงการทำงานของการรับรู้และความเป็นอยู่ที่ดีโดยรวมได้

เอกสารอ่านเพิ่ม

  • "Ikigai: The Japanese secret to a long and happy life" Héctor García, Francesc Miralles 2016
  • "IKIGAI: เคล็ดลับในการใช้ชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุขเฉพาะชาวญี่ปุ่นเท่านั้น" เค็นอิจิโร โมเตงิ 2018 ชินโจชะ

รายการที่เกี่ยวข้อง


Новое сообщение