Продолжая использовать сайт, вы даете свое согласие на работу с этими файлами.
เคตามีน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
AHFS/Drugs.com | ข้อมูลยาสำหรับผู้บริโภค |
ข้อมูลทะเบียนยา | |
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
Addiction liability |
Low–moderate |
ช่องทางการรับยา | ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, รับประทาน, สูดดม |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
การเปลี่ยนแปลงยา | Liver, primarily by CYP3A4 |
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ | < 5นาที (ฉีด), < 30นาที (รับประทาน) |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 2.5–3 ชั่วโมง |
ระยะเวลาออกฤทธิ์ | less than one hour |
การขับออก | ตับ (>90%) |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank |
|
ChemSpider |
|
UNII | |
KEGG |
|
ChEBI | |
ChEMBL | |
ECHA InfoCard | 100.027.095 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C13H16ClNO |
มวลต่อโมล | 237.725 g/mol |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
ไครัลลิตี | Racemic mixture |
จุดหลอมเหลว | 262 องศาเซลเซียส (504 องศาฟาเรนไฮต์) |
| |
(verify) | |
เคตามีน (Ketamine) หรือชื่อทางการค้าคือ เคตาลาร์ (Ketalar) หรือภาษาปากคือ ยาเค เป็นยาในกลุ่มยาสลบ ผู้รับยานี้จะไม่สลบแต่จะมีอาการไร้ความรู้สึกและอยู่ในภวังค์ มีฤทธิระงับปวด, ระงับประสาท และทำให้สูญเสียความทรงจำ ยานี้สามารถใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังและยังอาจถูกใช้เป็นยาระงับประสาทในผู้ป่วยหนัก ยานี้ยังช่วยให้ระบบหายใจและหัวใจทำงานอย่างคล่องตัวขึ้น สามารถรับยานี้ได้โดยรับประทาน, สูดดม, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หากฉีดเข้าหลอดเลือดจะออกฤทธิใน 5 นาทีและจะคงฤทธิไปราว 25 นาที
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้แก่ ปฏิกิริยาทางจิตเมื่อยาหมดฤทธิ ปฏิกิริยาเหล่านี้ได้แก่ ภาวะอยู่ไม่สุข, สับสน หรืออาการประสาทหลอน นอกจากนี้ยังส่งผลให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง(โดยมากจะความดันเพิ่มขึ้น)และกล้ามเนื้อสั่น และยังอาจก่อให้เกิดอาการหลอดลมหดตัวเฉียบพลัน ยานี้อาจก่อให้เกิดการเสพติด หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ผู้รับยาเป็นโรคจิตเภท
เคตามีนถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1962 ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาหลักขององค์การอนามัยโลก ปัจจุบันมีสถานะเป็นยาสามัญ ยานี้สามารถใช้เป็นยาเสพติดเพื่อผ่อนคลาย ดังนั้นในประเทศไทยจึงจัดเป็นยาควบคุมพิเศษตามพระราชบัญญัติยา
กลุ่มระงับปวด | |
---|---|
กลุ่มเอ็นเซด |
กรดนิฟลูมิก · คีโตโปรเฟน · คีโตโรแลค · ซีลีคอกซิบ · ไดโคลฟีแนค · นาพรอกเซน · มีลอกซิแคม · ไพรอกซิแคม · เมตทิล ซาลิไซเลต · โรฟีคอกซิบ · อินโดเมตทาซิน · แอสไพริน · ไอบูโปรเฟน · อีโทโดแลค · ไดฟลูนิซอล · โลโซโปรเฟน · ทีนอกซิแคม · ไนมีซูไลด์ · มีฟีนามิก แอซิด
|
กลุ่มโอปิออยด์ |
คาร์เฟนทานิล · โคดีอีน · โคดีอิโนน · ซูเฟนทานิล · เดกซ์โตรโพรพอไซฟีน · ไดไฮโดรโคดีอีน · ทรามาดอล · บิวพรีนอร์ฟีน · เฟนทานิล · เมทาโดน · มอร์ฟีน · มอร์ฟิโนน · เพทิดีน · รีมิเฟนทานิล · ออกซิโคโดน · ออกซิมอร์ฟีน · อัลเฟนทานิล · เฮโรอีน · ไฮโดรโคโดน · ไฮโดรมอร์โฟน
|